ลาออกจากงาน ต้องยื่นภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ลาออกจากงาน ต้องยื่นภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ลาออกจากงาน ต้องยื่นภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความระบุ กรมสรรพากร แนะการยื่นภาษีเมื่อออกจากงาน ทั้งลาออกจากงาน หรือเกิดเหตุที่คาดไม่ถึง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ออกจากงาน เราจะต้องยื่นภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง

ลาออกโดยสมัครใจ

ประเภทเงินที่ได้รับ อายุเงินไม่ถึง 5 ปี อายุงานเกิน 5 ปี
เงินเดือนที่ได้รับระหว่างปี ยื่นในแบบแสดงรายการถือเป็นเงินได้ 40(1) ยื่นใบแบบแสดงรายการถือเป็นเงินได้ 40 (1)
เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงาน คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณหากมีอายุในกองทุนเกินกว่า 5 ปี

 

ถูกบังคับให้ออก หรือให้ออกโดยลูกจ้างไม่สมัครใจ

ประเภทเงินที่ได้รับ อายุงานไม่ถึง 5 ปี อายุงานเกิน 5 ปี
เงินเดือนที่ได้รับระหว่างปี ยื่นในแบบแสดงรายการถือเป็นเงินได้ 40(1) ยื่นในแบบแสดงรายการถือเป็นเงินได้ 40(1)
เงินชดเชยที่ได้รับตามอายุงานตามกฎหมายแรงงาน คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
เงินชดเชยที่ได้รับตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ได้รับยกเว้น 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับยกเว้น 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุไม่ถึง 55 ปี คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) คำนวณในใบแนบเหตุออกจากงาน
เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุตั้งแต่ 55 ปีเป็นต้นไป คำนวณในแบบแสดงรายการรวมกับเงินเดือน 40(1) ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณหากมีอายุในกองทุนเกินกว่า 5 ปี

เอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นแบบกรณีออกจากงาน

  • หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิ
  • เอกสารรับรองอายุการทำงาน
  • เอกสารรับรองเงินเดือน ย้อนหลัง 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน

ลาออกหรือถอนเงินจากกองทุนฯ (ไม่ได้ลาออกจากงาน)

นำเงินได้เฉพาะส่วนผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ของนายจ้างยื่นรวมกับเงินเดือนที่ได้รับ ยื่นในแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 40(1) เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน และไม่มีสิทธิคำนวณเงินได้ในใบแนบเงินได้เหตุออกจากงานฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook