เปิดยุทธศาสตร์สมาร์ทโฟน Huawei ปี 2018 และความร่วมมือครั้งสำคัญกับ JOOX

เปิดยุทธศาสตร์สมาร์ทโฟน Huawei ปี 2018 และความร่วมมือครั้งสำคัญกับ JOOX

เปิดยุทธศาสตร์สมาร์ทโฟน Huawei ปี 2018 และความร่วมมือครั้งสำคัญกับ JOOX
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อพูดถึงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย แบรนด์ที่สามารถครองใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีในห้วงเวลานี้ หลักๆ แล้วคงมีเพียงแค่ 3 แบรนด์เท่านั้น ได้แก่ แอปเปิล (Apple), ซัมซุง (Samsung) และหัวเว่ย (Huawei)

โดยเฉพาะหัวเว่ยนั้น นับตั้งแต่การที่พวกเขาประกาศความร่วมมือร่วมกับไลก้า (Leica) ผู้ผลิตกล้องชั้นนำระดับโลกในสมาร์ทโฟน Huawei P9 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชื่อชั้นของหัวเว่ยก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ต่อด้วยความร่วมมือกับปอร์เช่ (Porsche) จึงยิ่งทำให้ชื่อของหัวเว่ย ได้รับการจับตามอง กระทั่งในปัจจุบันแบรนด์จีนอย่างหัวเว่ย ได้ประกาศยุทธศาสตร์ล่วงหน้าไว้เรียบร้อยแล้วว่า ภายในปี 2020 จะต้องขึ้นมาเป็นหมายเลขหนึ่งในธุรกิจสมาร์ทโฟนให้ได้

แต่จะทำได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

huaweixjoox_2ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา

ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Sanook Money มีโอกาสได้พูดคุยกับชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ประเทศไทย ซึ่งได้พูดคุยถึงยุทธศาสตร์สมาร์ทโฟนของหัวเว่ยในปี 2018 พร้อมกับการขยายความร่วมมือกับ JOOX ผู้ให้บริการมิวสิคสตรีมิงในประเทศไทย

ประเทศไทย โจทย์ยาก สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสมาร์ทโฟน

ชาญวิทย์ บอกกับเราว่า การแข่งขันธุรกิจสมาร์ทโฟนในไทย ถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เนื่องจากประเทศไทยมีผู้เล่นในตลาดสมาร์ทโฟนค่อนข้างเยอะ แต่ถึงกระนั้นหัวเว่ยเองก็เติบโตได้ดีในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้หัวเว่ยมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเพียง ในปี 2016 เพียง 1% ก่อนที่จะกระโดดมาเป็น 10% ในปี 2017 ทำให้หัวเว่ยเป็นหมายเลขสองในตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ชาญวิทย์ เปิดเผยว่า ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน ในประเทศไทยยังไม่นิ่ง มีโอกาสที่อันดับสอง อันดับสาม หรืออันดับสี่ สามารถสลับอันดับขึ้นลงได้ตลอดเวลา โดยมีปัจจัยมาจากการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ของแต่ละแบรนด์ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอๆ

เป้าหมายปี 2018 เน้นสร้างการรับรู้ของแบรนด์

ที่ผ่านมาผู้คนรู้จักแบรนด์หัวเว่ยเป็นอย่างดี ดังเช่นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม P Series ได้แก่ Huawei P9 Huawei P10, Huawei Mate 9, Huawei Mate 10 รุ่นเล็กอย่าง Nova ไปจนถึง GR5  ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ส่วนในปี 2018 ที่กำลังจะมาถึง หัวเว่ย เล็งเห็นถึงการสร้างความรับรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวแบรนด์หัวเว่ยในธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน ซึ่งชาญวิทย์ ขยายความว่า เวลานี้หัวเว่ยมี OpenLab ที่เป็นแพลตฟอร์มด้านไอซีทีครบวงจร ให้กับภาคธุรกิจ ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้พาร์ทเนอร์และ Third Party อย่างกูเกิล (Google) และไมโครซอฟท์ (Microsoft) เข้ามาสร้างความร่วมมือกับหัวเว่ย และก็จะเริ่มต้นการทำ CSR เพิ่มมากขึ้น

สมาร์ทโฟนที่ดีไม่พอ ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้

ทั้งนี้ ชาญวิทย์ ยังบอกด้วยว่า การที่หัวเว่ยมีสมาร์ทโฟนที่ดี ตอบโจทย์ครบทุกความต้องการของผู้บริโภคยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่ลืมเป็นไม่ได้ นั่นคือ การมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าอีกด้วย ซึ่งตรงนี้หัวเว่ยมีบริการหลังการขาย เช่น การจัดวางจุดรับซ่อมผ่านหน้าร้านแบรนด์ช็อป เช่น SYNNEX, IT City, CSC, Jaymart และ TG Fone ไปจนถึงบริการรับส่งเครื่องซ่อมถึงหน้าบ้าน (Door to Door Service)

พร้อมกันนี้หัวเว่ย มีแผนที่จะขยายช็อป Huawei Experience Store เพื่อมอบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้สมาร์ทโฟน ได้ลองมาสัมผัสนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยอีกด้วย

เติมเต็มกลุ่มลูกค้าด้วย Affordable Flagship

แน่นอนว่า หัวเว่ยไม่สามารถที่จะทำตลาดโดยเน้นความสำคัญเฉพาะกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์เท่านั้น แต่ในกลุ่มของลูกค้าที่มีงบประมาณไม่มากนัก ก็เป็นกลุ่มลูกค้าที่หัวเว่ยมองว่า เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญ ที่จำเป็นต้องเติมเต็มทุกความต้องการของผู้บริโภค

ในช่วงที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนในกลุ่ม Affordable Flagship กล่าวคือ เป็นสมาร์ทโฟนที่อัดแน่นไปด้วยนวัตกรรม มีความเป็นไฮเอนด์แฝงอยู่ในเครื่อง เพื่อให้กลุ่มลูกค้าสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนคุณภาพดี แต่มีราคาไม่แพง ทุกคนสามารถเอื้อมถึงได้

ความร่วมมือครั้งล่าสุดระหว่าง Huawei และ JOOX

huaweixjoox_3(ซ้าย) ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา (ขวา) กฤตธี มโนลีหกุล

นอกเหนือจากการสร้างการรับรู้ของแบรนด์หัวเว่ยในภาพรวมแล้ว หลังจากนี้หัวเว่ย จะมีความร่วมมือกับทาง JOOX ผู้ให้บริการมิวสิคสตรีมมิง

ชาญวิทย์ มองว่าการร่วมงานระหว่างหัวเว่ยกับ JOOX ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยมองว่า JOOX เป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตได้เร็วนับตั้งแต่การเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016

พร้อมกันนี้การเข้ามาของ JOOX ยังเป็นการ ‘Disrupt’ การเสพสื่อความบันเทิง โดยเฉพาะในเรื่องของเสียงเพลงแก่ผู้ฟังเพลงชาวไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีๆ ตามรถไฟฟ้า หรือรถเมล์ คนที่ฟังเพลงส่วนใหญ่เลือกที่จะฟังเพลงจาก JOOX แทนที่การฟังเพลงรูปแบบเดิมๆ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ ไปจนถึงการฟังเพลงจาก YouTube

ทั้งหมดนี้ด้วยสิ่งที่ JOOX ได้ Disrupt การฟังเพลงของคนไทย ซึ่งตรงกับสิ่งที่หัวเว่ยมุ่งนำเสนอมาโดยตลอด นั่นคือ การนำประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ดังนั้นแล้วการร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและ JOOX จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook