กนอ.เร่งทบทวนราคากลางก่อสร้างเขื่อนป้องน้ำท่วม

กนอ.เร่งทบทวนราคากลางก่อสร้างเขื่อนป้องน้ำท่วม

กนอ.เร่งทบทวนราคากลางก่อสร้างเขื่อนป้องน้ำท่วม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนป้องกันอุทกภัยของนิคมอุตสาหกรรม ในความดูแลของ กนอ. ทั้ง 6 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง บางชัน บางปู บางพลี สมุทรสาคร และ นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุน หลังจากไม่มีผู้ประกอบการรายใดยื่นซองเสนอราคาและรูปแบบการก่อสร้าง หลังจากที่มีการซื้อซองประมูลไปแล้ว 19 ราย เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะดำเนินการได้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ที่ 8 เดือนหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นบอร์ด กนอ. อนุมัติให้ขยายเวลาดำเนินการเพิ่มเป็น 10 เดือน รวมทั้งจะมีการทบทวนราคากลางในการก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้น จากเดิมกำหนดไว้ที่ 3,546 ล้านบาท เนื่องจากมีความผันผวนจากต้นทุนค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน และแนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่า การทบทวนราคากลางใหม่ จะได้ข้อสรุปในเดือน ก.พ. - มี.ค.นี้ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ในการก่อสร้างแนวเขื่อน ที่ผู้ประกอบการต้องการให้ กนอ. เป็นผู้ดำเนินการเอง กนอ. เล็งจ่ายเงินอุดหนุนสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะเสนอ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ด กนอ. พิจารณาเรื่องการจ่ายเงินอุดหนุนการก่อสร้างเขื่อนป้องกันอุทกภัย ให้กับนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา และ ปทุมธานี คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค สวนอุตสาหกรรมนวนคร และ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ก่อนที่จะเสนอให้กรมบัญชีกลาง พิจารณาเงินงวดแรกให้กับผู้ประกอบการ หลังจาก กนอ. ได้ทำการตรวจสอบรูปแบบและการก่อสร้างจริงแล้ว และพบว่ามีความคืบหน้าในการก่อสร้างประมาณร้อยละ 92 ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่ยังไม่มีการก่อสร้าง ทั้งนี้ ในส่วนของวงเงินในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันอุทกภัยของทั้ง 5 นิคมฯ ปรับลดลงเหลือ 4,014 ล้านบาท จากรูปแบบที่เสนอมาในครั้งแรก ใช้งบถึง 5,170 ล้านบาท โดยรัฐจะอุดหนุนให้ 2 ใน 3 ของวงเงินลงทุนรวมของแต่ละนิคมฯ ทำให้วงเงินอุดหนุนจะลดลงเหลือ 2,676 ล้านบาท จากเดิม 3,010 ล้านบาท หรือลดลง 334 ล้านบาท เนื่องจากบางนิคมฯ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างใหม่ 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook