ภาษี...ลดหย่อนให้ดี แบบ expert

ภาษี...ลดหย่อนให้ดี แบบ expert

ภาษี...ลดหย่อนให้ดี แบบ expert
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ใครกำลังปวดหัวจากการหาวิธีที่ “ลงตัว” ในการลดหย่อนภาษี ให้มี “เงินเหลือ” โดยเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุน LTF/RMF และประกัน ลองอ่านตรงนี้ Sanook! Money มีคำแนะนำมาฝาก

     ก่อนอื่นต้องรอบคอบและบอกตัวเองว่า “สิทธิลดหย่อนมีเท่าไหร่ ใช้ให้ครบ”

     คุณจำเป็นต้องรู้สิทธิลดหย่อนที่มีอยู่ทั้งหมดเสียก่อน เรื่องนี้สำคัญมากเพราะว่าตัวเลขเงินได้เน็ตๆ จะบอกได้ว่า ฐานภาษีของเราอยู่ในระดับใด เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บแบบก้าวหน้า เงินได้มากก็เก็บสูงมาก มีอัตราตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35% เลยทีเดียว สิทธิลดหย่อนของคนโสดกับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ก็ต่างกันนะ ลองตรวจสอบดูให้ละเอียด

     นอกจากนี้ ค่าดอกเบี้ยส่งบ้านลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท รวมไปถึงค่าลดหย่อนจากการซื้อบ้านหลังแรก ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้าน อีก 20% ใน 5 ปี หรือปีละ 4%

     อย่าลืมว่า ยังมีค่าลดหย่อนจากค่าโรงแรม แพ็กเกจทัวร์ในไทยของปี 2559 รวมไปถึงค่าอาหาร เครื่องดื่ม ท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ด้วย รวมเที่ยวสองรายการนี่ยอดลดหย่อนได้อีก 30,000 บาทเชียวนะ

     เงินบริจาคก็ลดหย่อนได้อีก 10% ของยอดสุทธิหลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แต่ถ้าบริจาคเพื่อการศึกษาก็ใช้ลดหย่อนได้ 2 เท่า

     เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว คุณก็จะเห็นเองว่าสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน LTF/RMF และประกัน ได้เท่าไร อย่างไร จึงจะประหยัดภาษี หรือได้ประโยชน์จากสิทธิลดหย่อนมากที่สุด

     ถ้าไม่คำนวณภาษีออกมาให้ชัดเจนก่อน บางคนเพิ่งมาเห็นว่า ตัวเองไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียในระดับ 10% เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ การลงทุนแบบอื่นที่น่าจะเหมาะกับเรามากกว่ากองทุน LTF

     เราลองมาดูกันว่า กองทุน LTF/RMF หรือประกันแบบต่างๆ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ เป็นอย่างไร เหมาะสมกับใคร

     กองทุน LTF

     กองทุนรวมหุ้นระยะยาว นอกจากต้องเข้าใจในเรื่อง “ความเสี่ยง” ของการลงทุนที่สูง เพราะนโยบายลงทุนในหุ้นจึงทำให้ราคาของหน่วยลงทุนขึ้นลงผันผวน ยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาการลงทุนที่นานถึง 7 ปีปฏิทิน หรือ 5 ปีเศษด้วย

     ผู้ที่คิดจะลงทุนในกองทุน LTF ควรมีฐานภาษี 15% ขึ้นไป เพราะเมื่อนำมาหารกับระยะเวลาก็ยังประหยัดภาษีไปได้เฉลี่ยปีละประมาณ 3% แต่หากฐานภาษีต่ำกว่านี้ คิดแล้วอาจไม่คุ้มค่ากับเงื่อนไขของกองทุนเมื่อเทียบกับการลดหย่อนภาษีที่เราได้ไม่มากนัก

     กองทุน RMF

     กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ถ้าคุณอายุ 30 ภาระเบาลง เงินเดือนสูงขึ้น มองการณ์ไกลไปถึงวันข้างหน้า RMF ก็น่าสนใจ แต่ถ้าเพิ่งเริ่มต้นทำงาน ยังมีภาระค่าใช้จ่ายมากก็อย่าเพิ่งเลือกเจ้าตัวนี้ เพราะตามเงื่อนไขคุณต้องลงทุนทุกปี กว่าจะขายได้เมื่ออายุ 55 ถ้าหวังจะนำมาช่วยลดหย่อนภาษีแต่กลายเป็นภาระหนักขึ้น บางคนอาจยังไม่เหมาะ

     ประกันชีวิต

     ควรเลือกวงเงินคุ้มครองชีวิต 3 เท่าของรายได้ในแต่ละปี และเลือกทำแบบตลอดชีพเพื่อจะได้มีภาระเบี้ยประกันไม่สูงมาก ถ้าคุณต้องการออมเงินเพิ่มเติมไปด้วย ก็ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

     ประกันบำนาญ

     ถ้าคุณต้องการแน่ใจว่าจะมีเงินให้ใช้หลังเกษียณทุกปีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการคุ้มครองชีวิต ประกันบำนาญก็น่าจะตอบโจทย์ได้



     เมื่อพูดถึงการลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน LTF/RMF ส่วนใหญ่ก็คิดว่าต้องใช้ให้เต็มสิทธิ คือซื้อให้เต็มเพดาน แต่ อย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยงตามเงื่อนไข นอกจากนี้ บางครั้งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับระยะเวลาและยอดเงินที่ลดหย่อนได้ ก็ไม่คุ้มเท่าไรนัก หรือมัวแต่คิดจะประหยัดภาษี นำไปลงทุนจนเต็มเพดาน จนเกิดติดๆ ขัดๆ เรื่องการเงิน โดยเฉพาะหนุ่มๆสาวๆ ที่เริ่มต้นทำงาน ที่ภาระก็มาก ฐานภาษียังไม่สูง

     บทสรุปในท้ายที่สุด อย่ามองแค่ว่า กองทุน LTF/RMF และประกันชีวิต มีประโยชน์แค่เอาไปลดหย่อนภาษี จนลืมไปว่า สิ่งเหล่านี้เป็น “เครื่องมือ” ที่ช่วยให้คุณบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกัน

     เครื่องมือเหล่านี้มีหลากรูปแบบ มีทั้งเหมาะและไม่เหมาะกับเราในแต่ละช่วงเวลา ถ้าเลือกแบบที่เหมาะสมก็จะทำ “กำไร” ให้เราได้ในท้ายที่สุด โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด นี่แหละถึงจะเป็นวิธีจัดการกับเงินแบบ expert สุดๆ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://k-expert.askkbank.com/Pages/K-ExpertHome.aspx?utm_source=Sanook&utm_medium=Content3&utm_campaign=Branding16


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook