ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน วิธีที่ขาดไม่ได้ ก่อนขอคืนภาษีครั้งต่อไป

ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน วิธีที่ขาดไม่ได้ ก่อนขอคืนภาษีครั้งต่อไป

ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน วิธีที่ขาดไม่ได้ ก่อนขอคืนภาษีครั้งต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เมื่อเอ่ยถึงเรื่องภาษี เชื่อแน่ว่าต้องมีหลายคนมองบน หรืออยากจะหันหน้าหนีภาระก้อนนี้แน่ๆ เพราะกว่าจะทำงานหาเงินมาได้ก็เหนื่อยแทบแย่แล้ว ยังจะต้องมาหักเงินได้ของเราไปอีก อย่างนี้เป็นใครก็คงไม่อยากจ่ายใช่ไหมล่ะ จึงไม่ต้องแปลกใจถ้าบางคนจะมองหาวิธีลดหย่อนภาษี หรือเลือกซื้อประกันชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนลดหย่อนภาษี ทำให้ได้รับเงินคืนจากการยื่นภาษีและได้รับความคุ้มครองไปในตัวพร้อมๆ กัน สำหรับใครที่กำลังหาวิธีลดหย่อนภาษีอยู่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝาก

ก่อนลดหย่อนภาษี มาดูวิธีคำนวณภาษีกันก่อน
     สิ่งแรกที่เราต้องรู้ คือวิธีการคำนวณภาษี ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้อย่างไร แล้วเงินภาษีที่เราต้องจ่ายเป็นเงินกี่บาท โดยมีสูตรคำนวณง่ายๆ คือ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = (รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี) x อัตราภาษี (%)

     จากสูตรคำนวณนี้ ควรทราบว่า “ค่าใช้จ่าย” นั้น โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ประกาศใช้ในปี 2560 ระบุว่า สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท เราก็นำจำนวนรายได้ต่อปีมาหักลบค่าใช้จ่ายจำนวนนี้และค่าลดหย่อนภาษี เหลือเงินได้สุทธิเท่าไหร่ ก็เทียบอัตราภาษีแล้วคิดคำนวณออกมาได้เลย

อยากลดหย่อนภาษี อ่านตรงนี้เลย
     เมื่อเห็นยอดเงินภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี หลายคนคงคิดว่า คงถึงเวลาเสียทีที่ต้องมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีแบบจริงจัง ซึ่งคนส่วนมากก็จะกำเงินไปธนาคารแล้วซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี แต่เดี๋ยวก่อน การลดหย่อนภาษียังมีวิธีอื่นให้ตัดสินใจ เพราะทุกวันนี้เราสามารถซื้อประกันชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีได้ ภายใต้เงื่อนไขคือ ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

     อย่างไรก็ดี มีข้อควรคำนึงเล็กน้อยก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษี นั่นคือ ต้องถามตัวเองก่อนว่า เราซื้อประกันนี้ด้วยวัตถุประสงค์ใดนอกจากต้องการนำไปลดหย่อนภาษี เพราะข้อดีของการทำประกันเหล่านี้ควบคู่ไปด้วยก็คือ ได้รับความอุ่นใจจากการคุ้มครองสุขภาพหรืออุบัติเหตุขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าต้องการประโยชน์จากประกันในส่วนนี้ด้วย ก็ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

ลดหย่อนจนพอใจ ก็ได้เวลาขอคืนภาษี
     ในที่สุดก็ถึงเวลายื่นภาษีประจำปี ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยากเลย เพราะเราสามารถทำเรื่องผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็ว โดยเริ่มจากเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือค้นหาเว็บไซต์ผ่าน Google ได้เลย แล้วจึงเข้ามาลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วอย่าลืมตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะคนที่ขอคืนภาษีเป็นเช็ค เพราะที่อยู่นี้มีผลต่อการนำส่งเช็คถึงมือคุณ จากนั้นก็เลือกสถานะในการยื่นภาษี ตรงนี้สำหรับคนที่มีคู่สมรสสามารถเลือกได้ว่าจะยื่นภาษีแยกกัน หรือยื่นร่วมกันอย่างไรบ้าง แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกประเภทเงินได้และค่าลดหย่อน

     สำหรับคนทำงานอย่างเราๆ ส่วนมากประเภทของรายได้คือข้อ มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัสฯ หรือหากใครมีรายได้ทางอื่น ก็เลือกเพิ่มเติมได้ จากนั้นให้เลือกค่าลดหย่อนภาษีที่เราวางแผนเอาไว้ว่ามีอะไรบ้าง อย่างเช่นประกันชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีที่เราซื้อไว้ เสร็จแล้วก็กรอกข้อมูลรายได้ของเราลงไป ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า 50 ทวิ แล้วก็บันทึกรายการค่าลดหย่อนลงในระบบ ระบบก็จะคำนวณภาษีให้เราเสร็จสรรพ หน้าที่เราก็แค่ตรวจสอบข้อมูล เผื่อว่ามีรายการไหนที่หลงลืมไป ถ้าคิดว่าครบถ้วนแล้วก็ยืนยันข้อมูล รอรับเงินคืนภาษีได้เลย

     การยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะทำอย่างไรให้ยื่นแล้วได้เงินคืนภาษีกลับมาตามที่คุณต้องการ เป็นเรื่องที่เราต้องวางแผนให้ดี อะไรลดหย่อนได้ควรเลือกมาให้ครบ อย่างประกันชีวิตที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีถือเป็นตัวเลือกที่ขาดไม่ได้ ใครยังไม่มีไอเดียว่าจะซื้อประกันชีวิตตัวไหน ก็อาจเลือกจากความคุ้มครองที่ต้องการก็ได้ เช่น

     - ถ้าอยากสร้างมรดกไว้ให้คนรุ่นหลัง สามารถเลือกประกันสร้างมรดก iProtect ที่พร้อมจ่ายมรดกให้คนที่คุณรักเมื่อคุณจากไป เพียงจ่ายเบี้ยประกันสั้นๆ แค่ 5 ปี หรือ 10 ปี หรือค่อยๆ จ่ายจนถึงอายุ 85 ปี โดยเบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท**

     - หากอยากเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณให้ตัวเอง ก็เลือกประกันบำนาญอย่าง iRetire ที่สามารถเลือกระยะเวลาจ่ายเบี้ยได้ ว่าจะจ่าย 5 ปี หรือชำระเบี้ยเพียงครั้งเดียว (single premium) แถมตอบโจทย์เรื่องการลดหย่อนภาษีได้ด้วย เพราะเบี้ยประกันสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท**

     - และถ้าคุณต้องการวางแผนทางการเงินในระยะสั้นๆ ขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์ iGen ด้วยเบี้ยประกันคงที่ จ่ายเพียง 6 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองถึง 10 ปี และเบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท** ทั้งหมดนี้สามารถปรึกษาตัวแทนของกรุงไทย-แอกซ่า หรือจากเว็บไซต์ https://www.krungthai-axa.co.th/

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง
**เงื่อนไขเป็นไปตามกรมสรรพากรกำหนด

     ท้ายสุด นอกจากสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีที่จะได้รับจากประกันของ กรุงไทย-แอกซ่า แล้ว สิ่งที่พิเศษกว่านั้นคือแบบประกันของ กรุงไทย-แอกซ่า ยังออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าคุณจะใช้ชีวิตแบบไหน มีคู่ชีวิตอย่างไร กรุงไทย-แอกซ่าก็พร้อมให้ความคุ้มครอง ด้วยประกันที่ตอบโจทย์คนกลุ่ม LGBT ให้สามารถเลือกทำประกันและรับความคุ้มครองได้ไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญ สามารถระบุชื่อคู่ชีวิตให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง

     เพราะเรื่องเงินทองต้องวางแผน เราจึงต้องหาตัวช่วยที่ดีสุดให้กับตัวเอง กรุงไทย-แอกซ่า พร้อมเป็นหนึ่งในตัวช่วยเพื่อให้คุณก้าวสู่ความมั่นคงในอนาคต และสร้างความอุ่นใจให้คุณและคนที่คุณรัก



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook