ส่อง 5 มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ขจัดปัญหาให้เป็นศูนย์

ส่อง 5 มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ขจัดปัญหาให้เป็นศูนย์

ส่อง 5 มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ขจัดปัญหาให้เป็นศูนย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ส่อง 5 มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ขจัดปัญหาให้เป็นศูนย์ ตามนโยบายรัฐบาล หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีเปิดงาน “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ อย่างบูรณาการและยั่งยืน”

ปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาที่ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไข โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบัน ภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อว่านี้ได้มีการประกาศนโยบาย ต้องการขจัดหนี้นอกระบบให้หมดสินไปจากระบบ โดยตอนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานเปิดงาน “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ อย่างบูรณาการและยั่งยืน” เมื่อวานนี้(1 มี.ค.60) คือ


“การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบถือเป็นวาระแห่งชาติ วันนี้จึงต้องแก้ปัญหาทั้งระบบในระยะแรกเพื่อให้เกิดรูปธรรม และต้องยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดความเหลือมล้ำในสังคม รัฐบาลนี้มีมาตรการออกมาเป็นระยะ คือการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยการแก้ไขหนี้นอกระบบก่อน เพราะถือเป็นฐานสำคัญในวงจรเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ทั้งลูกหนี้ และเจ้าหนี้ต้องร่วมมือกัน และต้องหาวิธีให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงกองทุนสินเชื่อในระบบ เพื่อจะได้สามารถยกระดับชีวิตพื้นฐานของตัวเองได้ รัฐบาลจะเร่งจัดการหนี้นอกระบบให้เป็นศูนย์”

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2559 ได้มีมติเห็นชอบหลักการ เรื่อง การบริหารงาน เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ และยั่งยืนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ประกอบด้วย 5 มิติ คือ

1 จัดการเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
แนวทาง คือ
-เร่งประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหนี้นอกระบบมาร่วมไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ และเข้ามาขออนุญาตดำเนินธุรกิจสินเชื่อในระบบให้ถูกต้อง
-เร่งรัดการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่ง กฎหมายฉบับนี้สาระสำคัญหนึ่งก็คือ ห้ามมีการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยเกินกำหนด มิฉะนั้นจะต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

2. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบ และประชาชนทั่วไป ได้แก่
-การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ “สินเชื่อรายย่อย ระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อฟิโคไฟแนนซ์)”
-การจัดตั้ง “หน่วยแก้หนี้นอกระบบ” (Business Unit) ภายในธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ และออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน

3. ลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยจัดให้มี “จุดให้คำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ” ณ สาขา ธ.ออมสิน และธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
จะมีการประสานงานกับ “คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำกรุงเทพมหานคร หรือประจำจังหวัด” เพื่ออำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบ ให้เกิดมูลค่าหนี้ที่เป็นธรรม ก่อนที่ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. จะพิจารณาสินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบตามศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบแต่ละรายต่อไป

4. เพิ่มศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบลูกหนี้นอกระบบที่ไม่มีศักยภาพในการหารายได้ หรือมีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ
-ลูกหนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเข้มข้น ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบ ประจำกรุงเทพทมหานคร หรือประจำจังหวัด ซึ่งมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
- ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม ปลูกฝังความรู้ และวินัยทางการเงิน รวมถึงฝึกอบรมอาชีพ หรือทักษะฝีมือแรงงานอย่างเข้มข้น เพื่อให้ลูกหนี้มีศักยภาพในการหารายได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงจากการประกอบอาชีพที่ได้รับการอบรมนั้นๆ ทั้งในภาคการเกษตร ธุรกิจการค้า หรือบริการ ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภาคธุรกิจเอกชน และสถาบันการศึกษา
-พิจารณาให้ทุนสนับสนุนในการประกอบอาชีพตามแต่ความเหมาะสม และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก

5. สนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรการเงินชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- สร้างเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เผยแพร่ความรู้ และทักษะทางการเงินแก่ประชาชน
-จัดทำฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook