ทำไม BTS ราคาสูงกว่า MRT : อะไรคือเหตุผลที่เรายอมจ่ายแพง

ทำไม BTS ราคาสูงกว่า MRT : อะไรคือเหตุผลที่เรายอมจ่ายแพง

ทำไม BTS ราคาสูงกว่า MRT : อะไรคือเหตุผลที่เรายอมจ่ายแพง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องนี้เกิดขึ้นในทวิตเตอร์จากการตั้งคำถามของผู้โดยสารคนหนึ่ง โดยมีการเปรียบเทียบราคาการเดินทางจากต้นสายและปลายสายที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ตัวพาหนะอย่าง BTS กับ MRT ซึ่งมีราคาที่ไม่เท่ากัน 

โดยเทียบจาก BTS สถานีศาลาแดง – อโศกราคาอยู่ที่ 37 บาท กับ MRT สถานีสีลม - สุขุมวิทจ่ายแค่ 23 บาท ซึ่งมีราคาแตกต่างกันถึง 14 บาท หรือต่อให้เทียบกันในราคาสูงสุด จาก BTS ศาลาแดง ไป BTS หมอชิต 44 บาท กับ MRT สีลม ไป MRT สวนจตุจักร แค่ 42 บาท MRT ก็ยังถูกกว่าอยู่ดี

 

ในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง มองว่าประเด็นนี้น่าสนใจในเชิงการสังเกตและตั้งข้อสงสัยของผู้บริโภค แต่เมื่อเราลองไปศึกษาดูในเบื้องต้นพบว่าจำนวนสถานีไม่เท่ากัน และในมุมของการตั้งราคาของ BTS และ MRT ยังพบว่าความยืดหยุ่นของราคาตั๋วนั้น BTS กลับทำได้น่าสนใจกว่า MRT ที่ต้องจ่ายต่อรอบตามระยะในราคาที่กำหนดไว้ ในขณะที่ BTS มีการทำแพคเกจราคาตั๋วเฉลี่ยต่อเที่ยวได้ดี 

 

เที่ยวเดินทางสำหรับบุคคลทั่วไป

50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 26 บาท

40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท

25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 29 บาท

15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 31 บาท

 

เที่ยวเดินทางสำหรับนักเรียนนักศึกษา

50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 19 บาท

40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 20 บาท

25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 22 บาท

15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 24 บาท

 

การซื้อแพคเกจต่อรอบ ถ้าวัดกันโดยภาพรวมในระยะทางที่ยาวกว่า ก็ถือว่าคุ้มค่าพอสมควรในส่วนของ BTS

ดังนั้น การซื้อตั๋วในราคาแพคเกจหรือราคาปกติ ก็จะขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการใช้งานของผู้บริโภค แต่ถ้ามีทางเลือกให้ไปถึงปลายทางสำหรับขาจรแล้ว การเลือก MRT เพื่อประหยัดราคาน่าจะดีกว่า


แต่ที่น่าสงสัยก็คือ ทำไมราคามันถึงไม่เท่ากัน?

 

 

ทีนี้เราอยากแชร์ประสบการณ์ของมนุษย์เงินเดือนที่ใช้บริการ BTS ในมุมของการซื้อตั๋วแพคเกจที่มีความสำคัญแฝงอยู่เหมือนกัน นี่คือสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนยอมลงทุน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายอีกหลาย ๆ ด้านที่ทำให้เราเห็นราคาส่วนต่างอย่างคุ้มค่า 

 

จ่ายแพงกว่าทำไม...นั้นมีเหตุผล

 

จ่ายตั๋วครั้งเดียวไม่ต้องต่อแถวให้นาน 

ถ้าใครเคยมีประสบการณ์ต่อคิวแลกเหรียญตามด้วยต้องไปต่อคิวเพื่อหยอดเหรียญแลกบัตรซ้ำซ้อนอีก น่าจะเข้าใจความรู้สึกกันเป็นอย่างดีว่า มันนานแสนนานขนาดไหน นี่ยังไม่รวมความกดดันเวลาหยอดเหรียญไปแล้วเครื่องมันไม่นับอีกนะ โอ้โห...เกรงใจและกดดันจากคนข้างหลังมาก ๆ หยอดไปภาวนาไป ขอให้บัตรออกจากเครื่องมาเร็ว ๆ สาธุ

 

จ่ายตั๋วครั้งเดียวเพื่อลดความเสี่ยงด้านเวลา

ถึงแม้ว่าความหนาแน่นและราคาของ BTS จะไม่ได้ดั่งใจใครหลายคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเดินทางเข้าเมืองชั้นในนั้น BTS ยังเป็นตัวช่วยต่อการเดินทางสำหรับมนุษย์เงินเดือนได้ดีเสมอ อย่างน้อยก็พอคำนวณเวลาได้ว่าเราจะไปถึงสถานที่นัดหมายได้ทันเวลา และไม่ต้องไปเสี่ยงกับการนั่งวินมอเตอร์ไซค์บนถนนที่เต็มไปด้วยรถเล็ก รถใหญ่ และไฟแดงอีกหลายแยก 

 

จ่ายครั้งเดียวเป็นเลขกลม ๆ ง่ายต่อการทำบัญชี

จากประสบการณ์นั้น การซื้อตั๋วแบบเป็นแพคเกจรายเดือนจะง่ายต่อการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ประจำเดือน เพราะเราจะรู้ว่าค่าเดินทางต่อวันกำหนดอยู่วันละเท่าไหร่ ค่าเดินทางจึงกลายเป็นอัตราคงที่ที่เราสามารถบริหารจัดการได้อย่างชัดเจน ยกเว้นเพียงแต่ในเดือนนั้น คุณจะทำบัตรหล่นหายไป จนต้องใช้บัตรใหม่ 

 

จ่ายครั้งเดียวแต่สบายใจสำหรับคนท้องไส้ไม่ค่อยดี 

จริง ๆ ข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ของการซื้อตั๋วเท่าไหร่ แต่เราคิดว่ามันเป็นประโยชน์ทางอ้อมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ท้องไส้อ่อนแอ ที่ข้าศึกชอบบุกอยู่บ่อย ๆ การใช้บริการ BTS นั้นก็เป็นจุดเชื่อมโยงให้สามารถหาห้องน้ำได้ง่ายกว่าตอนอยู่บนรถแท็กซี่ รถเมล์ หรือมอเตอร์ไซค์เป็นแน่แท้

 

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะจ่ายแพงกว่าแค่ไหน สิ่งที่เห็นได้ก็คือ เราทุกคนยังต้องใช้แก่นเดียวกัน หมายถึง หลักการคิดและการบริหารเวลาที่ดี นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook