ผู้มีรายได้น้อยเฮ ! ครม. อนุมัติ "บ้านเช่าคนจน"

ผู้มีรายได้น้อยเฮ ! ครม. อนุมัติ "บ้านเช่าคนจน"

ผู้มีรายได้น้อยเฮ ! ครม. อนุมัติ "บ้านเช่าคนจน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครม.อนุมัติบ้านเช่าผู้มีรายได้น้อย 14 โครงการ ใช้งบ 2,057ล้าน ตั้งในเคหะ เมืองใหม่ ที่ดินราชพัสดุ ค่าเช่าสูงสุด 2,400 รองรับชาวบ้าน 15,000 คน แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย เน้นรับจ้าง พ่อค้า พนักงาน และคนการศึกษาต่ำปริญญาตรี เลขาฯ นายกฯ แนะใช้คุณสมบัติตามฐานลงทะเบียนคนจน


พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติจัดทำโครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปี 2559 ระยะที่ 1 ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี พ.ศ.2559 -2568 และแผนการลงทุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติปี 2558 - 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ ที่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยประเภทเช่าที่ได้มาตรฐานในตลาดได้ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายคือ ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยที่มีครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 3 - 4 คน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้รับจ้างทั่วไป พนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า และผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

โครงการนี้จะดำเนินการทั้งหมด 14 โครงการ รวม 4,388 หน่วย เป็นโครงการในพื้นที่กทม. และปริมณฑล 1,029 หน่วย และโครงการภูมิภาค จำนวน 3,359 หน่วย รองรับประชาชนได้ประมาณ 15,000 คน ลงทุนรวม 2,057 ล้านบาท โดยจะเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเต็มจำนวน พื้นที่ดำเนินการตั้งอยู่ในโครงการเคหะชุมชน หรือโครงการเมืองใหม่ของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 11 โครงการ และโครงการบนที่ดินราชพัสดุในเขตเมืองอีก 3 โครงการ คิดอัตราค่าเช่าประมาณ 1,400 - 2,400 บาทต่อเดือน

สำหรับรูปแบบอาคารจะสูง 3 - 5 ชั้น 1 ห้องนอนขนาด 28 ตารางเมตร และจะมีการจัดสรรห้องพักร้อยละ 10 ของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุหรือผู้พิการด้วย ซึ่งแผนนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 จำนวน 2,271 หน่วย และในปี 2562 อีก 1,617 หน่วย

ทั้งนี้ทางเลขาธิการนายกฯ เสนอว่า สำหรับคุณสมบัติผู้เช่าให้การเคหะใช้ฐานผู้มีรายได้น้อยตามการลงทะเบียนของกระทรวงการคลังเข้าไปร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งนายกฯ ระบุว่า อยากให้การดำเนินการเป็นไปในรูปแบบประชารัฐ และให้พิจารณาอาคารอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้งานมาปรับปรุงให้เป็นที่อยู่ของประชาชนต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook