พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ หนุน เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ตามนโยบายรัฐ  

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ หนุน เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ตามนโยบายรัฐ  

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ หนุน เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ตามนโยบายรัฐ  
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

s__46702613

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ นวนคร จ.ปทุมธานี จัดงานมหกรรมภูมิพลังแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 3 – 6 ธันวาคม 2563  ที่ผ่านมา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเชิดชูเกียรติยศในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม โดยในช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 89 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ และในปีนี้สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานวันดินโลก “Keep soil alive, protect soil biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ภายในงานจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ อาทิ นิทรรศการรักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน นิทรรศการภูมิพลังแผ่นดิน แผ่นดินนี้มีพลัง นิทรรศการรักแผ่นดินตามรอยพ่อ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ พี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ

s__46702623นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้ ทางสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ยังได้มอบประกาศนียบัตร ให้กับเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นเกษตรกรอินทรีย์ที่ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จและเข้ามาเป็นเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ โดยนางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้มอบประกาศนียบัตรได้แก่เกษตรกรทั่วประเทศที่ได้รับคัดเลือก

s__46702624นางบุญยืน กิไพโรจน์ เกษตรกรอินทรีย์ จ.ประจวบฯ พร้อมครอบครัว

นางบุญยืน กิไพโรจน์ เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป พืชสวน ไร่นา และมะพร้าว ซึ่งมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และ เป็นประธาน “รัฐวิสาหกิจชุมชนแม่ทวดเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่” ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์  และ เป็นเกษตรกรเพียงคนเดียวในจังหวัดประจวบฯที่ได้รับประกาศนียบัตร จากสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)  บอกว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับการคัดเลือก และ ได้ประกาศนียบัตรถือเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล พร้อมจะนำความรู้ที่ได้จากพิพิธภัณฑ์และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมี นายเสถียร ทองสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายกลุ่มสรรพสิ่ง จ.อุบลราชธานี ให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ดิน น้ำ จุลินทรีย์ และ แพลงตอน ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน พืช สัตว์ ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้มากกว่า 80% ตามหลักการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ของในหลวง รัชกาลที่๙ และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของตนเอง ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำ ขายได้ราคาสูง นอกจากนี้ อยากให้ภาครัฐสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องเพราะการส่งเสริมเกษตรกรอินทรีย์ทั่วประเทศจะช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง 

s__46702626นางสุภาวดี หวานฉ่ำ เกษตรกรอินทรีย์ จ. สุโขทัย

สอดคล้องกับความเห็นของ นางสุภาวดี หวานฉ่ำ เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องต้นถั่วดาวอินคา ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ ทั้งทางด้านสุขภาพและความงาม และเป็นประธาน “รัฐวิสาหกิจชุมชนดาวอินคา”  ตั้งอยู่ที่ ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย บอกว่า การได้เข้ามาอยู่เครือข่ายของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้มีความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างรอบด้าน ลดต้นทุน และยังสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

tech

อย่างไรก็ตาม คณะรัฐบาลนี้ ซึ่งนำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ โดยอนุมัติเงินงบประมาณในปี 2564 จำนวน 1.9 พันล้านบาท รวม 209 โครงการ พร้อมเห็นชอบ แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560 – 2565 ด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกัน 7 กระทรวง ประกอบไปด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการมุ่งเป้าภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ คือ  1) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์  2) พัฒนาการผลิตผลิตและบริการเกษตรอินทรีย์  และ 3) พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรองรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับชุมชน ประเทศ และภูมิภาคอาเซียน ซึ่งขณะนี้กลุ่มประเทศอาเซียน ได้ตกลงที่จะจัดทำมาตรฐานกลางของอาเซียน หรือชื่อทางการว่า Mutual Recognition Arrangement for Organic Agriculture

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook