ภัยมืดยุค "ดิจิทัล" ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ภัยมืดยุค "ดิจิทัล" ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ภัยมืดยุค "ดิจิทัล" ใกล้ตัวกว่าที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันจำนวนการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดคิดเป็นตัวเลขสองหลักต่อปี รวมถึงภาครัฐพยายามผลักดันการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ National e-Payment ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและเอื้อต่อการใช้จ่ายให้กับประชาชนในยุคดิจิทัล แต่ขณะเดียวกันกลุ่มมิจฉาชีพก็ปรับตัวให้เข้ากับสังคมยุคออนไลน์เช่นกัน โดยอาศัยจังหวะช่วงที่ประชาชนกำลังปรับตัว และ ช่องโหว่ ของระบบไอที ซึ่งทำให้การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง หากผู้บริโภคอย่างเราๆ เผลอเรอไป ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะนิติกรรมด้านการเงินถูกนำมาไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หากพลาดเพียงนิดเดียวอาจจะเกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาล

ซึ่งขอยกกรณีตัวอย่างเป็นคนใกล้ตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้บริโภคยุคดิจิทัล นอกจากใช้จ่ายออนไลน์แล้วสังคมรูดปรื้ดด้วยบัตรเครดิตเป็นอีกหนึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ล่าสุดเกิดกรณีการขโมยบัตรเคดิต ของนายอธิษฐ์พัชร นิพิษฐาภัทร ผู้เสียหาย ไปรูดซื้อสินค้า มูลค่าความเสียหายกว่า 60,000 บาท โดยมีการแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

s__39157775นายอธิษฐ์พัชร นิพิษฐาภัทร ผู้เสียหาย

s__39092271(1)ผู้ต้องหา

จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดเหตุความเสียหายกับธุรกรรมด้านการเงิน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือต้องมีสติ และ รีบโทรไปที่ธนาคารเพื่ออายัดบัตร พร้อมเข้าแจ้งความ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี สำหรับการสมัครทำธุรกรรมการเงินออนไลน์เพื่อเชื่อมโยงบัญชีส่วนตัว เข้ากับแอพพลิเคชันของธนาคารต่างๆ ควรสมัครบริการแจ้งเตือนการใช้จ่าย ทั้งทาง เอสเอ็มเอส และ e-mail นอกจากช่วยเช็คความถูกต้องแล้วยังช่วยเตือนภัยผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออันโอชะ ของกลุ่มมิจฉาชีพยุคไซเบอร์ได้อีกด้วย

โดยสถิติข้อมูลภัยคุกคามไซเบอร์ ที่รวบรวมโดย “ไทยเซิร์ต” (ThaiCERT) ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของ “สพธอ.” สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พบว่า 6 เดือนแรกของปี 2562 มีการแจ้งเหตุภัยคุกคามแล้ว 1,083 กรณี ซึ่งการหลอกลวงออนไลน์(fraud)สูงสุดม ที่ 389 กรณี ความพยายามจะบุกรุกเข้าระบบ (intrusion attempts) 330 กรณี เนื้อหาที่เป็นภัย (abusive content) อีก 112 กรณี เจาะระบบได้สำเร็จ (intrusions) อีก 105 กรณี การเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต (information security) 83 กรณี การโจมตีด้วยมัลแวร์ 61 กรณี และอื่นๆ

istock-518227808

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook