แฉ! สินบน “โรลส์-รอยซ์” พรรคใหญ่รับอื้อ นักการเมืองฟาดค่าคอมฯ 400 ล.

แฉ! สินบน “โรลส์-รอยซ์” พรรคใหญ่รับอื้อ นักการเมืองฟาดค่าคอมฯ 400 ล.

แฉ! สินบน “โรลส์-รอยซ์” พรรคใหญ่รับอื้อ นักการเมืองฟาดค่าคอมฯ 400 ล.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตรวจสอบการรับค่าคอมมิชชั่นซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ มีความคืบชัดเจนขึ้น มีการเปิดเผยข้อมูลการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้นักการเมือง 3 รอบ

หนึ่งในนายหน้าเปิดเผยกับสปริงนิวส์ว่า บริษัท ผลิตเครื่องยนต์ โรลส์รอยซ์ ของอังกฤษ ได้ขยายตลาดเข้ามาในเอเชียในปี 2533 โดยบุกตลาดไทยเป็นประเทศแรก เพื่อชิงตลาดจาก ค่ายจีอี และแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ ของสหรัฐอเมริกา ที่ครองตลาดเครื่องยนต์เครื่องบินอยู่ การขยายตลาดของโรลส์รอยซ์ ประสบผลสำเร็จ ได้ขายเครื่องยนต์ติดตั้งบนเครื่องบินให้การบินไทย 24 ลำ แบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ลำ โดยโรลส์รอยซ์ มีงบค่าคอมมิชชั่น 3%

ช่วงแรก เกิดขึ้นในช่วงการเมืองเปลี่ยนแปลงปี 2534 หลังสมัย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งการสั่งซื้อเครื่องยนต์ โรลลส์รอยซ์ ครั้งนั้น เป็นความสำเร็จในการเจาะตลาดไทยและนำมาสู่ความสำเร็จในภูมิภาคนี้ เพราะขายได้ทั้งๆ ที่มีเพียงพิมพ์เขียวของการผลิตเครื่องยนต์รุ่น T800 เท่านั้น และเป็นการขายเครื่องยนต์ ที่ใช้กับครื่องบินโบอิ้งรุ่น 777-200 และ 777-200er รวม 8 ลำ

การได้มาของออเดอร์ล็อตแรกนี้ มาพร้อมกับการจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่น 600 ล้านบาท ให้ผู้ที่มีอำนาจระดับสูง ที่เกี่ยวโยงกับแวดวงราชการ และนักการเมือง ที่ไม่ได้มาจากกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งปัจจุบันไม่ได้อยู่ในอำนาจแล้ว และบางคนถึงแก่กรรมไปแล้ว ในขณะที่ประธาน ป.ป.ช.บอกว่าคดีในช่วงแรกหมดอายุความไปแล้ว

หลังจากนั้นได้สั่งซื่อเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินของโรลลส์รอยซ์ ของการบินไทยอีก 8 ลำ มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้นักการเมืองระดับสูง ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ และมาจากการเลือกตั้ง อีก 200 ล้านบาท ผ่านคนสนิทของนักการเมืองคนดังกล่าว โดยการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการกระบวนการจัดซื้อ จากผู้บริหารสายการบิน

ส่วนในช่วงที่สาม มีการจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่น อีก 400 ล้านบาท ให้นักการเมืองระดับสูง อีกพรรคหนึ่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจในยุคนั้น โดยระบุว่า ใช้วิธีการจ่ายเงินสดในกระเป๋าใบใหญ่ ยกใส่รถหรูของนักการเมืองคนนี้ ถึงหน้ากระทรวง

ปัจจุบันนี้ เครื่องยนต์ โรลลส์รอยซ ครองตลาด 60 % ทั่วโลก และกว่า 80% ของเอเชีย เนื่องจากคู่แข่ง ไม่มีงบประมาณในด้านการค้นคว้าวิจัย ได้มากเท่ากับ โรลลส์รอยซ์

สปริงนิวส์ยังตรวจสอบพบว่า ในการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340 – 500 และ A340 – 600 จำนวน 4 ลำ ของการบินไทยเมื่อปี 2548 การบินไทย ได้ลงนามสัญญาเช่าซื้อ กับบริษัท เจ้าพระยา แฮรี่ เพอเซส Chao Phraya Hire Purchase Limited ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ และจากการตรวจสอบพบว่าบริษัท เจ้าพระยา แฮรี่ เพอเซส จดทะเบียนในหมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคแคริบเบียน

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook