“8 เคล็ดลับ สอนเด็ก Gen Z ให้ใช้เงินเป็น”

“8 เคล็ดลับ สอนเด็ก Gen Z ให้ใช้เงินเป็น”

“8 เคล็ดลับ สอนเด็ก Gen Z ให้ใช้เงินเป็น”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เดี๋ยวนี้จะเห็นได้ว่าภาพเด็กนักเรียนหยิบมือถือมาเล่น Facebook เล่น IG แชท Line มีกันอยู่เต็มไปหมดจนเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะเด็กนักเรียนในกรุงเทพ หรือเมืองใหญ่ๆ เพราะเนื่องจากเด็กยุคนี้เติบโตมาก็รู้จัก อินเตอร์เนตกันแล้ว แถมราคาโทรศัพท์มือถือที่เป็น Smartphone ก็ไม่แพงเหมือนแต่ก่อน ประกอบกับการที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงาน

ดังนั้นพ่อแม่ที่พอมีกำลังก็มักจะซื้อโทรศัพท์มือถือให้กับลูก เพื่อเอาไว้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกได้สะดวก

ปัจจุบันเราเลยจัดกลุ่มของเด็กกลุ่มนี้ ว่าเป็นเด็ก Generation Z หรือ เรียกกันย่อๆ ว่า “Gen Z” โดยเด็กกลุ่มนี้ก็จะเป็นเด็กที่เกิดหลังปี 2540 เป็นต้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในวัยเรียนหนังสือกันอยู่เลย

โดยจะสรุปลักษณะของเด็ก Gen Z แบบคร่าวๆได้ว่า

เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี มาพร้อมกับอินเตอร์เนต เลยทำให้เด็กกลุ่มนี้ชอบความสะดวกสบาย บางทีอาจจะมีนิสัยชอบให้ตามใจก็ได้ เด็กยุคนี้มักจะถูกเลี้ยงโดย คุณปู่ย่าตายาย เพราะ พ่อแม่ต้องออกไปทำงาน จึงไม่มีเวลาเลี้ยงดู พอให้ปู่ย่าเลี้ยงก็เลยอาจจะถูกตามใจมากเกินไป

ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกในยุคนี้ให้มีความรับผิดชอบทางด้านการเงินนั้น จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆ

เพราะยุคปัจจุบันนี้คนสามารถบริโภคสิ่งต่างๆได้สะดวกขึ้น ซื้อสินค้าหรือบริการได้ง่าย มากๆ ผ่านระบบออนไลน์หรือ การถูกเร้าจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะจากพวก Social Media ต่างๆ ได้ตั้งแต่ Facebook IG Line หรือ Youtube เป็นต้น

ซึ่งจากการได้ที่ผมได้ทำ Live! กับทางคุณต้าร์ กวิน ผ่านทางเพจ aomMoney ที่ผ่านมาไม่นานนี้ ในหัวข้อ “มนุษย์พ่อมนุษย์แม่จะสอนลูก Gen Z ยังไง ให้ใช้เงินเป็น?” จึงสรุปเป็นเคล็ดลับง่ายๆ ให้กับคุณพ่อหรือคุณแม่ ในการสอนลูก Gen Z ให้ใช้เงินได้อย่างถูกต้อง และคุ้มค่า ดังนี้

 

1.ให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน

โดยใช้หลักการของคนญี่ปุ่น ได้แก่การเปรียบเทียบมูลค่าของเงินในแต่ละรายการว่าอันไหนมาก อันไหนน้อยกว่า โดยการให้เด็กเห็น กองเงินของเงินเดือนว่า ทั้งเดือนคุณพ่อคุณแม่ทำงานมาได้เงินเดือนกองเท่านี้ โดยอาจจะเทียบกับ กองเงินของค่าเทอมของตัวเองว่า กองเงินค่าเทอมใหญ่ขนาดไหน เมื่อเทียบกับ กองเงินเดือนของพ่อแม่

รวมถึงอาจจะให้เค้าเห็นถึงรายจ่ายรายการอื่นๆด้วยว่า ที่จ่ายรายการนี้ไป กองเงินใหญ่แค่ไหน โดยการสอนข้อนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจว่า กองเงินรายการไหนเยอะ อันไหนน้อย เด็กจะเรียนรู้ไปด้วยว่า พ่อกับแม่ออกไปทำงานเพื่อมีเงินเดือนมาเลี้ยงครอบครัว หรือ ส่งลูกเรียนดีๆ

 

2.ให้ลูกรู้จักเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ

ข้อนี้ก็คือการไม่ซื้ออะไรง่ายๆ ให้กับลูก โดยหากเป็นของที่ลูกอยากได้เอง โดยถ้าไม่จำเป็นกับการเรียน ก็ต้องฝึกให้เก็บเงินซื้อเอง แต่ก็อาจจะให้รางวัลสนับสนุนบางส่วนบ้างก็ได้ เช่น ถ้าอยากได้ของเล่นใหม่ ก็อาจจะตั้งเป้าให้เก็บเงินเอง ซึ่งหากเป็นของที่มีประโยชน์ก็จะให้เงินช่วยบางส่วนก็ได้ แต่ห้ามซื้อให้แบบตามใจเด็ดขาด

 

3.พาลูกไปฝากที่ธนาคาร

หากลูกมีการเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอทุกอาทิตย์จนสามารถมีเงินใส่กระปุกออมสินจนเต็มแล้ว ก็ให้พาไปเปิดบัญชีที่ธนาคารเลย ซึ่งจะได้อธิบายถึงความสำคัญของธนาคาร ว่าถ้าเราฝากเงินกับธนาคาร เราจะได้อะไรแล้วให้เค้าเห็นเงินเติบโตในบัญชีบ่อยๆ โดยอาจจะ update สมุดบัญชีของลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกได้เห็นเงินในบัญชีที่งอกเงยขึ้น แถมรู้เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้เพิ่มอีกด้วย

 

4.สอนลูกให้บันทึกรายรับรายจ่ายผ่าน Application ใน Smartphone

ต้องยอมรับว่าเด็กยุคนี้เค้าใช้ Application ในมือถือเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นการจะให้จดลงในสมุดทุกๆวัน อาจจะเกิดความน่าเบื่อในการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ดังนั้นการบันทึกรายรับรายจ่ายลงผ่าน Application ใน Smartphone น่าจะทำให้เด็กเกิดความสนุกได้ แถมอาจจะมีให้รางวัลเพิ่มเติมถ้าทำบัญชีรายรับรายจ่ายผ่าน Application แล้วเอามาส่งให้ตรวจ ซึ่ง Application ฟรีๆ ที่สามารถเก็บบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายได้ เช่น Spending ,Pocket Expense ,Expensify เป็นต้น

 

5.พาลูกไปวัดหรือสถานสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส

คือ การทำให้เด็กมีความคิดต่อเรื่องการเงินดีขึ้น เช่น การพาเด็กไปวัด เพื่อให้เด็กรู้จักการทำบุญ การให้ เช่น ตามวัดจะมีตู้หยอดให้ทำบุญ พ่อแม่ก็จะได้สอนว่าถ้าเราเก็บเงินได้เยอะๆ มากพอ เราก็จะสามารถแบ่งปันช่วยเหลือคนอื่นๆได้ หรือ การพาไปสถานสงเคราะห์ต่างๆ เช่น พาไปทำบุญบ้านพักคนชรา ก็จะได้สอนทั้งเรื่องการให้ แต่สอนในเรื่องของการไม่มีเงินเก็บมากพอ จึงทำให้ต้องมาพึ่งสถานสงเคราะห์ ลูกหลานก็ไม่สนใจ เป็นต้น

 

6.ฝึกให้ลูกทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แทน

เช่น การให้ลูกมีกิจกรรมช่วยเหลือครอบครัว เช่น การให้ล้างจาน การให้กวาดบ้าน ถูพื้น ก่อนเล่นเกมส์ เป็นต้นว่า ให้ช่วยกวาดพื้นถูพื้น 1 ชม จะให้เล่นเกมส์ 30 นาที เป็นต้น หรืออาจให้รางวัลเป็นเงินฝากเพิ่มในบัญชีธนาคาร ถ้าทำกิจกรรมให้กับครอบครัวได้ตามตกลงไว้

 

7.กำหนดงบประมาณในการซื้อของแต่ละครั้ง

 วิธีนี้ก็คือการกำหนดให้ลูกรู้ก่อนล่วงหน้าเลยว่า มาห้างนี้ มาร้านนี้ มีกำหนดซื้อได้แค่ 30 บาท เช่น ให้ซื้ออะไรก็ได้ แต่ห้ามเกิน 30 บาทเป็นต้น ซึ่งธรรมชาติของเด็กก็จะหยิบของที่อยากได้ก่อน แต่สุดท้ายพอมารวมราคาอาจจะเกิน 30 บาทไปเยอะ ก็ต้องถึงเวลาที่จะเลือกละครับว่า สรุปแล้วซื้ออะไรดีที่จะได้ประโยชน์ต่อตัวเด็กเองมากที่สุด ซึ่งสามารถใช้กับทั้งการเดินในห้าง ในร้านสะดวกซื้อ หรือร้านหนังสือ ก็ได้ ซึ่งไอเดียนี้ก็เห็นว่ามีหลายๆครอบครัวที่ทำและได้ประโยชน์มากๆเลย ซึ่งก็จะทำให้เด็กรู้คุณค่าของเงินเป็นอย่างดี

 

8.พาลูกไปดูงานแสดงต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุน

ข้อนี้อาจจะใช้กับเด็กที่เริ่มโตสักหน่อย ก็น่าจะประมาณ ระดับประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไป ซึ่งพ่อแม่ที่พาไป ก็จะได้มีโอกาสสอนลูกเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุน กองทุนคืออะไร การกู้เงินคืออะไร ประกันชีวิตคืออะไร เป็นต้น

 

 genz

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเคล็ดลับทั้ง 8 ข้อนี้จะช่วยเป็นไอเดียให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในยุคนี้ สามารถสอนให้ลูก Gen Z ให้มีพื้นฐานความรู้ทางการเงินที่ดี พร้อมทั้งช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้ติดตัวลูกตั้งแต่อายุน้อยๆ อีกด้วยครับ

 

daddy
Kevin's Daddy คุณพ่อนักวางแผนการเงิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook