ประกันสังคม "เลิกจ้าง vs ลาออก" แบบไหนได้เงินชดเชยมากกว่า
.jpg?ip/crop/w1200h700/q80/jpg)
ประกันสังคม เลิกจ้าง vs ลาออก แบบไหนได้รับเงินชดเชยมากกว่ากัน เช็กเงื่อนไขได้ที่นี่
อัปเดตเงินชดเชยเลิกจ้าง เงินว่างงาน ประกันสังคม 2568 ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม เปิดเงื่อนไขผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก จะต้องรายงานตัวออนไลน์ที่ e-service.doe.go.th
การจ่ายเงินชดเชย เงินว่างงาน ประกันสังคม 2568
กรณีลาออก
- ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน
- ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
เช่น ผู้ประกันตนได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 3,000 บาท
กรณีถูกเลิกจ้าง
- ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน
- ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
เช่น ผู้ประกันตนได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 5,000 บาท
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เงินชดเชยการว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างจะมากกว่ากรณีลาออก
หากผู้ประกันตนมีเหตุที่ทำให้ว่างงานเกิน 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน จะมีสิทธิในการรับเงินทดแทนที่ต่างกันดังนี้
- หากว่างงานเพราะ "ลาออก" จะมีสิทธิรับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 90 วัน
- หากว่างงานเพราะ "ถูกเลิกจ้าง" จะมีสิทธิรับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน
เงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย เงินว่างงาน ประกันสังคม 2568
- ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่บริษัทหรือผู้จ้างจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน และว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป (โดยไม่ทำผิดกฎหมาย)
- ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานภายใน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ว่างงานและยังไม่ได้มีการกลับเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่ โดยสามารถลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ได้ที่ e-service.doe.go.th หรือติดต่อสำนักงานประกันสังคม
- ต้องรายงานตัว ไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้งภายในเดือนที่นัดรายงาน(รายงานตัวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันสิ้นเดือนของเดือนที่กำหนดรายงานตัว)โดยสามารถรายงานตัวออนไลน์ได้ที่ e-service.doe.go.th
อ่านเพิ่มเติม