เสกคาถา “งานตรึม เงินเต็ม เจ็บไม่จน” อย่างไร ให้ชีวิตฟรีแลนซ์มีแต่รุ่ง ไม่มีร่วง

เสกคาถา “งานตรึม เงินเต็ม เจ็บไม่จน” อย่างไร ให้ชีวิตฟรีแลนซ์มีแต่รุ่ง ไม่มีร่วง

เสกคาถา “งานตรึม เงินเต็ม เจ็บไม่จน” อย่างไร ให้ชีวิตฟรีแลนซ์มีแต่รุ่ง ไม่มีร่วง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ดูเหมือนว่าหนึ่งในอาชีพยอดนิยมของคนยุคนี้ คือ การเป็นฟรีแลนซ์ หรือพนักงานอิสระ ไม่ว่าจะเป็นแขนงอาชีพไหนก็ตาม เช่น นักเขียน ออกแบบกราฟิกดีไซน์ ตัดต่อวิดีโอ แปลภาษา วิเคราะห์แผนธุรกิจ ฯลฯ การทำงานด้วยวิถีมือปืนรับจ้าง จบงานเป็นจ๊อบๆ ไม่ต้องตอกบัตรเข้าทำงานตามเวลาออฟฟิศ และได้หมั่นลับฝีมือตัวเองอยู่เสมอ จากการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ของบรรดาฟรีแลนซ์ที่มีมากมายในตลาด จึงเป็นอิสระและความท้าทายที่เย้ายวนใจให้ใครต่อใครหันหลังให้งานประจำ แล้วทำงานอิสระกันมากขึ้น

     แต่ในความอิสระย่อมมีราคาที่ต้องจ่าย การจะเป็นฟรีแลนซ์ที่งานชุกได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับฝีมือการทำงานที่เฉียบขาด ความขยันและวินัยที่ต้องเป๊ะมาก รวมถึงการขวนขวายหาคอนเน็กชั่นเพิ่มเติม พร้อมกับรักษาไว้ให้มั่น รายได้จะได้ไม่หลุดลอย ปัจจัยเหล่านี้เองทำให้ผู้ที่ตั้งใจจะเดินบนเส้นทางสายฟรีแลนซ์ จำเป็นต้องมีคาถาประจำใจที่ว่า “งานตรึม เงินเต็ม เจ็บไม่จน” ที่ไม่ได้มีไว้เพียงท่องจำ แต่ต้องนำไปปฏิบัติอย่างชาญฉลาด จึงจะสามารถเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์ของชีวิตได้อย่างมั่นคง

     เพื่อให้มนุษย์ฟรีแลนซ์มี “งานตรึม เงินเต็ม เจ็บไม่จน” K-Expert บริการที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย จึงได้จัดงาน “ยอดมนุษย์ฟรีแลนซ์ เหนื่อยนัก ก็พักได้” และได้เชิญสุดยอดมนุษย์ฟรีแลนซ์ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับชื่อดัง และ ปอมชาน-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง นักวาดภาพประกอบระดับโลก มาร่วมให้คำแนะนำแก่ฟรีแลนซ์ทุกคน

เป็นฟรีแลนซ์แบบไหนถึงจะ “งานตรึม”
     เราขอตัดเรื่องความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพออกไป เพราะเชื่อว่าสำหรับคนที่เลือกจะเป็นฟรีแลนซ์แล้ว ย่อมมั่นใจในฝีมือของตัวเอง ดังนั้น การเพิ่มช่องทางในการหางานให้ตัวเองต่างหาก ที่น่าสนใจยิ่งกว่า

     เต๋อ-นวพล ให้หลักคิดในการทำงานว่า “เน้นทำงานน้อยชิ้นแต่มีคุณภาพ” เพื่อให้มีเวลาคิดและแก้ไขงานได้อย่างเต็มที่ และเมื่องานเรามีคุณภาพ จะทำให้เรามีงานเข้ามามากขึ้นกว่าเดิม เพราะลูกค้าจะเชื่อใจและเกิดการบอกต่อ

      ด้านปอมชานก็มีเทคนิคให้ได้งานเช่นกัน คือต้องรู้จักวางแผนหาลูกค้าอย่างเป็นระบบ ต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าประเภทไหนที่ต้องการงานของเรา และเลือกที่จะไปติดต่อคนเหล่านั้น เพื่อเจาะให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงใช้หลัก 10% นั่นคือ เมื่อเราส่งงานไปหาลูกค้า จะมี 10% ที่ตอบรับกลับมา และจากจำนวนที่ตอบกลับมา จะมี 10% ที่จะเป็นลูกค้าของเรา ดังนั้นถ้าเราอยากได้ลูกค้าจำนวนเท่าไหร่ ก็ลองคำนวณเพื่อวางแผนหาลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ

เตรียมรับทรัพย์ให้กระเป๋าตุง เพราะเราคือฟรีแลนซ์ “เงินเต็ม”
     คำเตือนพื้นฐานที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง “อย่าเอาแต่หาเงินอย่างเดียว หัดเก็บเงินซะบ้าง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ดังนั้น เมื่อจบงาน ได้เงิน ฟรีแลนซ์ที่ดีต้องหมั่นออมเงินไว้ให้เป็นนิสัย ผู้เชี่ยวชาญจาก K-Expert แนะนำว่าควร “กันเงินสำรอง” ประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน งานไม่มี เงินไม่เข้า หรือกำลังอยู่ในช่วงรอรับเงิน จะได้นำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายได้ก่อน โดยเงินเก็บสำรองนี้สามารถอยู่ในรูปแบบของบัญชีเงินฝาก หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น หรือกองทุนรวมตลาดเงินก็ล้วนได้ประโยชน์ไม่แพ้กัน

     อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาเก็บออมในบัญชีเงินฝากเพียงอย่างเดียวจนเสียโอกาสลงทุน เพราะความเสี่ยงในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด แต่การเสี่ยงกับเงินที่เติบโตไม่ทันราคาสินค้าที่แพงขึ้นไปตามยุคสมัยต่างหาก ที่น่ากลัวยิ่งกว่า

     การลงทุนสำหรับฟรีแลนซ์ ควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นปันผล หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการซื้อคอนโดฯ เพื่อปล่อยเช่า เพื่อชดเชยรายได้ที่ไม่แน่นอนของฟรีแลนซ์ ทั้งนี้ ก่อนลงทุนควรศึกษาข้อมูลสินทรัพย์ลงทุนให้ดี ทั้งรูปแบบการจ่ายผลตอบแทน และระดับความเสี่ยง เพื่อเลือกประเภทการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งนี่จะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งสำหรับฟรีแลนซ์ เรียกว่า “Passive Income” เป็นการให้เงินทำงาน เพิ่มเติมจาก “Active Income” ที่เราได้จากการใช้ทักษะฝีมือทำงานอยู่แล้ว

     อีกหนึ่งเรื่องที่ลืมไม่ได้คือ มองการณ์ไกลไปถึง “เก็บเงินเกษียณ” เพราะฟรีแลนซ์ไม่มีอายุเกษียณแบบมนุษย์เงินเดือน แต่ต้องทำงานตามเรี่ยวแรงและกำลังสมองที่มี จนอาจลืมไปว่ามนุษย์เรามีวันที่แรงหมด จนสามารถทำงานได้น้อยลง ดังนั้น ถ้าอยากพักผ่อนสบายๆ ในบั้นปลายของชีวิต ต้องคิดเก็บเงินตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้เป็นฟรีแลนซ์เกษียณอายุที่อยู่กินอย่างสมบูรณ์แบบในวัยชรา

“เจ็บไม่จน” คือคนแบบเรา
     ปฏิเสธไม่ได้ว่า ฟรีแลนซ์เป็นชนใช้แรงงานประเภทหนึ่ง ดังนั้น เมื่อมีแรง ก็ย่อมมีรายได้จากการทำงาน สุขภาพจึงเป็นหัวใจหลักที่ชาวฟรีแลนซ์ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ในเมื่อคุณสามารถบริหารจัดการเวลาส่วนตัวและเวลาทำงานได้เองแล้ว ต้องใส่ใจจัดตารางออกกำลังกายลงไปในกิจวัตรประจำวันด้วย

     แต่การออกกำลังกายก็ไม่สามารถป้องกันการเจ็บป่วยได้ทุกโรค แล้วยิ่งฟรีแลนซ์ไม่มีบริษัทคอยออกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยให้ จึงต้องควักเงินตัวเองจ่ายค่ารักษาไปเต็มๆ

      แนวทางในการช่วยบรรเทาความสาหัสจากค่ารักษาพยาบาลก็คือ การทำประกัน โดยเฉพาะ “ประกันสุขภาพ” ที่เปรียบเหมือนการจ่ายเงินก้อนเล็กๆ เตรียมไว้เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึง “ประกันชดเชยรายได้” เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในยามที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จะได้มีเงินชดเชยค่าที่คุณรับงานไม่ได้ในช่วงนั้น โดยประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล

     ถ้าปฏิบัติตามคาถา 3 ข้อนี้แล้วยังรู้สึกไม่มั่นใจ แนะนำให้ชาวฟรีแลนซ์ผูกมิตรกับ K-Expert บริการที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องการเงินโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือถ้าอยากพูดคุยแบบเจอหน้าเจอตา แวะไปที่ K-Expert Center ศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน บนชั้น 2 อาคารจามจุรีสแควร์ ได้ทุกเมื่อ เพื่อรับคำปรึกษาเจาะลึกเป็นรายบุคคล โดยทีม K-Expert ผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานระดับ CFP (Certified Financial Planner) ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเข้าใจความต้องการของลูกค้า ที่จะเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมทุกวันอังคารถึงวันอาทิตย์

     สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ K-Expert คลิก https://goo.gl/UNRQDv #KExpert #Freelance #ยอดมนุษย์ฟรีแลนซ์เหนื่อยนักก็พักได้ #งานตรึมเงินเต็มเจ็บไม่จน



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook