มันจำเป็น! แบงก์ชาติคุม "สินเชื่อบ้าน" กันเกิดหนี้เสีย

มันจำเป็น! แบงก์ชาติคุม "สินเชื่อบ้าน" กันเกิดหนี้เสีย

มันจำเป็น! แบงก์ชาติคุม "สินเชื่อบ้าน" กันเกิดหนี้เสีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ว่าสาเหตุที่แบงก์ชาติเริ่มใช้เกณฑ์ใหม่ในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น เพราะอะไร?

เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดหนี้เสีย ลดคนเก็งกำไรในอสังหาฯ และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อคนที่ซื้อบ้านหลังแรก (เพราะราคาบ้านถูกลงเมื่อไม่มีคนเก็งกำไร)

เมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยมีมูลค่า 6-8% ของ GDP หากรวมธุรกิจต่อเนื่องจะมีมูลค่ามากกว่านี้ ทั้งนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอื่นจำนวนมาก ได้แก่

  • ช่วงระหว่างก่อสร้างจะเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจปูนซีเมนต์ รับเหมาก่อสร้าง
  • ช่วงสร้างอสังหาริมทรัพย์เสร็จแล้ว จะเกี่ยวข้องกับ บริษัทเฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ภาคการเงิน ฯลฯ

นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับภาคการเงิน เพราะสถาบันการเงินเป็นแหล่งเงินกู้ให้ทั้งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และภาคครัวเรือนโดยให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย (สินเชื่อบ้าน) กับประชาชนทั่วไป

ปัจจุบันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วน 20% ของสินเชื่อทั้งหมดในภาคการเงิน และต้องยอมรับกว่าหนี้ครัวเรือนของไทย 35% มาจากสินเชื่อบ้าน (แบงก์ชาติมองว่าคนมีสินเชื่อบ้าน ดีกว่ามีสินเชื่อเพื่ออุปโภคด้านอื่นๆ เพราะนอกจากอยู่อาศัยยังมีบ้านเป็นทรัพย์สิน)

ปี 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเห็นความเสี่ยงในบางจุด ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ที่สร้างเสร็จแล้วแต่ยังขายไม่ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากนี้โครงการก่อสร้างใหม่ของผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ธปท.จึงต้องจับตาความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ ธปท. ออกเกณฑ์กำกับสินเชื่อบ้าน เพราะ ระยะหลังธปท. เห็นสัญญาณจากสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อแบบผ่อนคลาย โดยปล่อยวงเงินสินเชื่อบ้านสูงกว่าหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน (ให้ Loan to Value หรือ LTV เกิน 100%) จากข้อมูลพบว่าสินเชื่อบ้านที่ปล่อยใหม่ในธุรกิจธนาคาร 1 ใน 4 ให้ LTV เกิน 200%

ดังนั้น เกณฑ์ใหม่ที่กำกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธปท. ที่เริ่มใช้ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา จะกำหนดให้ธนาคารให้สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับบ้านไม่เกินราคาหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน

bankk1

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook