ค่าเงินบาทวันนี้ 6 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 6 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 6 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 6 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่แกว่งตัวในช่วง 35.75-35.88 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.70-36.00 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.75-35.88 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง ตามการย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จากรายงานดัชนี ISM PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ เนื่องจากเงินดอลลาร์ก็สามารถรีบาวด์ขึ้นบ้าง ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความเสี่ยง ด้วยการขายหุ้นเทคฯ ใหญ่ (The Magnificent 7) ก่อนรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟดและรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้

บรรยากาศในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) มากขึ้น ท่ามกลางแรงขายบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ นำโดย Microsoft -3.0%, Apple -2.8% โดยผู้เล่นในตลาดอาจทยอยลดความเสี่ยงลงบ้าง ก่อนรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสและรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลง -1.65% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -1.02%

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังคงประเมินว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัวลักษณะ sideways down แต่ทว่า การแข็งค่าของเงินบาทก็อาจเป็นไปอย่างจำกัดในโซนแนวรับ 35.70-35.80 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าตลาดจะรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ข้อมูลตลาดแรงงาน รวมถึงถ้อยแถลงของประธานเฟดในคืนนี้

นอกจากนี้ เรามองว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟด เพราะถึงแม้ว่าเราจะประเมินว่า ประธานเฟดจะยังคงเน้นย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย 2% (ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่ผู้เล่นในตลาดคาดหวัง) แต่หากถ้อยแถลงของประธานเฟด รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ตลาดเริ่มเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด (เลื่อนการเริ่มลดดอกเบี้ยไปจากการประชุมเดือนมิถุนายน) หรือเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าคาด ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจยิ่งกดดันให้ตลาดขายหุ้นเทคฯ ใหญ่สหรัฐฯ ทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงและหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ไม่ยาก โดยในกรณีดังกล่าวนั้น เงินบาทก็มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ แต่ในทางกลับกัน หากถ้อยแถลงของประธานเฟดไม่ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด อีกทั้งรายงานข้อมูลการจ้างงานก็ชะลอลงมากขึ้น ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงต่อบ้าง ทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น ลุ้นว่าจะทะลุโซนแนวต้าน 35.70 บาทต่อดอลลาร์ ได้หรือไม่ (แนวรับสำคัญถัดไปแถวโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์)

เรายังขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.70-36.00 บาทต่อดอลลาร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook