ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่ง ใครเหมาะแบบไหน เช็กให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่ง ใครเหมาะแบบไหน เช็กให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่ง ใครเหมาะแบบไหน เช็กให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่ง โครงการไหนเหมาะกับใครมากที่สุด เช็กให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

เมื่อเอ่ยถึงมาตรการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการจับจ่ายซื้อสินค้ากันมากขึ้น แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงโครงการคนละครึ่ง กับช้อปดีมีคืนตามที่รัฐบาลอนุมัติมา ซึ่งทั้ง 2 โครงการนั้นมีความแตกต่างทั้งเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ โดยล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก TaxBugnoms โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโครงการคนละครึ่ง และโครงการช้อปดีมีคืน โดยประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการจะต้องเลือกใช้สิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 โครงการก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โครงการ คนละครึ่ง เปิดให้ผู้ทีต้องการมาลงทะเบียนใช้สิทธิ์ได้ โดยเงื่อนไขในการลงทะเบียนระบุไว้ชัดว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับสิทธิและใช้สิทธิ "จะไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในมาตรการช้อปดีมีคืน" แปลว่า เราเลือกได้เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  2. คำถามที่หลายคนถามมา คือ แล้วเลือกอะไรดีระหว่างสองตัวนี้ คำตอบที่ผมพยายามตอบให้ คือ เลือกตัวที่เราได้ประโยชน์สูงสุด ระหว่าง เงินที่ช่วยเหลือ 3,000 บาท กับ เงินลดหย่อนภาษีตามฐานที่เราเสีย และในอีกมุมหนึ่ง คือ
    เราต้องเทียบระหว่าง กระแสเงินสดที่เรามีกับสิ่งที่เราได้รับจากมาตรการทั้งสองตัวนี้ 
    • ถ้ามีเงิน เสียภาษีเยอะ ต้องใช้จ่าย การเลือก ช้อปดีมีคืนน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า 
    • ถ้ากระแสเงินสดฝืด เสียภาษีน้อยกว่า การเลือก คนละครึ่ง คือสิ่งที่น่าพิจารณาเลือกใช้ 
    • ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรผิดถูก แต่เอาที่ความพอใจและเหมาะสม
  3. ข้อควรระวัง คือ การยกเว้น มาตรการนี้ไม่ได้ให้สิทธิในทุกรูปแบบ อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่า เราได้สิทธิแบบไหน และใช้อะไรได้ช้อปดีมีคืน ต้องเป็นการซื้อสินค้าบริการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม OTOP และ หนังสือ
    และต้องไม่ใช่กลุ่มที่ยกเว้นห้ามใช้สิทธิ์ (ติดตามรายละเอียดกฎหมายอีกทีนะครับ) ส่วน คนละครึ่ง ต้องเป็นการจ่ายให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง โดยเป็นร้านที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมถึงไม่ใช้การซื้อสินค้าที่กฎหมายยกเว้น เช่น เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ยาสูบ สลาก ฯลฯ

สุดท้ายแล้วการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์แบบนี้ผมอยากให้มองที่ความคุ้มค่าเป็นหลักโดยความคุ้มค่านั้นอาจจะต้องดูสิ่งที่เราได้รับเงินในกระเป๋าเราประกอบกัน

อ่านข่าวคนละครึ่ง เพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook