“จะซื้อ LTF ตัวไหน” คำถามนี้ตอบได้ด้วย TMB Open Architecture

“จะซื้อ LTF ตัวไหน” คำถามนี้ตอบได้ด้วย TMB Open Architecture

“จะซื้อ LTF ตัวไหน” คำถามนี้ตอบได้ด้วย TMB Open Architecture
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ใกล้สิ้นปีอย่างนี้ เชื่อว่าหลายคนก็คงเหมือน Sanook! Money ที่เวลาเข้าเฟซบุ๊กเมื่อไหร่ก็จะเห็นเพื่อนๆ หลายคนทยอยโพสต์สเตตัสถามความเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเกี่ยวกับการซื้อ LTF หรือที่มีชื่อเต็มๆ ว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะนอกจากจะให้ผลตอบแทนในฐานะที่เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่งแล้ว ยังมีข้อดีอีกอย่างคือนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย

     สำหรับคนที่ไม่เคยซื้อมาก่อนและตัดสินใจว่ายังไงก็จะซื้อก่อนสิ้นปีนี้ให้ได้ คำถามที่เราเชื่อว่าทุกคนต้องมีก็คือ “จะซื้อ LTF ตัวไหนดี” ซึ่งเป็นคำถามที่มาก่อนเรื่องว่าจะซื้อเท่าไหร่เสียอีก เพราะเรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการซื้อก็คงเป็นตัวเลขที่หลายคนประเมินจากรายได้กับเงินออมของตัวเอง และคิดไว้คร่าวๆ ในใจอยู่แล้ว

     หรือแม้แต่คนที่ซื้อ LTF มาเป็นประจำทุกปีก็คงจะมีคำถามเดียวกัน เพราะต่อให้เป็นตัวที่เคยซื้อก็ต้องเช็คผลตอบแทนของช่วงที่ผ่านมา เพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อตัวเดิมเพิ่มดีหรือไม่ หรือถ้าจะซื้อตัวใหม่ก็ต้องหาข้อมูลให้รอบคอบก่อน จะได้ลดความเสี่ยงซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกการลงทุน

     เพราะฉะนั้นช่วงสิ้นปีอย่างนี้นี่ล่ะถึงเป็นเวลาของการหาข้อมูลทั้งจากสถาบันการเงินเองและจากคนรอบตัวก่อนจะตัดสินใจลงเงินเพื่อผลกำไรในระยะยาว

     เพราะเข้าใจดีว่านักลงทุนทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพมีคำถามอะไรเกี่ยวกับเรื่องการซื้อกองทุน ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา TMB จึงทลายข้อจำกัดของการลงทุนในกองทุน ด้วยบริการ TMB Open Architecture เปิดรับซื้อขายกองทุนรวมข้ามค่ายจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจำกัด หรือ บลจ. มากถึง 7 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนของ บลจ. UOB, บลจ. TISCO, บลจ. CIMB-Principal, บลจ. Manulife, บลจ. วรรณ, บลจ. Aberdeen และ บลจ. ทหารไทย โดยผ่านทางสาขาของธนาคาร 450 แห่งทั่วประเทศ เลือกลงทุนได้ครบทุกประเภททรัพย์สิน ภายใต้คอนเซปต์ “ซื้อง่าย สะดวก ครบ จบในที่เดียว”



     Sanook! Money มองว่าความน่าสนใจของ TMB Open Architecture ยังอยู่ตรงที่กองทุนซึ่ง TMB เลือกมานั้นถือเป็นการคัดเฉพาะกองทุนตัวท็อปๆ จากแต่ละ บลจ.ชั้นนำ รวมถึงกองทุนหลายตัวที่อยู่ในกลุ่ม Top 10 LTF ซึ่งจัดอยู่ใน 10 อันดับกองทุนผลตอบแทนดีเยี่ยมจากการจัดอันดับ โดยดูผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีติดกันของ Morningstar ที่นักลงทุนให้ความเชื่อถือ

     ไหนๆ ช่วงสิ้นปีอย่างนี้ก็เป็นช่วงที่ตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน LTF กันอยู่แล้ว Sanook! Money เลยขอเจาะลึก 3 กองทุน LTF ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะติด Top 10 ผลตอบแทนดี จากบริการ TMB Open Architecture โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Morningstar เพื่อดูว่าแต่ละตัวมีจุดเด่นตรงไหน อย่างไรบ้าง

     1.กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว (CG-LTF)

     กองทุนตัวนี้เน้นลงทุนในหุ้นไม่น้อย 65 เปอร์เซ็นต์ โดยเลือกหุ้นบริษัทจดทะเบียนที่มีธรรมาภิบาลที่ดีและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตในอัตราสูง

     ผลการดำเนินงาน 5 ปีย้อนหลังของกองทุนตัวนี้เป็นอันดับ 1 ใน Top 10 LTF โดยกองทุนยังได้เรทติ้ง 5 ดาวจาก Morningstar ในกลุ่ม Equity Large Cap มีความเสี่ยงกองทุนนี้อยู่ในระดับ 6 (ที่มา: ข้อมูลจาก Morningstar ณ วันที่ 30 ก.ย. 2559)

     2.กองทุนเปิด แวลูพลัส ปันผล หุ้นระยะยาว (Value-D LTF)

     กองทุนประเภทนี้ลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน เน้นหุ้นบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีแนวโน้มการเติบโตสม่ำเสมอ รวมถึงมีเสถียรภาพทางการเงิน

     ผลการดำเนินงาน 5 ปีย้อนหลังของตัวนี้ติดอันดับ 3 ของ Top 10 LTF และได้เรทติ้ง 4 ดาวจาก Morningstar ในกลุ่ม Equity Large Cap มีความเสี่ยงกองทุนนี้อยู่ในระดับ 6 (ที่มา: ข้อมูลจาก Morningstar ณ วันที่ 30 ก.ย. 2559)

     สิ่งที่ทำให้เราสนใจเป็นพิเศษก็คือผลดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัวและเมื่อเทียบตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึง ณ วันที่ 30 ก.ย. 2559 ก็ยังสูงถึง 13.26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถึงแม้จะรู้ว่าตัวเลขนี้ไม่สามารถการันตีผลการดำเนินงานในอนาคตได้ แต่ก็ช่วยให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผ่านมาของกองทุนตัวนี้

     3.กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็ง คอร์ หุ้นระยะยาว (MS-Core LTF)

     ตัวนี้ลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ เน้นหุ้นบริษัทจดทะเบียนหรือตราสารทุน ซึ่งผลตอบแทนอ้างอิงกับผลตอบแทนของบริษัทที่อยู่ในดัชนี Set 50

     ตัวนี้นอกจากจะได้เรทติ้ง 5 ดาวจาก Morningstar ในกลุ่ม Equity Large Cap แล้ว ยังมีผลดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีติดอันดับ 5 ใน Top 10 LTF อีกด้วย ความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ในระดับ 6 เช่นเดียวกับ 2 ตัวแรก ส่วนผลดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีสูงถึง 103.85 เปอร์เซ็นต์ (ที่มา: ข้อมูลจาก Morningstar ณ วันที่ 30 ก.ย. 2559)

     กองทุนที่เรายกมาพูดถึงนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า กองทุน LTF ที่ทาง TMB คัดมาไว้ในบริการ TMB Open Architecture ถือเป็นกลุ่มกองทุนที่ถือว่ามีผลดำเนินงานโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราการเติบโตของตลาดในช่วงที่ผ่านมา

     ถ้าใครสนใจกองทุนของ TMB Open Architecture Sanook! Money ขอแนะนำให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สาขาของ TMB ทั่วประเทศ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยงและไม่มีใครการันตีได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าผลจะออกมาเป็นแบบไหน แต่อย่างน้อยที่สุดการตัดสินใจลงทุนทุกครั้งก็ควรจะมาจากการเข้าใจลักษณะของกองทุนก่อนเป็นพื้นฐานสำคัญ

     แต่สำหรับคนที่อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนด้วยตัวเอง สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://goo.gl/QyY6zP

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook