ค่าเงินบาทวันนี้ 30 เม.ย. 67 เปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 30 เม.ย. 67 เปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 30 เม.ย. 67 เปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 30 เม.ย. 67 เปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 37.03 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.90-37.10 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 37.03 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 36.96-37.08 บาทต่อดอลลาร์) ตามแนวโน้มเงินดอลลาร์และราคาทองคำที่แกว่งตัวในกรอบ sideways เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ ในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ ผลการประชุมเฟด และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ทั้ง ยอดการจ้างงาน และดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดก็เริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) เคลื่อนไหวผันผวนสูง คล้ายกับช่วงที่มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินโดยทางการญี่ปุ่น (แม้ว่าทางการญี่ปุ่นจะยังไม่ยืนยันการเข้าแทรกแซงก็ตาม) โดยผู้เล่นในตลาดอาจเริ่มประเมินว่าค่าเงินเยนแถว 160 เยนต่อดอลลาร์ อาจเป็นโซนที่ทางการญี่ปุ่นประเมินว่าเป็นการผันผวนอ่อนค่าเกินไปและเสี่ยงต่อการถูกเข้าแทรกแซง ซึ่งภาพดังกล่าว ก็อาจช่วยลดทอนแรงหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้ ในกรณีที่เงินเยนจะไม่สามารถอ่อนค่าไปเกินระดับ 160 เยนต่อดอลลาร์ และมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ (หากประเมินจากส่วนต่างระหว่างบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นล่าสุด เงินเยนญี่ปุ่นอาจแกว่งตัวในช่วง 155 เยนต่อดอลลาร์ ได้)

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ นำโดย Tesla +15.3% ที่ได้แรงหนุนจากการผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยด้านข้อมูลของทางการจีน เปิดโอกาสในการใช้งานระบบ Full Self-Driving อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดต่างยังไม่รีบเพิ่มความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอลุ้นผลการประชุมเฟดและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ทำให้โดยรวม ดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.32%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย +0.07% กดดันโดยแรงเทขายทำกำไรบรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อาทิ ASML -1.3%, Hermes -2.2% หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยธนาคารกลางยุโรป (ECB) จากรายงานอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีล่าสุดที่ออกมาสูงกว่าคาด

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในกรอบไม่ต่างจากวันก่อนหน้า โดยผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ และผลการประชุมเฟด ทั้งนี้ เงินบาทก็ยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่บ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ตลอดสัปดาห์นี้ และโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าในช่วงปลายเดือน แต่หากผู้เล่นในตลาดไม่ได้มีความกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดมากขึ้น (จนกว่าจะรับรู้ผลการประชุมเฟด และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ) อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ในจังหวะที่เงินบาทผันผวนอ่อนค่าเหนือระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ เราประเมินว่า การอ่อนค่าของเงินบาทก็อาจจำกัดอยู่ในโซนแนวต้าน 37.15-37.25 บาทต่อดอลลาร์ ตามที่ได้ประเมินไว้

ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังขาดปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าที่ชัดเจน ทำให้แม้เงินบาทอาจมีการแข็งค่าขึ้นมาบ้าง ก็อาจติดโซนแนวรับแถว 36.80 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 36.60 บาทต่อดอลลาร์) จนกว่าตลาดจะมีการรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ หรือ ธีม US Exceptionalism ได้อ่อนกำลังลงชัดเจน (ต้องเห็นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลงมากขึ้น) เงินบาทถึงจะทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้

อนึ่ง ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน จากการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของทางการญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดการเงินญี่ปุ่นปิดทำการในช่วงสัปดาห์หยุดยาว Golden Week ทำให้สภาพคล่องในตลาดนั้นเบาบางลงชัดเจน และเหมาะต่อการเข้าแทรกแซงค่าเงิน โดยเฉพาะหากโมเมนตัมเงินดอลลาร์ได้แผ่วลงบ้าง ในกรณีที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาดชัดเจน

เรามองว่า เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวผันผวนสูง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงไปมาของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินบาท ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.90-37.10 บาทต่อดอลลาร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook