จารุวรรณ โชติเทวัญ สานต่อวิสัยทัศน์ดันสหฟาร์มกลับมายืนหนึ่ง

จารุวรรณ โชติเทวัญ สานต่อวิสัยทัศน์ดันสหฟาร์มกลับมายืนหนึ่ง

จารุวรรณ โชติเทวัญ สานต่อวิสัยทัศน์ดันสหฟาร์มกลับมายืนหนึ่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

d3242803-3134-483d-80c1-44421

สหฟาร์มปรับกระบวนเร่งเครื่องกลับมายืน 1 ส่งออกไก่ พร้อมปรับแผนรับอนาคตหลังปัจจัยเสี่ยงโลกและสงครามรัสเซีย-ยูเครนกระทบต้นทุนพุ่งสูง

บนเส้นทางความท้าทายบทใหม่ของอาณาจักรสหฟาร์มที่กำลังก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ก่อนหน้านี้อาณาจักรสหฟาร์มอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการมาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2557 กระทั่งล่าสุดช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา กิจการส่งออกไก่มีอัตราการเติบโตสูงจนสามารถทุบสถิติการสร้างยอดขายได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี จึงเป็นแรงส่งชั้นดีให้สหฟาร์มสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการคืนสู่บ้านสุขาวดีในที่สุด และทายาท “ตระกูลโชติเทวัญ” กลับเข้าบริหาร เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ จารุวรรณ โชติเทวัญ หรือน้ำผึ้ง บุตรสาวคนเดียวของ ดร.ปัญญา-ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ ในฐานะผู้บริหารรุ่น 2 ของ “สหฟาร์ม” ผู้บุกเบิกธุรกิจส่งออกไก่สดแช่แข็งรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า หลังการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ตนได้เข้ารับตำแหน่ง ประธานสายบัญชี การเงิน และเลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด โดยก่อนหน้านี้ดูแลในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหาร ดูแลจัดการฟาร์มและการตลาด ของบริษัทในเครือ บริษัท สหฟาร์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งทำตลาดส่งออกเป็นหลัก และการสร้างฟาร์มไก่อารมณ์ดี ต้นแบบการเลี้ยงไก่ในฟาร์มปิดวิถีใหม่ที่เป็นแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ไก่ พรีเมียมแบรนด์ “PAULDY” ซึ่งเปิดตัวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างแบรนด์ด้วยการทำตลาดออนไลน์ที่เจาะตรงสู่ผู้บริโภค

“ล่าสุดเราได้วางแผนปรับกระบวนเพื่อรองรับอนาคต ซึ่งมีสาเหตุจาก 3 ปัจจัยที่เป็นประเด็นหลักในปัจจุบัน อย่างแรกคือต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นมาก มันทำให้ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ปัจจัยที่ 2 คือ สถานการณ์โควิด ปัจจัยที่ 3 คือภาวะสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่สร้างผลกระทบในหลายด้านและยังไม่รู้ว่าจะยืดเยื้ออีกนานแค่ไหน เราก็เลยต้องหาทางออกให้กับธุรกิจของเรา”

 3693cfdd-19aa-4e5c-a9d8-0a3fb

ความท้าทายของบทใหม่

จารุวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนบทบาทใหม่มีความท้าทายมาก เพราะต้องดูแลแทบทุกด้าน การทำงานต้องรับโจทย์และบริหารงานใกล้ชิดกับท่านประธานแทบทุกส่วน

“ทุกวันนี้คุณพ่อ แม้จะอายุ 90 ปี แต่ท่านยังคงเต็มที่และมีความสุขกับการทำงานในทุกวัน อย่างในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้นำทีมผู้บริหารนั่งรถไปเช้าเย็นกลับ รวม 10 ชั่วโมง จากบ้านสุขาวดี พัทยา เพื่อไปดูงานที่ฟาร์มเพชรบูรณ์ ส่วนการดูแลลูกค้าต่างประเทศท่านก็ต้อนรับด้วยตนเอง แต่จะให้น้ำผึ้งช่วยเป็นล่ามแปลให้ท่าน ส่วนเรื่องรายรับรายจ่าย ท่านก็จะให้น้ำผึ้งรายงานตลอด แม้จะมีฝ่ายบัญชีดูแลจัดการโดยตรงแล้วก็ตาม ซึ่งการเข้ามาช่วยบริหารงานของน้ำผึ้งก็จะต้องเกี่ยวโยงกับทุกฝ่ายงานในองค์กรใหญ่ของสหฟาร์ม นอกจากนี้ยังต้องพร้อมซัพพอร์ตข้อมูลคุณพ่อทุกด้าน ดังนั้นการทำงานจึงมีความท้าทายทุกด้าน ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก อย่างสงครามยูเครน อีกทั้งปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ก็ส่งผลกระทบกับบริษัทโดยตรง เนื่องจากมีต้นทุนของราคาอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้น และเชื่อว่าอนาคตยังมีความท้าทายรออยู่อีกมาก แต่ในทุกวิกฤตินั้นย่อมมีโอกาสและมีทางให้เราไปเสมอ ถ้าเรามีสติ มองอย่างเข้าใจและมีแผนพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์”

 5f50936a-fd01-447d-af5c-ff62a

วางเป้าหมายนำพาสหฟาร์มกลับมายืนหนึ่ง

หลังออกจากแผนฟื้นฟูกิจการครั้งนี้ จารุวรรณกล่าวว่า เป้าหมายคือร่วมผลักดัน ให้สหฟาร์มกลับมายืนหนึ่งเรื่องไก่ให้ได้

“ สหฟาร์มเป็นองค์กรชั้นนำอยู่แล้ว มีความครบวงจร พ่อแม่พันธุ์ อาหารสัตว์ อย่างแบรนด์ PAULDY หรือ พอลดีย์ ลูกค้าพอใจมากในเรื่องคุณภาพ ซึ่งเราให้ความสำคัญกับคุณภาพ กับความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ถ้าบอกว่าเราดียังไง เราต้องดีแบบนั้น 100% อาหารเพื่ออนาคต อาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ หลักการคือเราใช้คุณภาพนำในทุกเรื่อง อย่างลูกค้าที่เมืองจีน จะตามหาไก่สหฟาร์มตลอด เชื่อมั้ยว่า ไก่สหฟาร์มก็มีของปลอมเหมือนสินค้าแบรนด์เนมอื่น ทั้งในไทยและต่างประเทศ ในไทยเราส่งเฉพาะระบบค้าส่ง นโยบายคุณพ่อคือต้องให้คู่ค้าเรามีกำไร เพราะเมื่อเค้ามีกำไรก็จะกลับมาซื้อสินค้าอีก เราต้องการเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า จนทุกวันนี้ลูกค้าของเรารายที่ใหญ่สุดในเกาหลี ก็ยังอยู่ ซึ่งเราส่งออกไปที่นั่นมากสุด ก่อนแผนฟื้นฟูเราส่งไปยุโรป โดยเฉพาะที่อังกฤษมากที่สุด เรียกว่าเราเป็นผู้ส่งออกมากที่สุดในแต่ละประเทศ เพราะเราให้สินค้าคุณภาพกับลูกค้าและกำไรที่ช่วยให้เค้าเติบโตขึ้นมามากมายหลายราย แม้ยังคงเน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต่อไปเราคงต้องเป็นมากกว่านั้น”

2e0baff1-c79d-4b2b-8371-54d82

สานต่อโปรเจ็คฟาร์มไก่อารมณ์ดี-PAULDY

สำหรับการบริหารจัดการสหฟาร์มยังคงสานต่อความมุ่งมั่นที่จะเลี้ยงไก่ด้วยสุขภาวะที่ดีโดยระบบที่ดีที่สุด “ระบบฟาร์มของเราเป็น compartment ซึ่งจะต้องมี biosecurity ที่แน่นหนามากเพื่อป้องกันไม่ให้โรคจากภายนอกเข้าไปได้ เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของหากจะเข้าสู่ฟาร์มต้องอาบน้ำทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อน” จารุวรรณบอกว่า พื้นที่ฟาร์มค่อนข้างใหญ่จึงมีการสร้าง buffer zone ยาว 500 เมตร โดยรอบฟาร์มเพื่อป้องกันไม่ให้ใกล้แหล่งชุมชน ฟาร์มของบริษัทในเครือทั้งหมดทั้งที่ลพบุรีและเพชรบูรณ์มีพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงและเป็นโรงงานรวมนับกว่า 30,000 ไร่ การเป็นฟาร์มขนาดใหญ่การบริหารจัดการจึงค่อนข้างรัดกุมเพราะโจทย์ของอนาคตคือ ผู้บริโภคจะหันมาดูแลสุขภาพ ทำยังไงให้การกินสร้างชีวิตให้ยืนยาว นำไปสู่โปรเจ็คการเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ซึ่งมีกรดยูริคต่ำกว่า 20% เพราะไก่ก็เหมือนคนเป็นสิ่งมีชีวิต เมื่อเครียดก็จะหลั่งสารที่เป็นพิษออกมา ล่าสุดได้คุยกับลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นลูกค้ามามากกว่า 10 ปี เค้าบอกว่าอยากได้ไก่พรีเมี่ยม ก็เลยนำเสนอโปรเจ็คไก่อารมณ์ดีให้เค้าฟัง เค้าตกใจมากเพราะมันตรงกับใจที่เค้าต้องการ   บ้านเค้ามีระบบไม่เหมือนเรา ของเค้าเรียกว่า Better Chicken แต่ยังเป็นรูปแบบอุตสาหกรรม ใน 1 ตารางเมตร ก็มีไก่ยืนอยู่เยอะ ขณะที่ไก่อารมณ์ดี ของสหฟาร์ม มีพื้นที่ในการเลี้ยงกว้างกว่า เรามีพื้นที่ให้ไก่นอนกลิ้ง วิ่งเล่น  จิกคุ้ยเขี่ยในแบบธรรมชาติที่เค้าเป็น เราปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและอีกหลายพันธุ์ไม้ให้เค้าได้จิกกิน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ไก่ได้สังสรรค์ และมีความสุขในทุกวัน”

สำหรับไก่พรีเมียมแบรนด์ PAULDY หรือ พอลดีย์ ยังคงเน้นการตลาดออนไลน์เป็นหลักแต่เริ่มวางตลาดในซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างท็อปส์ และกูร์เมต์ มาร์เก็ต วันนี้ พอลดีย์อาจเป็นแค่ไก่ แต่อนาคตเราตั้งเป้าเป็นมากกว่านั้น

“ ทดลองส่งไปให้เพื่อน คุณเป้ย ปานวาด ชวนเพื่อนดารามาชิม ทุกคนน่ารักมากสั่งออเดอร์กันมากมาย ตอนนั้นเป็นช่วงโควิดเราใช้เวลา 2 อาทิตย์ในการสร้างแบรนด์ “พอลดีย์” ซึ่งมีที่มาจากเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนนึงมาจากชื่อย่อคุณพ่อ คือปัญญา PY ก็มาคล้องจองกันพอดีกับ PAULDY และการที่คนไทยยังคงคุ้นชินกับการซื้อไก่สดทั่วไปในตลาด เราจึงต้องปรับแผนการตลาดให้สอดรับในจุดนี้ด้วยเช่นกัน รวมถึงแผนวิจัยเพื่อตอบโจทย์ในอนาคตอีกด้วย”

8d525f1f-b070-442e-8a4c-ffe79

ทุกวิกฤตมีโอกาส

“ที่ผ่านมา สหฟาร์มเจอวิกฤตมาตลอด 40 ปีวิกฤติที่หนักสุดคือ ไข้หวัดนกเป็นวิกฤติ โลก ตอนนั้นไทยส่งออกไก่ไม่ได้เลย ในประเทศไทยก็ไม่มีใครกิน ไก่ต้องขายกิโลละ 1 บาท นายกรัฐมนตรีต้องมากินไก่โชว์ และเราเองก็ต้องมาเซ็ทอัพคอลเซ็นเตอร์ร่วมกับภาครัฐ เนื่อง จากประชาชนแพนิค เพราะฉะนั้นถามว่าโควิดเรากลัวมั้ย คำตอบคือเราเจอหนักมากว่านั้น  และด้วยการที่คุณพ่ออยู่ในแวดวงสาธารณสุขมาก่อน ดังนั้นระบบการจัดการ การป้องกันต่างๆ เราจึงรับมือได้ ตอนนั้นเราส่งออกเป็นอันดับ 1 แต่พอไข้หวัดนก เข้ามา เราร่วงไปอยู่อันดับที่เท่าไหร่ไม่รู้  เราต้องปรับกลยุทธ์ มาขายไก่ปรุงสุก ท้ายที่สุดประมาณ 2 ปีเรากลับมาเป็นอันดับ 1 ส่งออกอีกครั้ง

ทั้งนี้บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 โดยเริ่มเลี้ยงไก่สัปดาห์ละ 500 ตัวจากเงินลงทุนเพียง 5,000 บาท  “ตอนนั้นครอบครัวเราไม่มีฐานะมากนัก และมีทุนน้อย จึงได้ประยุกต์เครื่องมือเครื่องจักรจากภูมิปัญญาของตนเองผสมผสานกับประสบการณ์ด้านสาธารณสุข จนทำให้บริษัทดำเนินธุรกิจไก่ครบวงจร อันประกอบด้วย กิจการฟาร์มไก่ปู่ – ย่าพันธุ์, ฟาร์มไก่พ่อ – แม่พันธุ์, ฟาร์มไก่เนื้อ, ไซโลเก็บเมล็ดธัญพืช, โรงงานผลิตอาหารสัตว์, โรงงานผลิตยาสัตว์, โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่ทันสมัย เป็นผู้ผลิตไก่ปลอดสารพิษรายแรกของประเทศไทยที่มีระบบ BIO-SECURITY ที่เข้มงวดในคอมพาร์ทเม้นท์ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก สามารถนำเงินตราเข้าประเทศไทยนับแสนล้านบาทต่อปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook