นายกฯหารือเอกชนเน้นกระชับสัมพันธ์ร่วมมือการค้า-ลงทุน

นายกฯหารือเอกชนเน้นกระชับสัมพันธ์ร่วมมือการค้า-ลงทุน

นายกฯหารือเอกชนเน้นกระชับสัมพันธ์ร่วมมือการค้า-ลงทุน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายรักฐมนตรี ปฏิบัติภารกิจเยือนสาธารณรัฐเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ ว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ โดยในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้หารือกับภาคเอกชนไทย อาทิ ณ โรงแรมลอตเต้ กรุงโซล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  เข้าร่วมด้วย ในการหารือ นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำถึงความสำคัญของภาคเอกชนไทย ในฐานะกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - เกาหลีใต้ และกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี ให้ก้าวไปสู่ความสัมพันธ์ในรูปแบบ "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อต่อยอดจากการหารือกับ นายอี มยอง บัก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ในการตั้งเป้าที่จะขยายตัวเลขการค้าระหว่างกันในช่วง 5 ปีข้างหน้า เป็น 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และการหยิบยกข้อเรียกร้องของไทย ให้ยกเลิกมาตรการของฝ่ายเกาหลี ที่ห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็งของไทย และส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น   พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามประสบการณ์ ความเห็น และข้อเสนอแนะของนักธุรกิจไทย เกี่ยวกับประเด็นการค้าไทย - เกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและผลักดันประเด็นต่างๆ ต่อไป นายกฯเยือนม.อีฮวาศึกษาระบบพัฒนาสตรีหลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมรับประทานอาหารเช้ากับนักธุรกิจไทย รับฟังข้อเสนอแนะและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจจากภาคธุรกิจไทยแล้ว ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา หารือกับ นางคิม ซอน อุก อธิการบดีมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยผู้หญิงล้วนที่เก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การเยี่ยมมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา เพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาบทบาทสตรี เพราะเป็นสถาบันที่ช่วยยกระดับสถานภาพของสตรีในสังคม โดยจะนำมาปรับใช้พัฒนาการศึกษาของสตรีไทยในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวชื่นชมการต่อสู้เรียกร้องสิทธิสตรีในสาธารณรัฐเกาหลี จนทำให้สถานภาพสตรีมีความก้าวหน้ามากที่สุดในเอเชีย จากตัวเลขดัชนีชี้วัดความเท่าเทียมทางเพศของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ปี 2554 จัดอันดับให้อยู่ที่ 11 ของโลก พร้อมกับ กล่าวถึงสถานภาพของสตรีไทยว่า ผู้หญิงไทยมีสถานภาพไม่ต่างจากผู้หญิงเอเชียทั่วไป หรือ สาธารณรัฐเกาหลี ตนเองมายืนในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ ต้องใช้ความพยายามและพิสูจน์ตนเองให้เกิดการยอมรับจากสังคม นอกจากนี้ จะผลักดันการสร้างโอกาสให้กับสตรีทุกคน ที่อยู่ในทุกวงการของไทย สร้างสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ตามรัฐธรรมนูญที่ประกันสิทธิของหญิงไทย อย่างเท่าเทียมกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook