นั่งไทม์เเมชชีน..ส่องใครเป็นใคร? ในคดีกรุงไทยปล่อยกู้กฤษดานคร

นั่งไทม์เเมชชีน..ส่องใครเป็นใคร? ในคดีกรุงไทยปล่อยกู้กฤษดานคร

นั่งไทม์เเมชชีน..ส่องใครเป็นใคร? ในคดีกรุงไทยปล่อยกู้กฤษดานคร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (16 ก.พ. 60) – คดีปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้บริษัทในเครือของกฤษดามหานครถูกยกมาวินิจฉัยเเละเป็น1ในเหตุผลที่คมช.ยึดอำนาจรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในข้อหาทุจริต โดยเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2546 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2547 จำเลยทั้ง27คน (นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐอดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย, นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย,กรรมการบริหาร, คณะกรรมการสินเชื่อ, เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทในเครือกฤษดามหานคร และ 3 บริษัทในเครือกฤษดามหานคร เป็นจำเลยที่ 1-27) ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157,
ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502, ความผิดพ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505, ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ. 2535

โดยมีการอนุมัติเงินกู้ก้อนนี้ให้บริษัทฤษดามหานคร เเละการสอบสวนหนึ่งในความไม่โปร่งใสของรัฐบาลไทยรักไทยเริ่มต้นจากการที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)เข้าไปตรวจสอบการปล่อยกู้ โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทยในช่วงนั้น ให้สินเชื่อกลุ่มบริษัทกฤษดามหานครที่มีสถานะอยู่ในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร เนื่องจากผู้อำนวยการฝ่ายกลั่นกรองสินเชื่อธุรกิจนครหลวง เคยจัดอันดับความเสี่ยงของกลุ่มกฤษดามหานครในอันดับ 5 คือไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ แต่มีการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในกลุ่มกฤษดามหานคร 3 กรณี คือ

1.อนุมัติสินเชื่อให้บริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด จำนวนเงิน 500 ล้านบาท 2.อนุมัติสินเชื่อให้บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด 9,900 ล้านบาท (วงเงินไฟแนนซ์8,000 ล้านบาท วงเงินซื้อที่ดินเพิ่ม 500 ล้านบาท และวงเงินพัฒนาโครงการ 1,400 ล้านบาท) 3.อนุมัติขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของบริษัทกฤษดามหานคร ให้กับบริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์
คอมมูนิเคชั่น จำกัด 1,185,735,380 บาท

ก.พ.2552 คณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติส่งฟ้องศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ก.ค.2555 ศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดี โดยมีนายทักษิณ เป็นจำเลยที่ 1 และพรรคพวกรวม 27 ราย

ส.ค.2558 ศาลฎีกาฯ พิพากษา จำคุกจำเลย 17 คน มีผู้บริการธนาคารกรุงไทย เช่น นายวิโรจน์ นวลแข,ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ์ คนละ 18 ปี ให้ชดใช้ค่าเสียหาย และพักคดีกับนายทักษิณชั่วคราว เหตุนายทักษิณหนีคดี

เเละคดีนี้มีชื่อของนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายอดีตนายกรัฐมนตรี เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย แต่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ คดีจึงถูกส่งไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

หากไปดูคำวินิจฉัยของนายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา ในฐานะเจ้าของสำนวนคดี และ 1 ใน9 องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาฯ ได้ระบุถึงเส้นทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับนายพานทองแท้ เริ่มจากวันที่30 ธ.ค. 2546 มีการซื้อแคชเชียร์เช็คธนาคารทหารไทย 26 ล้านบาท หักเงินจากผู้บริหารบริษัทกฤษฎามหานคร ที่เป็นจำเลยคดีปล่อยกู้ และเช็คสั่งจ่ายเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ ของนายพานทองแท้ แต่ถูกสั่งยกเลิกทำรายการในวันเดียวกัน

นายพานทองแท้ ชี้แจงต่อคตส.เป็นเอกสารว่า มีการนำแคชเชียร์เช็คเข้าบัญชี เพื่อฝากโอนให้บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต สำหรับชำระค่าซื้อหุ้นบริษัท ช.การช่าง แต่เห็นว่าอาจจะไม่ทันจึงยกเลิกการทำรายการ กรณีนี้ คำวินิจฉัยระบุว่า ข้ออ้างของนายพานทองแท้ฟังไม่ขึ้น

นอกจากนี้ วันที่ 17 พ.ค. 2547 จำเลยที่ 25 ซึ่งเป็นผู้บริหารกฤษดามหานคร ได้สั่งจ่ายเช็คไทยธนาคาร 10 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาบางพลัด ของนายพานทองแท้

นายพานทองแท้ชี้แจง คตส.ว่า เป็นเงินที่ร่วมลงทุนกับผู้ที่สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็ค แต่ไม่ได้ชี้แจงว่าทำธุรกิจอะไร หลังจากนั้น 3 เดือน จึงชี้แจงว่าร่วมกันทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์ ซึ่งในคำวินิจฉัยระบุว่า หากเป็นการลงทุนจริงตามที่อ้าง น่าจะชี้แจงตั้งแต่แรก และนายพานทองแท้เป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ ทำให้ข้ออ้างว่าร่วมลงทุนเพียง 10 ล้านบาท จึงไม่มีน้ำหนัก

และในคำวินิจฉัยยังระบุการตรวจสอบเส้นทางการเงินของ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีการนำสินเชื่อที่ บริษัทในเครือกฤษดามหานคร ได้รับจากธนาคารกรุงไทย ไปซื้อหุ้นจองของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย และ จำเลยที่ 26 ที่เป็นบุตรผู้บริหารกฤษฎามหานคร มีการนำมาเสนอขายให้พนักงานบริษัท ฮาวคัม ที่นายพานทองแท้เป็นผู้บริหาร พฤติกรรมของจำเลยที่ 26 จึงส่อไปในทำนองต่างตอบแทน จากการที่ธนาคารกรุงไทย อนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มของจำเลย

เเละเมื่ออายุความของคดีนี้เหลือ1ปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ทำให้พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงเข้ามาเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวยคดีฟอกเงินจากการทุจริตอนุมัติปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานครด้วยตัวเอง โดยระบุว่า"ดีเอสไอได้รับข้อมูลเส้นทางการเงินตามที่ปปง.ตรวจสอบไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับนายพานทองแท้อย่างไร เพราะคดีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอมานานแล้ว ในส่วนของผู้ต้องหารายที่มีความผิดชัดเจนดีเอสไอได้แจ้งข้อกล่าวหาไปหมดแล้ว สำหรับกลุ่มผู้บริหารธนาคารกรุงไทย หากพบความผิดเพิ่มก็จะเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาในเรือนจำ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook