NIA ปั้นสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่วงโคจร “เศรษฐกิจอวกาศ” หวังก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

NIA ปั้นสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่วงโคจร “เศรษฐกิจอวกาศ” หวังก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

NIA ปั้นสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่วงโคจร “เศรษฐกิจอวกาศ” หวังก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 14 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เดินหน้าสานต่อโครงการ Space Economy: Lifting Off 2022 ปีที่ 2 เปิดเวทีให้สตาร์ทอัพสายอวกาศ (SpaceTech) พัฒนาโมเดลธุรกิจร่วมกับหน่วนงานชั้นนำในอุตสาหกรรมอวกาศระดับประเทศ พร้อมโอกาสรับการลงทุนเพื่อต่อยอดและขยายตลาด ซึ่งในปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมพัฒนาโซลูชันด้านอวกาศกว่า 120 ราย แต่ผ่านการคัดเลือก 15 ราย เพื่อนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน โดยครอบคลุมทั้งกลุ่มเทคโนโลยีระยะเริ่มต้น และระยะพัฒนาต้นแบบ

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่าการวิจัยและคิดค้นเทคโนโลยีด้านอวกาศ กลายเป็นกระแสที่มาแรงและอยู่ในความสนใจของหลายประเทศทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยก็ได้บรรจุให้กิจการอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องเร่งขับเคลื่อนและพัฒนา ด้วยการต่อยอดศักยภาพเดิมให้มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาดาวเทียมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล การสื่อสาร ความมั่นคง และงานวิจัยชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านอวกาศได้เข้าร่วมพัฒนาโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประเทศทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม 

“การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ คือเส้นทางสำคัญของการก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เนื่องจากเศรษฐกิจอวกาศรูปแบบใหม่นั้นจะมีเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ต่างจากเศรษฐกิจเศรษฐกิจอวกาศเดิมที่มีรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐเป็นผู้ดำเนินงานเท่านั้น นอกจากนี้ การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ ยังสามารถเพิ่มมูลค่าในภาคการผลิต และเป็นกลไกที่ช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอื่นของประเทศเติบโตไปพร้อมกันได้” ดร.พันธุ์อาจชี้ 

ปัจจุบันประเทศมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอวกาศมากกว่า 1,000 ราย อยู่ในธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 30,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ที่มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมหลายสิบโรงงาน รวมถึงมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บางส่วนที่เริ่มสนใจปรับเปลี่ยนกระบวนการมาผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมแล้ว

นอกจากนี้ NIA ยังได้ร่วมกับภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) ดำเนินการจัด “โครงการ Space Economy: Lifting Off 2022” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ให้สามารถขยายผลด้านเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานชั้นนำในอุตสาหกรรมอวกาศ เปิดโอกาสให้นำผลิตภัณฑ์และบริการที่กำลังพัฒนา มาทดสอบแนวความคิดให้มีความพร้อมต่อการนำไปใช้และก้าวสู่การแข่งขันในเชิงพาณิชย์ พร้อมเป็นสะพานเชื่อมการระดมทุนจากกลุ่มนักลงทุนที่สนใจ 

โครงการ Space Economy: Lifting Off มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศ ให้เข้าสู่ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดช่วงโซ่อุปทานของผู้พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมอวกาศขึ้นในประเทศ เพื่อไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนของเทคโนโลยีต่ำลง และภาคเศรษฐกิจของไทยโดยรวมก็จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เป้าหมายการสร้างสตาร์ทอัพอวกาศของ NIA จะสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่สามารถส่งดาวเทียมไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายใน 7 ปี ทั้งนี้ ในปีแรก NIA ได้สร้างสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศรายใหม่จำนวน 10 ราย และในปีที่ 2 ก็มีทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกเพื่อรับโอกาสการระดมทุนจำนวน 15 ราย 

สำหรับรางวัลชนะเลิศในกลุ่มเทคโนโลยีระยะเริ่มต้น คือทีม Solutions Maker อุปกรณ์รับเวลาโดยตรงจากดาวเทียม แทนการใช้งาน NTP/PTP รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือทีม LINK Application และรางวัลนองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือทีม Advance Space Composite 

ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีระยะพัฒนาต้นแบบ รางวัลชนะเลิศ คือทีม Gaorai ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรที่เชื่อมต่อเกษตรกรกับนักขับโดรนรับจ้างเพื่อการเกษตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือทีม Intech และรางวัลนองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือทีม VAAM และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต คือทีม Spacedox ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลจะมีโอกาสได้เข้าร่วมนำเสนอนวัตกรรมในงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023 (SITE2023) เพื่อโอกาสในการลงทุนและเติบโตต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook