สรรพากรแจง นายจ้างต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์เท่านั้น

สรรพากรแจง นายจ้างต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์เท่านั้น

สรรพากรแจง นายจ้างต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์เท่านั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรรพากร แจงข่าว การส่งข้อมูลการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง เผยเป็นไปตามกฎหมาย กรณีลูกจ้างมีเงินได้ ประมาณ 310,000 บาทต่อปี นายจ้างต้องทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และ ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 ภายใน 7 วันของเดือนถัดไป

ตามที่มีประเด็นข่าวเกี่ยวกับค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างต้องส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรหรือไม่ นั้น

กรมสรรพากรขอชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า “สำหรับค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างถือเป็นเงินได้ จากหน้าที่งานในประเทศไทย ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยกฎหมายกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ลูกจ้าง (เงินได้ประมาณ 310,000 บาท ต่อปี ถึงเกณฑ์ที่จะต้องถูกหักภาษี) และนายจ้างมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้นั้นต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่กรณีที่ได้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วไม่มีภาษีที่ต้องหักและนำส่ง นายจ้างก็ยังคงมีหน้าที่จะต้องยื่นรายการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างทั้งที่มีภาษีที่ต้องหักและไม่มีภาษีที่ต้องหักนั้น ตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก. ต่อกรมสรรพากร ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป”


สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook