สปส.เผยปี 61 ขยายความคุ้มครองเพิ่ม 6 สาขาอาชีพ 1.3 ล้านคน

สปส.เผยปี 61 ขยายความคุ้มครองเพิ่ม 6 สาขาอาชีพ 1.3 ล้านคน

สปส.เผยปี 61 ขยายความคุ้มครองเพิ่ม 6 สาขาอาชีพ 1.3 ล้านคน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักงานประกันสังคม เผย แผนการดำเนินงาน ปี 61 สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เตรียมขยายความคุ้มครองลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ ลูกจ้างส่วนราชการ และแรงงานต่างด้าวผ่อนผัน ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านคน สามารถครอบคลุมผู้ประกันตนได้ถึง 15 ล้านคน


นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผย กับสื่อมวลชน ว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างต่อเนื่อง สำนักงานประกันสังคมในฐานะหน่วยงาน ที่มีภารกิจในการสร้างหลักประกันการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้ประกันตน มาโดยตลอด ได้ขับเคลื่อนและสานต่อนโยบายของรัฐบาล โดยได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์สำนักงานประกันสังคม เป็นระยะเวลา 5 ปี ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการสู่สากลสร้างการรับรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาสิทธิประโยชน์ทดแทน ระบบเงินสมทบ ระบบการลงทุน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 รื้อปรับ ยกระดับระบบ IT การบริหารสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการบริหารจัดการ “ทุนมนุษย์”
ยุทธศาสตร์ ที่ 5 พัฒนาองค์กรสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง (HPO) และ

ในปี 2561 ที่จะถึงนี้ สำนักงานประกันสังคมได้มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนี้

1. แรงงานทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิและโอกาส คือ การขยายความคุ้มครองลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ ขยายความคุ้มครองลูกจ้างของส่วนราชการตามกฎหมายเงินทดแทน ขยายความคุ้มครองแก่แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี

คืนสิทธิให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร บริการทางการแพทย์ให้เท่าเทียมกันทุกกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ใกล้เคียงผู้ประกันตนมาตรา 39

ซึ่งในการขยายความคุ้มครองทำให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านคน โดยการเพิ่มสิทธิประโยชน์สามารถครอบคลุมผู้ประกันตนได้ถึง 15 ล้านคน

2. ยุติการจ้างงานในรูปแบบที่ไม่ยอมรับ บูรณาการการทำงานเพื่อจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีการตรวจสอบสถานประกอบการเพื่อป้องกันการแสดงประโยชน์จากการใช้แรงงานและกองทุนซึ่งผลที่ได้รับ คือ ปลอดการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานลดลง นำไปสู่การหลุดพ้น Tier 2 watch List

3. ยุติความไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่าย อำนวยความสะดวก และสร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้เข้าถึงบริการ โดยได้มีการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 ด้วยตนเองผ่าน Website Smartphone (มือถือ), เปลี่ยนสถานพยาบาลผ่าน Website Smartphone (มือถือ), ชำระเงินสมทบผ่านระบบดิจิทัล, เบิกสิทธิประโยชน์ผ่านระบบ E-Claim อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมยังมี การสร้างการรับรู้ โดยการให้บริการข้อมูลข่าวสาร อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง (ผ่านระบบ Chat Bot),การให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ Social Media

ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยในเรื่องของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการองค์กร (ERP), บูรณาการคลังข้อมูล Big Data องค์กรและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกกระทรวง ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานประกันสังคมได้ 52 ล้านบาท/ปี ภาคประชาชน 638 ล้านบาท/ปี ผู้ประกันตนร้อยละ 80 รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เพิ่มระดับความพึงพอใจด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความสะดวก แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน

“ในปี 2561 สำนักงานประกันสังคมยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์หลักประกันชีวิตให้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน โดย “ให้ผู้ประกันตนได้มีหลักประกันชีวิตที่มั่นคง ตลอดจนได้รับบริการที่ทันสมัย เชื่อถือได้ ทั่วถึงและเป็นธรรม” พร้อมทั้งให้การดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง ผู้ประกันตน ให้ได้รับบริการที่ดี และประโยชน์สูงสุดจากประกันสังคม รวมถึงกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนเป็นกลไกประชารัฐที่ช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกันประกันสังคมได้มีการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศ ภายใต้หลักการดำเนินงาน ที่มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมที่สำคัญเพื่อก้าวไปสู่การยอมรับในระดับสากล”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook