“เงินบาท” แข็งสุดในรอบ 5 ปี แนะผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงิน

“เงินบาท” แข็งสุดในรอบ 5 ปี แนะผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงิน

“เงินบาท” แข็งสุดในรอบ 5 ปี แนะผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า เงินบาทล่าสุดแข็งค่าอย่างรวดเร็วอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่าที่สุดในรอบ 5 ปี และยังเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

โดยปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกมาจากสงครามการค้าและการลงทุนโลก การชะลอการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลดลง ความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายประเทศ อาทิ BREXIT การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติในสหรัฐฯ จากผลพวงความขัดแย้งเรื่องงบประมาณสร้างกำแพงกั้นสหรัฐฯ กับเม็กซิโก เหตุการณ์ประท้วงในฝรั่งเศสและเวเนซุเอลา เป็นต้น ทำให้ล่าสุด IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562 เหลือขยายตัว 3.5% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 

ส่วนในประเทศนั้นมาจาก ความต้องการเงินบาทที่เกิดจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจจริง เช่น การแลกเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออกไทย เงินที่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาตินำมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อนำมาลงทุนและใช้จ่ายในไทย รวมถึงปัจจัยที่เกิดจากเงินทุนที่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดการเงิน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจจริงนัก แต่เข้ามาหากำไรระยะสั้นหรือพักเงิน เพราะเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก หนี้ต่างประเทศต่อ GDP ต่ำไม่ถึง 30% และอัตราเงินเฟ้อต่ำราว 1% ทำให้นักลงทุนในตลาดการเงินเชื่อมั่นและทำให้เงินบาทกลายเป็นแหล่งพักเงินสำคัญของภูมิภาค แม้อัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ต่ำกว่าหลายประเทศ แต่เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลเข้ามาในลักษณะนี้อาจหวังผลในแง่การรักษามูลค่าของเงินลงทุนมากกว่าจะหาผลตอบแทนในระยะสั้น

นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แนะให้ผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินในทุกกรณี ควรหันมาใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ควรใช้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าในการนำเข้า หรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของตน รวมถึงการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook