คค.เผยวิกฤติEUยังไม่กระทบนายกสั่งดูรสก.กู้ยืมลงทุนสูง

คค.เผยวิกฤติEUยังไม่กระทบนายกสั่งดูรสก.กู้ยืมลงทุนสูง

คค.เผยวิกฤติEUยังไม่กระทบนายกสั่งดูรสก.กู้ยืมลงทุนสูง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ในส่วนของกระทรวงคมนาคม ยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป แต่ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ที่มีการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก ในการลงทุน อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ในส่วนของยอดจำนวนผู้โดยสารของการบินไทย ในทวีปยุโรป กลับพบว่า มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้มีการทำแผนงานเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย รวมทั้งจะมีการประชุมร่วมกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามสถานการณ์ด้วย  ทูตพณ.สหรัฐคาดส่งออกไทยไปUSปีนี้โตตามเป้า นางสมจินต์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า จากปัญหาวิกฤติหนี้ในสหภาพยุโรป หรือ EU ทำให้การส่งออกของไทยไปในตลาดสหรัฐ ชะลอตัวลงด้วย แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวก ที่ร้อยละ 1 - 2 อีกครั้ง และคาดว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 - 4 การส่งออกของไทยไปสหรัฐ จะฟื้นตัวดีขึ้นอีก เนื่องจาก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน สหรัฐจะมีการเลือกตั้ง ผลของการหาเสียงของพรรคการเมือง จะทำให้การใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐในปีนี้ จะขยายตัวได้ร้อยละ 10 จากในช่วง 6 เดือนแรกของปี ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6 จึงมั่นใจว่า ตลอดทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ นักลงทุนไทย ควรแสวงหาโอกาสการลงทุนในตลาดสหรัฐให้มากขึ้น เพื่อทดแทนตลาดใน EU ที่ยังคงชะลอตัวอยู่ในขณะนี้  กิมเอ็งแนะลงทุนหุ้นปันผลช่วงปัญหายุโรป นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาวิกฤติยุโรป ว่าขนาดของปัญหาใหญ่กว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่น้อยกว่ากรณีสหรัฐ แฮมเบอร์เกอร์ ขณะเดียวกัน จะแก้ปัญหายากกว่าทั้ง 2 กรณี ซึ่งวิธีแก้ปัญหาเมื่อประเทศถึงวิกฤติเศรษฐกิจประชาชนขาดกำลังซื้อ มี 2 วิธี คือ การอัดฉีด เพื่อให้มีกำลังซื้อ และลดปัญหาการว่างงาน และการพยายามสกัดไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม โดยเฉพาะการลุกลามที่ใหญ่และน่ากลัวคือ สถาบันการเงิน ซึ่งต้องรับว่า สถานการณ์จะอยู่ในสภาพนี้อีกนาน และวันนี้ ต้องติดตามสถานการณ์การประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปที่คาดว่า ยุโรป ยังคงพยายามประคองและการแก้ปัญหาคงต้องแก้อีกหลายรอบครั้งเดียวเอาไม่อยู่  ดังนั้น ถ้านักลงทุนอ่านสถานการณ์ด้วยความเข้าใจต้องทราบว่าตลาดอยู่ในสภาวะไม่แน่นอนผันผวน ระหว่างนี้ แนะนำให้เลือกลงทุนแบบระมัดระวัง ลงทุนหุ้นที่มีปันผลมาก และราคาหุ้นไม่ขยับมากนักนายมนตรี กล่าวถึง มาตรการรับมือวิกฤติยุโรปของรัฐบาล โดยเฉพาะการตั้งกองทุนพยุงหุ้นนั้น มองว่า เป็นมาตรการผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะยังห่างไกลที่จำเป็นต้องมี เนื่องจากทางกลุ่มภูมิภาคเอเชีย มีความแข็งแรง สภาวะหนี้สาธารณะไม่สูงเหมือนกับกลุ่มยุโรป อีกทั้ง ภาครัฐและเอกชน ยังกู้น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เหมาะสมของการตั้งกองทุนพยุงหุ้น น่าจะเป็นช่วงที่มีการส่งสัญญาณค่อนข้างชัดว่า ปัญหาค่อนข้างสุกงอมพอสมควรแล้ว และใกล้ถึงเวลาฟื้นตัว การตั้งเพื่อดันหุ้นไม่มีประโยชน์ แต่การตั้งเพื่อแก้ไขปัญหาตลาดหุ้นเกิดความตื่นตระหนกมากเกินไปก็คิดว่าเป็นไปได้ แต่หากภาวะตลาดหุ้นทรุดเกินไป ต้องออกแรงรับให้ตลาดหุ้นกลับมามีสภาพคล่อง มีสถานะที่ดีขึ้นคิดว่า น่าจะถึงตอนนี้ตั้งได้ แต่เชื่อว่า นักลงทุนไทย มีเงินพอสมควร มีเงินรับซื้ออยู่  
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook