'อภิสิทธิ์'รับใบรับรองกกต.-ขอแดงเลิกบีบ

'อภิสิทธิ์'รับใบรับรองกกต.-ขอแดงเลิกบีบ

'อภิสิทธิ์'รับใบรับรองกกต.-ขอแดงเลิกบีบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มารับหนังสือรับรองการเป็น ส.ส. ที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ก่อนเดินทางไปแสดงตนที่รัฐสภา โดย นายอภิสิทธิ์ เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ว่าที่นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดง ที่กดดันการทำหน้าที่ของ กกต. ซึ่งส่วนตัวมองว่า กลุ่มคนเสื้อแดง ควรหยุดการเคลื่อนไหวได้แล้ว และควรเคารพรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่ทางกลุ่มได้เรียกร้องมาตลอด เพราะ กกต. เป็นหน่วยงานที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตามเชื่อว่า หากพรรคเพื่อไทย ไม่แสดงจุดยืนให้ชัดเจนเกี่ยวกับการแยกมวลชน สุดท้ายแล้วจะกลับมาทำร้ายรัฐบาลเอง


ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางมารายงานตัวเป็น ส.ส.ใหม่ ที่อาคารรัฐสภาแล้ว หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรม พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมารายงานตัวพร้อมกันด้วย ขณะที่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็ได้เดินทางมายังอาคารรัฐสภาแล้วเช่นกัน แต่ยังไม่ได้เข้ามารายงานตัว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มียอด ส.ส. ที่ กกต. ประกาศรับรองแล้วทั้งสิ้น 370 คน โดยในวันนี้มี ส.ส. มารายงานตัว 3 คน ขณะที่ยอดรวมตลอด 8 วันที่ผ่านมา มี ส.ส. มารายงานตัวทั้งสิ้น 305 คน ซึ่งยังเหลือ ส.ส. อีก 65 คน ที่ยังไม่ได้มารายงานตัวต่อรัฐสภา


โดย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง การดำเนินการขั้นตอนต่อไป ภายหลังจาก ศาลโลก มีคำสั่งมาตรการชั่วคราวให้ไทยและกัมพูชา ถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ที่ กัมพูชา ได้ยื่นขอสังเกตต่อศาลโลก ประกอบการยื่นคำร้องให้ศาลตีความคำพิพากษาเพิ่มเติมไปแล้วว่า ไทย มีเวลาถึงวันที่ 22 ก.ค.นี้ ในการยื่นข้อสังเกตของไทยต่อศาลโลก โดยเป็นการส่งคำชี้แจงในคดีหลัก ซึ่งคาดว่า ศาลน่าจะมีเวลาในการพิจารณาคดี 3-4 เดือน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา ในเดือนกุมภาพันธุ์ ปีหน้า โดยในส่วนของการส่งผู้สังเกตการจากประเทศอินโดนีเซียนั้น ไทยและกัมพูชา ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน เนื่องจาก การส่งผู้สังเกตการจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ก่อน และก่อนที่ผู้สังเกตการณ์ จะลงพื้นที่นั้น ก็จำเป็นต้องมีการหารือกัน 2-3 ฝ่าย รวมถึง การพูดคุยในระดับอาเซียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook