ส่องหุ้น BPP หุ้นน้องใหม่โรงไฟฟ้า

ส่องหุ้น BPP หุ้นน้องใหม่โรงไฟฟ้า

ส่องหุ้น BPP หุ้นน้องใหม่โรงไฟฟ้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำธุรกิจอะไร ?

ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Conventional power generation) และได้มีการขยายการลงทุนไปยังโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable power generation) โดยลงทุนในโรงไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบและในหลายประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น


ข้อมูลบริษัทที่สำคัญ

 

BPP2

ในประเทศไทย BPP ถือหุ้น BLCP ซึ่งทำโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินคุณภาพดี ถือหุ้นอยู่ 50% มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,434 MW ทำสัญญาซื้อขายกับ กฟผ. ระยะยาว 25 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2575 นอกจากนี้ในปี 2559 ได้เข้าซื้อ บจ.ไทยโซล่าร์ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคามีกำลังการผลิต 1.5 MW

ในประเทศลาว BPP ถือหุ้นโรงไฟฟ้าหงสา 40% มีกำลังการผลิต 1,878 MW ซึ่งทำสัญญาระยะยาวซื้อขายกับกฟผ. และรัฐวิสาหกิจลาว 25 ปี จะหมดสัญญาในปี 2584 โรงไฟฟ้าหงสาถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดในประเทศ

สำหรับการประกอบธุรกิจในประเทศจีน บริษัทย่อยของบริษัทฯ เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานร่วม (Combined heat and power plant) ซึ่งเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์แล้วจานวน 3 แห่ง โดยบริษัทฯ ถือหุ้นโดยทางอ้อมในบริษัท สือเจียจวงเฉิงเฟิงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100.00 ของหุ้นที่ออกและจาหน่ายแล้วทั้งหมดซึ่งบริษัทสือเจียจวงเฉิงเฟิง ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานร่วม คือ โรงไฟฟ้าพลังงานร่วมเจิ้งติ้ง ตั้งอยู่ที่มณฑลเหอเป่ย โดยมีกาลังการผลิตติดตั้งจานวน 73.0 เมกะวัตต์ และกาลังการผลิตไอน้าจานวน 370.0 ตันต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังถือหุ้นโดยทางอ้อมในบริษัทโจวผิงพีคคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.00 ของหุ้นที่ออกและจาหน่ายแล้วทั้งหมด ซึ่งบริษัทโจวผิงพีคประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานร่วม คือ โรงไฟฟ้าพลังงานร่วมโจวผิง ตั้งอยู่ที่ในมณฑลชานตง โดยมีกาลังการผลิตติดตั้งจานวน 100.0 เมกะวัตต์ และกาลังการผลิตไอน้ำจำนวน 450.0 ตันต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมในบริษัทซานซีลู่กวงซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.00 ของหุ้นที่ออกและจาหน่ายแล้วทั้งหมดซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยี ถ่านหินสะอาด “อัลตรา-ซูเปอร์คริทิเคิล” (Ultra-supercritical) ตั้งอยู่ที่มณฑลซานซี โดยจะมีกาลังการผลิตติดตั้งจานวน 1,320.0 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงมีหน่วยผลิตไฟฟ้าจานวน 2 หน่วยการผลิตซึ่งมีกาลังการผลิตติดตั้งจานวน 660.0 เมกะวัตต์ต่อหน่วย บริษัทฯ คาดว่าหน่วยผลิตไฟฟ้าทั้ง 2 หน่วยจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2561

บริษัทฯ เริ่มขยายการลงทุนของบริษัทฯ ผ่านบริษัทบีพีพีรีนิวเอเบิลไชน่าบริษัทย่อยไปยังกลุ่มการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2559 บริษัทฯ เข้าทาสัญญากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีน จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการจินซาน โครงการฮุ่ยเหนิง โครงการเฮ่าหยวน และโครงการฮุ่ยเอิน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หลายโครงการในประเทศญี่ปุ่น โดยการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนภายใต้โครงสร้างการเป็นหุ้นส่วนแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โครงสร้างโทคุเมอิ คุมิไอ โดยการดาเนินธุรกิจตามโครงสร้างการลงทุนแบบทีเคเป็นไปตามสัญญาระหว่างนักลงทุนและผู้ดาเนินกิจการ โดยนักลงทุนจะลงทุนในกิจการของผู้ดาเนินกิจการ (ในรูปของเงินสด หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า) โดยได้รับผลตอบแทนในรูปของสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งกาไรที่เกิดจากกิจการที่ร่วมลงทุน

ในปัจจุบัน บริษัทฯ โดยผ่านบริษัทย่อยลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นภายใต้โครงสร้างการลงทุนแบบทีเคจานวน 7 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการโอลิมเปียซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกุนมะ จังหวัด โทชิงิ และจังหวัดอิบารากิ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 40.00
(2) โครงการฮิโนะซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75.00
(3) โครงการมุกะวะซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฮอกไกโด ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 55.80
(4) โครงการนาริไอสึซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75.00
(5) โครงการอวาจิซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดเฮียวโงะ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75.00
(6) โครงการยาบูกิซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75.00 และ
(7) โครงการโอนามิซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75.00

เมื่อเร็วๆนี้ BPP ประกาศลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น มีกำลังการผลิต 28.9 MW จะดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561 จะช่วยเพิ่มศักยภาพของ BPP ให้ดีมากขึ้น ซึ่งถือว่ามาได้ตามเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ครับ


บริษัทจะทำอะไรบ้างในอนาคต

BPP3

Timeline โครงการในอนาคตของบริษัท

1. โรงไฟฟ้าพลังงานร่วมหลวนหนานระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะเพิ่มกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งอีก 25.0 เมกะวัตต์ และกาลังการผลิตไอน้าอีก 150.0 ตันต่อชั่วโมง ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1,451.7 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการ เชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562

2. โรงไฟฟ้าพลังงานร่วมโจวผิงหน่วยที่ 4 อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะเพิ่มกาลัง การผลิตไฟฟ้าติดตั้งอีก 25.0 เมกะวัตต์ และกาลังการผลิตไอน้าอีก 150.0 ตันต่อชั่วโมง ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนของโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมโจวผิงหน่วยที่ 4 จะอยู่ที่ประมาณ 973.1 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563

3. โรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง รวมจานวน 1,320.0 เมกะวัตต์ ภายหลังการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561 ทั้งนี้ บริษัทฯ มีภาระผูกพันในส่วนของทุนเพิ่มเติมในบริษัท ซานซีลู่กวงประมาณ 1,768.6 ล้านบาท

4. บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในหน่วยลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
4.1 โครงการมุกะวะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 17.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 313.3 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561
4.2 โครงการนาริไอสึ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 20.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 490.5 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561
4.3 โครงการอวาจิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 8.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 214.6 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2560
4.4โครงการยาบูกิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 7.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 127.5 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561
4.5 โครงการโอนามิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 16.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 286.6 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561
4.6 โครงการยามางาตะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลัง การผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 20.0 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 596.1 ล้านบาท และจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสแรก ปี 2561

5. บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีนโดยบริษัทบีพีพีรีนิวเอเบิลไชน่าซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้เข้าทาสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิใน การซื้อหุ้นทั้งหมดของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทฯ อยู่ระหว่างการดาเนินการให้ได้มาซึ่งหุ้นในโครงการเหล่านี้ และบริษัทฯ คาดว่าจะดาเนินการได้มาซึ่งหุ้นทั้งหมดแล้วเสร็จภายในปี 2559 ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 1,651.9 ล้านบาท โดยโครงการที่จะลงทุนมีรายละเอียดดังนี้
5.1 โครงการเฮ่าหยวน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลัง การผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 20.0 เมกะวัตต์ และเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์แล้วในเดือนมิถุนายน 2559
5.2 โครงการฮุ่ยเอิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 20.0 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนธันวาคม 2559

6.บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีนโดยบจ. บ้านปูรีนิวเอเบิลซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้เข้าทาสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิใน การซื้อหุ้นทั้งหมดของโครงการไป๋หยูตั้งซึ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 50.0 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนธันวาคม 2559 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทฯ อยู่ระหว่างการดาเนินการให้ได้มาซึ่งหุ้นในโครงการเหล่านี้ และบริษัทฯ คาดว่าจะดาเนินการได้มาซึ่งหุ้นทั้งหมดแล้วเสร็จภายในปี 2559 ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าเงินลงทุนที่จะใช้จะอยู่ที่ประมาณ 1,841.8 ล้านบาท

7. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาในประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยคาดว่าจะมีกาลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 1.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะสามารถเปิดดาเนินการเชิงพาณิชย์ได้ทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2559 ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายสาหรับพัฒนาโครงการดังกล่าวเป็นจานวนประมาณ 68.0 ล้านบาท


บทวิเคราะห์ว่าอย่างไรบ้าง ?

จากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง กล่าวแบบสรุปไว้ว่า
- กำลังเข้าสู่ช่วงเติบโตทั้งรายได้และกำไร
- เกาะกระแสพลังงานทดแทน บริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะมีแหล่งพลังงานทดแทนมากกว่า 800 MW ภายในปี 2568 มุ่งเจาะ 4 ประเทศ คือ จีน ลาว ญี่ปุ่น และไทย (ปัจจุบันนี้มีอยู่ 148.1 MW)
- มุ่งเจาะตลาดอย่างหนักในประเทศจีน รวมทั้งเติบโตไปพร้อมกับ CLMV
- ภายในปี 2560 ตั้งใจจะทำไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นให้ครบ 98 MW นอกจากนี้ยังหาโอกาสการลงทุนโดยการซื้อโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์อีก 500 MW จะทำให้มูลค่าของหุ้นเพิ่มขึ้นอีก

----------------------------------------------

ขอบคุณ บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง
ข้อมูล Filling จาก http://capital.sec.or.th/
Credit ภาพจาก http://capital.sec.or.th/ และ www.banpupower.com
จากทีมงาน Content : stock2morrow

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook