ธ.ก.ส. คลอด 3 เกณฑ์ดอกเบี้ยเงินกู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบ.ต่ำสุด 0.50 %/เดือน

ธ.ก.ส. คลอด 3 เกณฑ์ดอกเบี้ยเงินกู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบ.ต่ำสุด 0.50 %/เดือน

ธ.ก.ส. คลอด 3 เกณฑ์ดอกเบี้ยเงินกู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบ.ต่ำสุด 0.50 %/เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธ.ก.ส. พร้อมลุยปล่อยกู้ฉุกเฉิน คลอด 3 เกณฑ์ คิดดอกเบี้ยตามหลักประกัน ต่ำสุด คิดดอกเบี้ยเพียง 0.50 ต่อเดือน พร้อม ผ่อนปรนการชำระสามารถผ่อนการชำระ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส ราย 6 เดือน หรือรายปี ตามความสามารถ

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีความพร้อมดำเนินโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินตามที่รัฐบาลมอบหมาย เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรและบุคคลในครอบครัวที่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อปกติของธนาคารได้ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ในกรณีมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเร่งด่วนและเลิกพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยคงที่ตามประเภทของหลักประกันดังนี้

1.กรณีใช้บุคคลค้ำประกันคิดดอกเบี้ย 0.85% ต่อเดือน
2.กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันร่วมกับบุคคลค้ำประกันคิดดอกเบี้ย 0.75% และ
3.กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงินคิดดอกเบี้ย 0.50% ต่อเดือน

สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส ราย 6 เดือน หรือรายปี ตามความสามารถในการชำระหนี้และที่มาแห่งรายได้ ชำระหนี้คืนเสร็จภายใน 5 ปี

ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 100,000 ราย ผู้ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป  หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center 02 555 0555” นายลักษณ์ กล่าว 

สำหรับการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ ธ.ก.ส. ได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 โดยให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวที่มีปัญหาหนี้สินนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน สามารถจ่ายเงินกู้ช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วทั้งสิ้น 377,252 ราย จำนวนเงิน 36,619.20 ล้านบาท การดำเนินโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินในครัวเรือนนี้จะช่วยป้องกันและทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกรและครอบครัวประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook