เช็กสิทธิเงินประกันรายได้ข้าว-เยียวยาเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท "ได้-ไม่ได้" เช็กที่นี่

เช็กสิทธิเงินประกันรายได้ข้าว-เยียวยาเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท "ได้-ไม่ได้" เช็กที่นี่

เช็กสิทธิเงินประกันรายได้ข้าว-เยียวยาเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท "ได้-ไม่ได้" เช็กที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กสิทธิประกันรายได้ข้าว 65/66 งวดที่ 1-6 ข้าวเปลือก 5 ชนิด และเงินเยียวยาเกษตรกร เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ อยากรู้ผล "ได้-ไม่ได้" เงินจาก ธ.ก.ส. หรือเปล่าต้องเช็กด่วน!

อัปเดตเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 65/66 หรือประกันรายได้ข้าวปี 4 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ซึ่ง ธ.ก.ส. เริ่มทยอยโอนเงินส่วนต่างประกันรายได้ราคาข้าว 65/66 ตั้งแต่ 24 ก.ย. 65 เป็นต้นไป

โดยการโอนเงินชดเชยส่วนต่างประกันรายได้ข้าว 65/65 ธ.ก.ส. ใช้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแล และกำนดเกณฑ์กลางอ้างและการชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 65/66 ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินผ่านทางแอปฯ ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plusตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้า

นอกจากนี้ยังมีโครงการสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีการผลิต 2565/66 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน

วิธีตรวจสอบ เช็กสิทธิเงินประกันรายได้ข้าว 65 และเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ผ่านเว็บไซต์มีขั้นตอนดังนี้

 ตรวจสอบสิทธิเยียวยาเกษตรกรตรวจสอบสิทธิเยียวยาเกษตรกร 2565

  1. คลิกไปที่เว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com

  2. กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก

  3. หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก จะมีรายละเอียดเปิดบัญชีจำนวนเงิน และ โครงการช่วยเหลือที่ได้รับ

ขั้นตอนตรวจสอบสถานะเยียวยาเกษตรกร บนแอปพลิเคชันของ ธ.ก.ส. A-Mobile มีดังนี้

  1. หลังจากตรวจสอบในเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว หากมีข้อมูลขึ้นว่าได้รับเงินโอน

  2. สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

  3. ซึ่งดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวครอบคลุมกว่า 4.68 ล้านคน

  4. สามารถเช็กผลโอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงหากเงินเข้าบัญชีแล้วสามารถรับทราบทันที  https://chongkho.inbaac.com/

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันราคาข้าว 65/66

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละ ไม่เกิน 25 ตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

ด้านนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์ กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เปิดเผยว่า ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณา ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงประกันรายได้ข้าว 65/66 ไปแล้ว 6 งวด จากจำนวนทั้งสิ้น 33 งวด ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกร 73% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

เช็คเงินส่วนต่างประกันรายได้ข้าว 65/66 งวดที่ 1-6 

งวดที่ 1 จ่ายเงินให้เกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ต.ค. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,583.20 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 416.80 บาท ได้รับเงินสูงสุด 12,504 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 453,887 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,140.10 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 859.90 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,758.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,443 ครัวเรือน

งวดที่ 2 จ่ายเงินให้เกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,401.02 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,514.52 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,357.06 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,555.32 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 444.68 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,340.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 49,175 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,606.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 393.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 6,296.48 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 57,620 ครัวเรือน

งวดที่ 3 จ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 22-28 ต.ค. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,450.84 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,518.91 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,304.50 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,551.88 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 448.12 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,443.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 30,138 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,719.40 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 280.60 บาท ได้รับเงินสูงสุด 4,489.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 36,047 ครัวเรือน

งวดที่ 4 จ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 29-4 พ.ย. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,385.04 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,001.46 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,143.90 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,532.63 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 467.37 บาท ได้รับเงินสูงสุด 14,021.10 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,472 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,982.94 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 17.06 บาท ได้รับเงินสูงสุด 272.96 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 120,666 ครัวเรือน

งวดที่ 5 จ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 5-11 พ.ย. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,009.64 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,197.71 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,225.53 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,874.04 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 125.96 บาท ได้รับเงินสูงสุด 3,149 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 6,268 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,467.85 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 532.15 บาท ได้รับเงินสูงสุด 15,964.50 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 53,964 ครัวเรือน

งวดที่ 6  จ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 12-16 พ.ย. 65

  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,140.32 บาทต่อตัน
  • ข้าวเหนียว ราคา 12,188.36 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,603.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 396.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 5,551.42 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 856,336 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,556.81 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 433.19 บาท ได้รับเงินสูงสุด 10,829.75 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 5,149 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,370.09 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 629.91 บาท ได้รับเงินสูงสุด 18,897.30 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 47,176 ครัวเรือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook