หอการค้าไทยเผย “ดัชนีคอร์รัปชั่น” ดีสุดในรอบ 6 ปี

หอการค้าไทยเผย “ดัชนีคอร์รัปชั่น” ดีสุดในรอบ 6 ปี

หอการค้าไทยเผย “ดัชนีคอร์รัปชั่น” ดีสุดในรอบ 6 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในเดือน ธ.ค. 2559 อยู่ในระดับ 55 ดีที่สุดในรอบ 6 ปี ชี้ให้เห็นว่า ค่าดัชนีของไทยอยู่ในระดับปานกลาง และสัญญาณของปัญหาคอร์รัปชันดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2557 ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาดำเนินการ ส่วนความเสียหายของการทุจริตคอร์รัปชัน เฉลี่ยอยู่ที่ 120,000 ล้านบาท สร้างความเสียหายต่อจีดีพี ร้อยละ 0.8 ซึ่งดีกว่าในอดีตที่จะเสียหายประมาณ 300,000 – 400,000 ล้านบาท กระทบจีดีพี ร้อยละ 2.5 แต่รัฐบาลและสังคมไทยต้องระมัดระวัง คือสัญญาณสถานการณ์คอร์รัปชันสูงขึ้น และการจ่ายเงินใต้โต๊ะเพิ่มขึ้นจากปี 2558

ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่วนใหญ่มองว่าความรุนแรงของการทุจริต จะลดลงหรือเท่าเดิม และสังคมไทยตระหนักรู้เรื่องการทุจริตมากขึ้น เห็นได้จากกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 95 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย หากกล่าวว่า การทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง ส่วนประสิทธิภาพการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ส่วนใหญ่มองว่าการทำงานของการต่อต้านคอร์รัปชันของ ป.ป.ช. มีประสิทธิภาพ

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในไทย คือ กฎหมายมีช่องว่างเอื้อต่อการทุจริต, กระบวนการทางการเมืองขาดความโปร่งใส ตรวจสอบยาก, เจ้าหน้าที่ขาดจรรณยาบรรณและคุณธรรมในการปฎิบัติงาน, ความไม่เข้มงวดของการใช้กฎหมาย, มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง, คนยังต้องการความสะดวกสบาย และมีวัฒนธรรมรับเงินใต้โต๊ะ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการทุจริตที่เกิดขึ้นในไทย อันดับต้น ๆ คือ การให้สินบน ของกำนัล, มีช่องโหว่ทางกฎหมาย, การเอื้อประโยชน์กับพรรคพวก

นายธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีโรลส์รอยซ์จะไม่ส่งผลต่อคะแนนและการจัดอันดับซีพีไอขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติที่จะจัดอันดับในปลายเดือน ม.ค. นี้ เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี 2548 เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่มองว่าจะมีผลต่อภาพลักษณ์ของไทย เพราะว่ามีการอ้างว่าที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันกับบริษัทต่างชาติ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลและการบินไทย ต้องไม่ละเลย ต้องเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดและวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook