นารายา “กระเป๋าผ้าพันล้าน” กับเหตุผลที่ต้องปิดโรงงานที่บุรีรัมย์หนีพิษโควิด-19

นารายา “กระเป๋าผ้าพันล้าน” กับเหตุผลที่ต้องปิดโรงงานที่บุรีรัมย์หนีพิษโควิด-19

นารายา “กระเป๋าผ้าพันล้าน” กับเหตุผลที่ต้องปิดโรงงานที่บุรีรัมย์หนีพิษโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นารายา แบรนด์กระเป๋าผ้าไทยขวัญใจของชาวต่างชาติเผยเหตุผลที่ต้องปิดโรงงานที่บุรีรัมย์เซ่นพิษโควิด-19

จากกรณีที่แบรนด์กระเป๋านารายา หรือกระเป๋าผ้าผูกโบว์สัญชาติไทย ประกาศปิดโรงงานที่บุรีรัมย์ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. นี้เป็นต้นไป ตามมติบอร์ดของบริษัทฯ นั้น เหตุผลก็เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กำลังการซื้อของลูกค้า นักท่องเที่ยวลดลง รวมถึงไม่มีออร์เดอร์กระเป๋าเข้ามาด้วย แม้ทางบริษัทฯ จะมีโปรเจคผลิตผ้าปิดจมูกจำหน่ายทางออนไลน์และส่งออกไปต่างประเทศแต่ก็ไม่เพียงพอกับต้นทุนที่เกิดขึ้น ประกอบการข้อเรียงร้องของพนักงานบางส่วนที่ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างต่างๆ นานา แม้จะมีการเจราจาระหว่างกับนายจ้างและลูกจ้างเกือบทุกนัดแล้วก็ตาม
detailnaraya

“NaRaYa” เป็นแบรนด์สัญชาติที่จับกลุ่มลูกค้า เช่น แม่บ้าน และวัยรุ่นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเงินที่มีความประณีต ทั้งการตัดเย็บ ลวดลายผ้าที่สวย แถมราคาจับต้องได้เพียงหลักร้อยบาทต่อใบเท่านั้น จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เลือกซื้อของใช้ในร้านกันขวักไขว่ ซึ่งลูกค้าของนารายาส่วนใหญ่กว่า 70-80% เป็นนักท่องเที่ยว เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์ ส่วนอีก 20% เป็นคนไทย ด้วยเหตุนี้เองจึงสะท้อนให้เห็นว่า นารายา ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงเพราะรายได้ส่วนใหญ่พึ่งพาแต่เม็ดเงินต่างชาติเป็นหลัก อยากรู้มั้ย…ในปีที่ผ่านๆ มากระเป๋าผ้าผูกโบว์ภายใต้แบรนด์นารายาเขาสร้างรายได้และกำไรเท่าไหร่ Sanook Money มีคำตอบมาฝากกัน

บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2532 โดยปรากฎรายชื่อคณะกรรมการ 2 คน ได้แก่ น.ส.วาสนา รุ่งแสนทอง และนายวาซิรีโอส ลาทูรัส ดำเนินธุรกิจ ขายส่งเครื่องหนังและเครื่องใช้สำหรับการเดินทางประเภททำด้วยผ้า ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 90 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้

  • ปี 2559 รายได้ 1,660 ล้านบาท กำไร 191 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 1,426 ล้านบาท กำไร 71 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,338 ล้านบาท กำไร 42 ล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook