ส่องเงินเดือน "ผู้ว่าฯ กทม." ตลอดวาระ 4 ปีสุดทึ่ง! กับโจทย์ใหญ่ที่ต้องเผชิญ

ส่องเงินเดือน "ผู้ว่าฯ กทม." ตลอดวาระ 4 ปีสุดทึ่ง! กับโจทย์ใหญ่ที่ต้องเผชิญ

ส่องเงินเดือน "ผู้ว่าฯ กทม." ตลอดวาระ 4 ปีสุดทึ่ง! กับโจทย์ใหญ่ที่ต้องเผชิญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ว่าฯ กทม. ได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ หากอยู่ครบวาระ 4 ปี บอกเลยงานนี้มีอึ้ง

จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดเปิดรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย. 65 เป็นเวลา 5 วัน พร้อมกับประกาศให้ชาว กทม. 4.5 ล้านคน ใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 22 พ.ค. 65

เป็นเวลากว่า 9 ปีที่คนกรุงเทพฯ ไม่ได้เข้าคูหากาบัตรเลือกผู้ว่าฯ กทม. นับตั้งแต่ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากพรรคประชาธิปัตย์ ยุติบทบาทและพ้นตำแหน่ง เมื่อช่วงเดือน ต.ค. 2559 ตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่แทน มาจนถึงปัจจุบัน

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในครั้งนี้หลายคนจับตาไปที่รายชื่อผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม. ไม่ว่าจะเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ประกาศเปิดตัวรับใช้ชาว กทม. ในนามผู้สมัครอิสระ, ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์, นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามพรรคก้าวไกล, นายสกลธี ภัททิยกุล ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ ซึ่งที่ผ่านมาเรามักจะเห็นนโยบายของแคนดิเดตว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. กันอยู่ต่อเนื่อง ทั้งทางภาคสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของผู้ว่าฯ กทม. ที่จะต้องทุ่มเททั้งแรงกาย ความคิดต่างๆ เพื่อลงมือแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น แน่นอนว่าผู้ว่าฯ กทม. เองเขาก็มีค่าเหนื่อย ค่าตอบแทน เช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป อยากรู้มั้ย? ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เงินเดือนเท่าไหร่ Sanook Money มีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน

ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา ระบุ พ.ร.ฎ.กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ได้ระบุบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มแต่ละตำแหน่งดังนี้

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 72,060 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 41,500 บาท
  • รวมเดือนละ 113,560 บาท

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 69,570 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 20,750 บาท
  • รวมเดือนละ 90,320 บาท

เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 39,710 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 4,400 บาท
  • รวมเดือนละ 44,110 บาท

ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 35,750 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 2,200 บาท
  • รวมเดือนละ 37,950 บาท

ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 43,490 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 8,800 บาท
  • รวมเดือนละ 52,290 บาท

ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 39,710 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 4,400 บาท
  • รวมเดือนละ 44,110 บาท

เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 39,710 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 4,400 บาท
  • รวมเดือนละ 44,110 บาท

เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร

  • ได้รับเงินเดือน 35,750 บาท
  • เงินเพิ่มเดือนละ 2,200 บาท
  • รวมเดือนละ 37,950 บาท

ลองคำนวณดูคร่าวๆ ผู้ว่าฯ กทม. ได้รับเงินเดือนรวม 113,560 บาท ถ้าอยู่ครบวาระ 4 ปี จะได้รับค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้น 5,450,880 บาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook