เตรียมออกมาตรการช่วยลูกหนี้สู้โควิด-19 รอบใหม่ เจาะกลุ่มผ่อนดีครอบคลุมไปต่อไม่ไหว

เตรียมออกมาตรการช่วยลูกหนี้สู้โควิด-19 รอบใหม่ เจาะกลุ่มผ่อนดีครอบคลุมไปต่อไม่ไหว

เตรียมออกมาตรการช่วยลูกหนี้สู้โควิด-19 รอบใหม่ เจาะกลุ่มผ่อนดีครอบคลุมไปต่อไม่ไหว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุ สศช. เตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อเข้ามาช่วยดูแลกลุ่มลูกหนี้สถาบันการเงิน โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มทีได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระการผ่อนชำระ เพื่อให้ลูกหนี้นำเงินไปใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็นกับการดำรงชีพในระยะสั้นก่อน

"เบื้องต้นคงต้องมีมาตรการออกมาช่วยให้ลูกหนี้ที่เจอปัญหาโควิด-19 รายได้ลดลงช่วยแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระ ส่วนจะมีมาตรการขึ้นมาแบบไหน ต้องหารือกับกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะทำอย่างไร เพราะที่ผ่านมาธนาคารเฉพาะกิจของรัฐได้ช่วยไปเยอะแล้ว อาจถึงจุดที่ต้องมาดูมาตรการใหม่อีกสักตัวมาดูในเรื่องนี้" นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา ยอมรับว่า ในการดำเนินการดังกล่าวคงต้องเริ่มหารือถึงหลักเกณฑ์เอาไว้รองรับสถานการณ์ก่อน เพราะปัจจุบันมีคนกลุ่มหนึ่งไปต่อลำบาก หากไม่มีมาตรการออกมาช่วยก็ทำให้เกิดปัญหา และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมได้

อย่างไรก็ตาม แนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้น มองว่าคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการคงต้องคัด คือเป็นลูกหนี้ที่ผ่อนชำระดีมาตลอด หรือกลุ่มที่เคยปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วแต่ไปต่อไม่ไหว อาจตค้องมีมาตรการมาช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถยืนต่อไปได้ โดยอาจไม่ใช่มาตรการพักชำระหนี้เหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพราะหากทำรูปแบบเดิมอาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำให้ลูกหนี้ดีไม่ชำระหนี้ตามปกติ

สำหรับเหตุผลของการพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือ เพราะว่าที่ผ่านมา สศช. พบข้อมูลที่น่ากังวลเกี่ยวกับสถานะการณ์หนี้ครัวเรือน แม้ในเชิงมูลค่าเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสจะเพิ่มสูงขึ้นไม่มาก แต่หากมองคุณภาพของหนี้แล้ว ต้องนี้เริ่มเห็นว่ามีปัญหา โดยเฉพาะหนี้เพื่ออุปโภคและบริโภคของภาคประชาชน

"มาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นบุคคล ครัวเรือน หรือภาคธุรกิจ ตรงนี้ต้องเช็คตัวเลขว่าทำไปถึงไหน และเชื่อว่าจะมีบางส่วนที่ยังคงประสบปัญหาอยู่ โดยการแก้หนี้ครัวเรือนไม่ใช่แก้เบ็ดเสร็จในปีเดียว เพราะด้วยภาวะวิกฤตโควิดคงต้องใช้เวลา และต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเข้าไปช่วย เพื่อให้เขายังพอมีกำลังการใช้จ่ายอยู่ได้ มีความมั่นคงมีหลายเคสยังผ่อนบ้าน แต่ยังประสบปัญหา ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน" นายดนุชา กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook