เช็กคุณสมบัติร้านค้าแบบไหน ถอนเงินสดจากโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้

เช็กคุณสมบัติร้านค้าแบบไหน ถอนเงินสดจากโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้

เช็กคุณสมบัติร้านค้าแบบไหน ถอนเงินสดจากโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กคุณสมบัติร้านค้าแบบไหน สามารถถอนเงินสดจากโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้ พร้อมเผยถอนได้ช่วงไหน คลังตอบแล้ว

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ ร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ (3)
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

ส่วนกรณีร้านค้าที่จะสามารถเบิกเงินได้ที่แบ่งครั้งที่สองก่อนนั้น นายจุลพันธ์ ระบุว่า กระบวนการที่ได้มีการกำหนดในชั้นอนุกรรมการมีข้อห่วงใยในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น เรื่องของการซื้อรถ แลกรถ และประเด็นในเรื่องของการสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจ จะมีเพียงพอหรือไม่นั้น ซึ่งหลังจากที่ได้พิจารณาอย่างละเอียดทางฝ่ายเลขาฯ ได้นำเสนอมาที่ชั้นอนุกรรมการแล้วส่งเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 ในวันนี้ โดยเสนอให้กลไกการใช้จ่ายเงินดิจิทัล ต้องใช้ 2 รอบเป็นอย่างต่ำเพื่อให้เกิดตัวคูณทางเศรษฐกิจอย่างที่เหมาะสม เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการเงิน Digital Wallet โดยรอบแรกประชาชนใช้กับร้านค้าขนาดเล็ก จะเป็นร้านหน้าบ้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เมื่อใช้แล้วร้านค้าดังกล่าวก็นำเงินไปซื้อสินค้าทุน กับร้านค้าอื่นๆ ต่อไปอีกหนึ่งถอดจึงจะขึ้นเงินได้

กลุ่มเป้าหมายโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีดังนี้

  • ประชาชน 50 ล้านคน
  • คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
  • ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี จากเดิมที่กำหนดให้ผู้มีรายได้เดือนละไม่เกิน 70,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการของสรรพากร
  • เงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่าย

  • กลุ่มที่ 1 ประชาชนใช้จ่ายกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) กำหนดให้ใช้ข่ายกับร้านค้าขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
  • กลุ่มที่ 2 ร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้าการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ

การใช้จ่ายเงินสามารถใช้ได้หลายรอบ

  • รอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ในระยะเวลา 6 เดือน เบื้องต้นกำหนดให้เป็นร้านค้าในกลุ่มร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กลงมา
  • ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า และพื้นที่ โดยจะยังเบิกเงินไม่ได้ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง

  • สินค้าทุกประเภทที่สามารถใช้จ่ายผ่านโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ยกเว้น
    • สินค้าอบายมุข
    • น้ำมัน
    • บริการ
    • สินค้าออนไลน์
    • สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

รูปแบบการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • เป็นการใช้จ่ายผ่านระบบใหม่ "Super App" ที่เป็นการพัฒนาต่อยอดของรัฐบาลดิจิทัลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ รัฐบาลจะดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook