อ่าว! เงินดิจิทัลเฟส 3 คลังยันจ่ายค่าเทอม-ค่าน้ำ-ค่าไฟไม่ได้

อ่าว! เงินดิจิทัลเฟส 3 คลังยันจ่ายค่าเทอม-ค่าน้ำ-ค่าไฟไม่ได้

อ่าว! เงินดิจิทัลเฟส 3 คลังยันจ่ายค่าเทอม-ค่าน้ำ-ค่าไฟไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เงินดิจิทัลเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท คลังกลับลำ จ่ายค่าเทอม ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าไม่ได้

เงินดิจิทัลเฟส 3 เหมือนหนังคนละม้วนไปเสียแล้ว หลังจากที่เมื่อวานนี้ (10 มี.ค. 68) ขุนคลัง และขุนพลที่กำกับดูแลกระทรวงการคลัง แถลงอย่างมั่นอกมั่นใจว่า เงินดิจิทัลเฟส 3 ที่แจกเงินกลุ่มวัย 16-20 ปี กว่า 2.7 ล้านคน สามารถนำไปจ่ายค่าเทอม ค่าไฟ ค่าน้ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ พร้อมประกาศปลดล็อกสินค้ากลุ่ม กลุ่ม negative list ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ผลิตภัณฑ์ยาสูบ, กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม, บัตรกำนัล บัตรเงินสด, ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี, น้ำมัน เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ, เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องมือสื่อสาร แต่ไปจำกัดร้านค้าที่ขายของเฉพาะ เช่น ร้านขายเหล้าโดยเฉพาะ, ร้านขายทอง, ร้านขายบุหรี่ และสถานีบริการน้ำมัน แทน

ล่าสุด โอ้ละพ่อ เมื่อนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง เงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัลเฟส 3 แจก 10,000 บาท กลุ่มอายุ 16-20 ปี ว่า ค่าเทอม ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าน้ำ-ค่าไฟ หรือ ค่าบริการต่างๆ ถือว่าเป็นค่าบริการ ไม่เข้าร่วมในโครงการนี้ พร้อมยืนยันว่าไม่สามารถใช้ได้ แต่เงินต้องเอาไปแลกสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภคจะไปใช้บริการไม่ได้

ล่าสุด เงินดิจิทัลเฟส 3 ห้ามใช้จ่ายอะไรบ้าง?

แม้ว่า เงินดิจิทัลเฟส 3 จะ ไม่มีรายการสินค้าต้องห้าม (Negative List) อย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลได้กำหนดว่า มีบางประเภทของค่าใช้จ่าย ที่ไม่สามารถใช้เงินดิจิทัลนี้ได้ ได้แก่

  • ค่าเทอม
  • ค่าโทรศัพท์มือถือ (รวมค่าบริการรายเดือน)
  • ค่าน้ำ - ค่าไฟ
  • ค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าบริการด้านสุขภาพ หรือค่าบริการภาครัฐ

สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เงินดิจิทัลเฟส 3 กับค่าบริการ

รัฐบาลกำหนดว่าเงินดิจิทัลเฟส 3 ต้องถูกใช้ แลกเปลี่ยนเป็นสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภคเท่านั้น ไม่สามารถใช้จ่ายในหมวดบริการหรือชำระค่าบริการต่าง ๆ ได้

ร้านค้าประเภทใด ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ?

มีร้านค้าประมาณ 8 กลุ่ม ที่ไม่สามารถรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้แก่

  1. ร้านขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
  2. ร้านขายสุรา
  3. ร้านขายบุหรี่
  4. สถานีน้ำมัน (แต่ร้านค้าในสถานีน้ำมันที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถเข้าร่วมได้)
  5. ร้านทอง
  6. ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  7. ร้านค้าที่ขายสินค้าเพื่อการลงทุน เช่น อัญมณี
  8. ร้านค้าที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

นอกจากนี้ นายเผ่าภูมิ กล่าวว่า การไม่มี Negative List เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ที่จะทำให้ประชาชนใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดได้ดี สะดวกในการจับจ่าย และประชาชนจะสามารถรู้ได้ว่าร้านไหนซื้อของได้ร้านไหนซื้อของไม่ได้ โดยในตัวระบบหากเจาะไปตามรายสินค้าการบริหารจัดการจะยากมาก และจะทำให้เกิดความสับสน

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล