อาเบะโนมิกส์ นโยบายฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยุค "ชินโซ อาเบะ" ด้วย 3 เสาหลัก

อาเบะโนมิกส์ นโยบายฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยุค "ชินโซ อาเบะ" ด้วย 3 เสาหลัก

อาเบะโนมิกส์ นโยบายฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยุค "ชินโซ อาเบะ" ด้วย 3 เสาหลัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ผู้สร้างยุทธศาสตร์อาเบะโนมิกส์ ฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย 3 เสาหลัก

นายชินโซ อาเบะ ถือเป็นนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในฐานะนายกรัฐมนตรีคนที่ 57 ของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ที่สำคัญเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น นับตั้งแต่ปี 2006-2007 และได้รับการเลือกให้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 และ 3 ในปี 2012-2020

ในช่วงที่ ชินโซะ อาเบะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เขาได้วางยุทธศาสตร์หลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น "อาเบะโนมิกส์" ซึ่งเป็นนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาและยาวนานของญี่ปุ่นผ่าน 3 เสาหลัก หรือ "ศร 3 ดอก" คือ นโยบายการเงิน, นโยบายการคลัง และยุทธศาสตร์การเติบโต เพื่อให้หลุดพ้นจากความตกต่ำ

นโยบายการเงิน

  • ชินโซ อาเบะ วางเป้าแก้ปัญหาเงินฝืด ด้วยการผ่อนคลายการเงินโดยให้ธนาคารกลาง ด้วยการทำ QE พิมพ์เงินเยนอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว พร้อมวางเป้าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2% ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นรัฐบาลที่ถือครองสินทรัพย์มากที่สุดในโลกถึง 70% ของ GDP เปรียบเทียบกับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ถือครองประมาณ 25% ของ GDP

นโยบายการคลัง

  • ในยุครัฐบาลอาเบะ ตั้งวงเงินการใช้จ่ายไว้ถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีกว่าครึ่งหนึ่งเป็นงบประมาณที่รัฐบาลอาเบะ เป็นผู้ใช้จ่ายโดยตรงในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สะพาน อุโมงค์ และถนนที่ทนต่อแผ่นดินไหว

ยุทธศาสตร์การเติบโต

  • ในยุครัฐบาลอาเบะ พยายามที่จะปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับประเทศ ด้วยการลดภาษีบริษัท เปิดเสรีภาคเกษตร ปฏิรูปกฎระเบียบเกี่ยวกับพลังงาน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ปรับวิธีการลงทุนของรัฐบาล สร้างแรงจูงใจทางภาษี เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของสตรี

โดย 3 ปีหลังจากการประกาศนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอาเบะ ผลที่ได้คือ การแก้ปัญหาเงินฝืด เพิ่มรายได้ประชาชาติ ทำให้บริษัทมีรายได้สูงขึ้น ลดจำนวนผู้ว่างงานลง ทำให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นในบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก และขนาดย่อม สามารถบรรลุเป้าทางบประมาณทั้งของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่้นได้ ท้องถิ่นเก็บภาษีได้มากขึ้น บรรลุข้อตกลงโดยหลักการในการเจรจา TPP มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวยี่ปุ่นในปี 2015 จำนวน 19.74 ล้านคน มากกว่าในปี 2012 ที่มีเพียง 8.36 ล้านคน และยังสามารถเพิ่มการจ้างงานสตรีมากขึ้นด้วย

ด้านเว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่า ยุทธศาสตร์อาเบะโนมิกส์ แสดงความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้น เพราะ อาเบะโนมิกส์ ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้มแข็งในระดับฐานราก เนื่องจากผู้ได้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว คือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำกำไรได้มากขึ้น ในขณะที่ประชาชนไม่ได้มีฐานะดีขึ้นอย่างที่หวัง และยิ่งมาถูกซ้ำร้ายด้วยการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามทั่วโลก ทำให้นโยบายของอาเบะสะดุด แม้เขาจะใช้เงินมหาศาลในการพยุงเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่อาจทำให้อย่างใจหวัง จะเห็นได้จากตัวเลขคนตกงานที่มากขึ้นร และนั่นทำให้ว่ากันว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะถดถอยกลับไปอยู่จุดเดิมอีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook