เปิดเอกสารลับ! ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ

เปิดเอกสารลับ! ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ

เปิดเอกสารลับ! ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดโมเดลบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ลดอำนาจปตท. ให้สิทธิบริหารจัดการปิโตรเลียมแบบเบ็ดเสร็จแต่เพียงรายเดียว

โมเดลการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ที่กลายมาเป็นประเด็นร้อน ตอนนี้ เป็นหนึ่งในผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่มีพลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธาน

ในรายงานผลการศึกษา บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ผู้บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม ที่คณะกรรมาธิการ เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา ระบุว่า ในการบริหารจัดการปิโตรเลียมรัฐต้องมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ เป็นบริษัทที่ประเทศเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้น เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพราะบริษัทน้ำมันแห่งชาติมีอยู่เกือบทุกประเทศและมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบริษัทน้ำมันข้ามชาติใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 77% ของน้ำมันสำรองทั่วโลกอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทน้ำมันแห่งชาติไม่กี่แห่ง

จากการศึกษาพบว่าบริษัทน้ำมันแห่งชาติของหลายประเทศถือหุ้นโดยรัฐทั้งหมด เพื่อเป็นหลักประกันที่ประชาชนให้ความไว้วางใจว่าบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ดำเนินการเพื่อประเทศชาติ ประชาชนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้จากการรับฟังความเห็นประชาชนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการจะนำบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มาทำหน้าที่บรรษัทน้ำมันแห่งชาติอาจไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนบางส่วน เนื่องจากปตท.ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และมีการบริหารงานเป็นเอกชน

คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการใช้พระราชบัญญัติปิโตเลียม จึงเสนอให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ขึ้นมาเป็นตัวแทนของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย เป็นผู้ถือสิทธิในทรัพยากรปิโตเลียมแทนรัฐ ในการสำรวจและแสวงหาปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียม และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาการจ้าง รวมถึงสัปทานที่หมดอายุ

คณะอนุกรรมาธิการได้เสนอโครงสร้างบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย ด้านพลังงาน ด้านความมั่นคง เป็นต้น) และเป็นที่ยอมรับกันได้ในทุกภาคส่วน เพื่อทำหน้าที่ในการเสนอแนะต่อรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี การออกกฎเกณฑ์ในการบังคับใช้กับการประกอบกิจการสำรวจและแสวงหาปิโตรเลียม และเป็นผู้เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาว่าแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิจแปลงใดจะใช้ระบบสำรวจและแสวงหารูปแบบใด โดยกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการปิโตรเลียมแห่งชาติขึ้น เพื่อรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ

นอกจากนั้นยังเสนอให้กำหนดระบบการตรวจสอบธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ในการดำเนินการของบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ
สำหรับบทบาทของของบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ จะมีหน้าที่ 5 ด้าน หลักๆ คือ บริหารจัดเก็บรายได้ บริหารสิทธิปิโตรเลียมแห่งรัฐ บริหารสัญญา บริหารจัดการข้อมูลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และบริหารผลกระทบชุมชน

ในส่วนของการบริหารปิโตรเลียมแทนรัฐนั้นจะมีหน้าที่หลักๆ คือการบริหารสัญญาใหม่ และบริหารการผลิตในแปลงที่หมดสัญญา ซึ่งสามารถดำเนินการเองหรือว่าจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการก็ได้ หากแปลงไหนหมดสัญญาถ้าไม่มีปิโตรเลียมก็จะเข้าไปรื้อถอน แต่ถ้ายังมีปิโตรเลียมอยู่ก็จะเข้าไปรับมอบอุปกรณ์และดำเนินการผลิต

ส่วนการบริหารจัดการข้อมูลการสำรวจปิโตรเลียมและผลิตปิโตรเลียม จะทำหน้าที่วิเคราะห์ศักภาพแปลงปิโตรเลียม และบริหารการสำรวจเบื้องต้น

 p1

p2

p3

p4

p5

p6

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook