ความเป็นมาและความหมายอันลึกซึ้งของตัวคันจิ「助」

ความเป็นมาและความหมายอันลึกซึ้งของตัวคันจิ「助」

ความเป็นมาและความหมายอันลึกซึ้งของตัวคันจิ「助」
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่างที่เรารู้กันว่าตัวอักษรคันจิมาจากรูปภาพ หรือก็คือการนำภาพที่เห็นมาเขียนให้เป็นภาษา ทำให้เกิดความหมายขึ้นมา ถ้าเป็นตัวคันจิง่าย ๆ เราก็พอจะนึกภาพตามได้ แต่ถ้าเป็นคันจิยาก ๆ หรือมีส่วนประกอบหลายส่วน ก็ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่ามันคือภาพอะไร หรือเกิดเป็นความหมายนี้ได้อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูความหมายอันลึกซึ้งของคำว่า “助ける” (Tasukeru – ช่วยเหลือ) ในมุมมองของคนญี่ปุ่นกันค่ะ

tasuke1

เมื่อถึงช่วงเวลาแห่งการทำนาปลูกข้าวในแต่พื้นที่ทั่วประเทศ ในสมัยก่อน ผู้คนก็จะมาร่วมด้วยช่วยกัน จนถือเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมการปลูกข้าวเลยก็ว่าได้

ตัวคันจิด้านซ้ายของคำว่า 助 (Jyo) คือตัว 且 (Sho) คันจิตัวนี้มีรูปร่างเหมือนอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม มีลักษณะคล้ายเสียมแต่ใหญ่กว่า มีใบมีดที่กว้างและด้ามจับเป็นไม้ ใช้ในการพรวนดินและตัดวัชพืชไปในตัว ส่วนด้านขวาคือ 力 (Chikara) เป็นคันจิที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องมือการเกษตรที่ใช้ขุดดินขึ้นมาและทำให้ดินแตกตัว คำว่า “助ける” ซึ่งมีการใช้ตัวอักษรที่หมายถึงเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ จึงได้กลายเป็นคันจิที่มีความหมายว่า ใช้เครื่องมือ “ช่วย” ในการทำเกษตร แต่ต่อมา ไม่เพียงแต่ในการทำเกษตรกรรมเท่านั้น ยังหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจในการ “ช่วย” ผู้คนอีกด้วย

ในอดีต การทำนาคือการรวมพลังของผู้คนในหมู่บ้าน ตั้งแต่การไถดิน, การขังน้ำ, การคราดหน้าดิน, การปลูกต้นอ่อน ไปจนถึงการปักดำ ขั้นตอนเหล่านี้เป็นการทำงานที่ไม่ได้มีผู้รับผิดชอบเพียงแค่ผู้เดียว คนที่ขอพรให้ผลผลิตงอกงามเก็บเกี่ยวได้ดี คนที่ทำสงครามน้ำที่ริมแม่น้ำจนถึงกลางคืน คนที่คอยจัดเตรียมงานเฉลิมฉลองหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ว่าใคร ๆ ก็ล้วนมีความสำคัญทั้งนั้น แม้กระทั่งบรรดาเด็ก ๆ ที่ต้องคอยดูแลน้องตัวเล็ก ๆ หรือเด็กทารกที่ร้องไห้เสียงดังราวกับจะบ่งบอกว่าถึงเวลาพักจากการทำนา แต่ละคนต่างก็แสดงออกถึงพลังที่อยากจะช่วยเหลือกัน เพราะธรรมชาติไม่เคยรอใคร การร่วมด้วยช่วยกันจึงเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้งานนั้น ๆ สำเร็จได้เร็วขึ้น

tasuke2

คำว่า “助ける” ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายหนึ่งอยู่เฉย ๆ แล้วให้อีกฝ่ายมาทำ แต่เป็นการลงแรงลงใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากอีกฝ่าย ในเวลาเดียวกันอีกฝ่ายก็จะช่วยเหลือเราด้วยเช่นกัน เหมือนกับเครื่องมือทั้งสองชนิดที่อยู่ในตัวคันจิ การทำเกษตรจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือทั้งสองชนิด จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้

เราทุกคนก็สามารถ “ช่วย” กันสร้างโลกที่แสนวิเศษขึ้นมาได้ ด้วยรอยยิ้มที่จะช่วยเปิดใจ ด้วยคำพูดที่ช่วยละลายความโศกเศร้า และด้วยความอบอุ่นที่มอบให้แก่กัน

คันจิเป็นข้อความที่สืบทอดมาจากผู้คนเมื่อ 3,000 ปีก่อน หากเรารับรู้ เข้าใจ และรู้สึกถึงมัน เราก็จะสามารถเรียนรู้สิ่งดี ๆ จากมันได้มากกว่าการเป็นเพียงแค่ตัวอักษรหนึ่งตัว ^^

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook