ประกันสังคมตอบแล้ว 3 ขอ ขอเลือกรับบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ ขอคืน ขอกู้ ใช้ได้เมื่อไหร่

ประกันสังคมตอบแล้ว 3 ขอ ขอเลือกรับบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ ขอคืน ขอกู้ ใช้ได้เมื่อไหร่

ประกันสังคมตอบแล้ว 3 ขอ ขอเลือกรับบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ ขอคืน ขอกู้ ใช้ได้เมื่อไหร่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกันสังคม ตอบชัด 3 ขอ ขอเลือกบำเหน็จ บำนาญชราภาพ ขอคืน ขอกู้ จะประกาศใช้ได้เมื่อไหร่ และจริงหรือไม่ที่ประกันสังคมจะเป็นผู้ปล่อยเงินกู้?

ยังคงเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามองสำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่จะมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เพิ่งผ่านมติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกันตนหลายต่างเฝ้ารอว่าจะใช้เวลานานหรือเปล่ากว่าจะประกาศออกมาเป็นกฎหมาย

เรื่องนี้ น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณี ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมดังกล่าว หลังจากผ่านที่ประชุม ครม. และได้มีมติเห็นชอบแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะถูกส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระหว่างนี้สำนักงานประกันสังคมจะทำกฎหมายลูกไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติพิจารณาตามขั้นตอนตามกฎหมายคาดว่าจะได้ใช้ราวต้นปี 2566

สำหรับการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพออกมาใช้ก่อนได้ดังนี้

ขอเลือก

  • กรณีผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ

ขอคืน

  • ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์

ขอกู้

  • ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารได้

การเพิ่มสิทธิประโยชน์

  • สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจาก 50% ของค่าจ้างเป็น 70% ของค่าจ้าง
  • สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเหมาจ่ายในอัตราครั้งละ 50% ของค่าจ้าง จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน หรือระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพเป็นลูกจ้าง และสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตน ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรต่ออีก 6 เดือน

ทั้งนี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นการ "ขอกู้" ว่า มีหลายฝ่ายกังวลว่าสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้ให้กู้เองหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สำนักงานประกันสังคมจะให้ธนาคารที่ทำ MOU เป็นผู้ปล่อยกู้ โดยธนาคารจะต้องให้ดอกเบี้ยต่ำสุดกับผู้ประกันตน เมื่อดำเนินการแล้วถึงจะมีประกาศให้ผู้ประกันตนทราบถึงหลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไรต่อไป

โดยสำนักงานประกันสังคมจะต้องออกเป็นกฎหมายลูกว่าจะให้กู้ในลักษณะไหน โดยผู้ประกันตนต้องยอมรับดอกเบี้ยธนาคาร ในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ประกันสังคมจะรับชำระหนี้แทนพร้อมดอกเบี้ยด้วยการนำเงินเก็บของผู้ประกันตนไปชำระหนี้แทน เมื่อผู้ประกันตนได้รับบำเหน็จชราภาพ หรือบำนาญชราภาพ ทางประกันสังคมจะหักเงินส่วนที่เป็นหนี้ส่วนนั้นให้กับธนาคารพร้อมค่าเสียโอกาสที่ประกันสังคมไม่ได้นำเงินส่วนนั้นมาลงทุน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook