“สมการนักออม … ลดภาษีก็เพิ่ม เงินออม ได้”

“สมการนักออม … ลดภาษีก็เพิ่ม เงินออม ได้”

“สมการนักออม … ลดภาษีก็เพิ่ม เงินออม ได้”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชีวิตคนเรานอกจากความตายแล้วอีกอย่างที่หนีไม่พ้นก็คือ “ภาษี” เวลาซื้อของร้านค้าจะหักเงินเราไว้บางส่วนเอาไปจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เวลารับดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินปันผลก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสูงสุดถึง 15% เวลารับเงินเดือนก็จะถูกหักภาษีเงินได้สูงสุดถึง 35% และยังมีภาษีอื่นๆ อีกสารพัด เรียกได้ว่าถ้าเอาภาษีที่จ่ายในแต่ละปีมากองรวมกันอาจตกใจได้เลยครับ

ในฐานะที่ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนมีเรื่องปวดใจมาเล่าสู่กันฟัง เวลาเปิดสลิปเงินเดือนทุกครั้งจะพบว่ามีมือที่มองไม่เห็นมาเอาเงินเราไปก่อนที่เราจะได้ตังค์ซะอีก “เงินเดือนที่ได้รับจริงน้อยกว่าฐานเงินเดือน”

อย่างเช่น เงินเดือน 50,000 บาทถูกหักภาษี 5,000 บาท

เงินเดือนที่ได้รับจริง 45,000 บาท

น่าปวดใจมั้ยครับ?

เราตั้งใจทำงานมาทั้งเดือนแต่เวลาเงินเดือนออกเรากลับไม่ได้รับเงินคนแรก ซึ่งตรงข้ามกับเจ้าของกิจการรับเงินเข้ามาก่อนแล้วเสียภาษีทีหลัง แล้วยังเอาค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนมนุษย์เงินเดือนค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ถูกกำหนดไว้ 50% ของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 8,333 บาท ผมมั่นใจว่าหลายคนใช้จ่ายต่อเดือนเกินตัวเลขนี้มากนัก

แนวคิดที่ผมยึดถือ คือ “หาทางเสียภาษีให้น้อยสุด” ดังนี้

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดได้จากการจำกัดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

2.ภาษี ณ ที่จ่าย ลดได้จากย้ายเงินฝากประจำไปกองทุนตราสารหนี้ หุ้นและกองทุนหุ้น เน้นการเติบโตราคามากกว่าเงินปันผล

3.ภาษีเงินได้ ลดได้จากการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้ครบๆ บริษัทฯที่เปิดโอกาสให้แจ้งใช้สิทธิ์ลดหย่อนล่วงหน้าได้ก็ควรรีบทำ เพราะภาษีเงินได้ที่ถูกบริษัทฯหักเพื่อนำส่งสรรพากรในแต่ละเดือนจะลดลงและไม่ต้องรอทำเรื่องขอคืนภาษีด้วยครับ

อาจมีบางคนแย้งว่าแล้วจะเอาเงินมาพัฒนาประเทศจากไหน ผมขออนุญาตแนะนำว่าให้เราตั้งใจทำงานมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านี้ ก็เสียภาษีเพิ่มแล้วครับ

ดังนั้นสิ่งที่ควรสนใจไม่ใช่จำนวนภาษี แต่เป็นอัตราภาษีที่เสียจริงครับ

อีกเหตุผลทุกวันนี้มีคนเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีเงินได้กันมาก รัฐบาลควรแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังก็จะมีภาษีจำนวนมากกลับมาพัฒนาบ้านเมือง และช่วยทำให้เสียภาษีอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนรายได้น้อยต้องเสียเท่ากับคนรายได้มาก แต่เป็นการบังคับใช้กติกาเดียวกันให้ผู้มีเงินได้ทุกคนเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่เหมาะสมตามรายได้ครับ

 mb1

maibat

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook