ประกันสังคมมาตรา 39 สมัครแล้วได้อะไร คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสังคมมาตรา 39 สมัครแล้วได้อะไร คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสังคมมาตรา 39 สมัครแล้วได้อะไร คุ้มครองอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก "ผู้ประกันตนมาตรา 39" คืออะไร ใครสมัครได้บ้าง และมีสิทธิประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้าง ล่าสุดประกันสังคมมีคำตอบ

ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามของใครหลายคน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 คืออะไร เงื่อนไขคุณสมบัติการสมัครประกันสังคม ม.39 มีอะไรบ้าง และจะได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมอย่างไรบ้าง Sanook Money จะพาไปทำความรู้จักความหมายของผู้ประกันตนมาตรา 39 กัน

ประกันสังคมมาตรา 39 คืออะไร ?

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออก แต่ต้องรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, ตาย, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

คุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคม ม. 39

เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน

หลักฐานการสมัคร

  1. แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. กรณีประสงค์จะชำระเงินสมทบโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ประสงค์สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

เงินสมทบที่ต้องนำส่ง

  • เดือนละ 432 บาท
  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800 = 432) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39

หักบัญชีเงินฝากของธนาคาร ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ ได้แก่

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • เทสโก้โลตัส
  • เซ็นเพย์
  • บิ๊กซี
  • ที่ทำการไปรษณีย์ด้วยระบบ Pay at Post

ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสภาพ

  • ตาย
  • กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
  • ลาออก
  • ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  • ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

ประกันสังคม ม.39 ลดหย่อนภาษีได้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินที่จ่ายให้แก่ประกันสังคมในปีนั้น ยื่นหักลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ออกใบรายการรับเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 39 ให้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook