4 กลเม็ดตบตาให้ค่าเช่าถูกกว่าความเป็นจริง

4 กลเม็ดตบตาให้ค่าเช่าถูกกว่าความเป็นจริง

4 กลเม็ดตบตาให้ค่าเช่าถูกกว่าความเป็นจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากใครกำลังมองหาห้องเช่าหรือบ้านเช่าซักหลัง แน่นอนว่า “ค่าเช่า” มักเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเสมอ แต่อย่าให้ตัวเลขค่าเช่ามาหลอกตาคุณเด็ดขาด เพราะบางครั้งเจ้าของเองก็ปกปิดค่าใช้จ่ายบางอย่างเอาไว้ ทำให้ค่าเช่าดูต่ำกว่าคนอื่น แต่พอเอาเข้าจริงก็บวกค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมๆแล้วก็แพงอยู่ดีนั่นแหละ TerraBKK Research ยกตัวอย่าง 4 กลเม็ดที่เจ้าของบ้านมักจะปกปิดเอาไว้เพื่อตบตาให้ค่าเช่าดูถูกกว่าความเป็นจริง

1. ค่าเช่าที่ไม่รวมค่าส่วนกลาง

ส่วนใหญ่แล้วที่ค่าเช่าถูกกว่าปกติ นั่่นก็เพราะว่าเจ้าของยังไม่รวมค่าส่วนกลางนั่นเอง ทั้งนี้ค่าส่วนกลางก็ขึ้นอยู่กับโครงการแล้วว่ามีการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร เช่น เช่าคอนโด 30 ตร.ม. ในราคา 9,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ห้องอื่นปล่อยเช่ากัน 10,000 บาทต่อเดือน แต่ทั้งนี้ห้องของคุณไม่ได้คิดค่าส่วนกลางเข้าไปด้วย เป็นเงิน 1,200 บาทต่อเดือน (40 บาท/ตร.ม./เดือน) เมื่อรวมๆแล้วค่าเช่าห้องนี้ก็ไม่ได้ถูกกว่าห้องอื่นเลย แถมยังแพงกว่า 200 บาทด้วยซ้ำไป

2. ห้องเปล่า/บ้านเปล่า

นอกจากกลยุทธ์ไม่รวมค่าส่วนกลางแล้ว บ้านเปล่า ห้องเปล่า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้เช่าทั้งหลายพึงระวัง เราจะเห็นได้ชัดก็บรรดาคอนโดทั้งหลาย ที่มีเฟอร์ฯและเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมอยู่จะราคาหนึ่ง กับห้องเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย ก็อีกราคาหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เช่าแล้วล่ะว่า ระหว่างเช่าแบบครบพร้อมอยู่กับเช่าแบบห้องเปล่าแล้วซื้อของมาเอง แบบไหนจะคุ้มกว่ากัน

3. ภาษีโรงเรือนภาระใคร?

ผู้เช่าแทบทุกคนมักจะนึกไม่ถึงเรื่องภาษี บางคนก็สงสัยว่า เอ๊ะ! เราเป็นคนเช่าต้องเสียภาษีด้วยหรอ? คำตอบคือมีทั้งใช่และก็ไม่ ทีนี้มาดูกันว่าภาษีเจ้าปัญหาที่ว่านี้มันคืออะไร “ภาษีโรงเรือน” เป็นภาษีเจ้าของจะต้องเสียในอัตรา 12.5% จากค่าเช่า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันตั้งแต่แรกว่าใครเป็นผู้จ่าย บางกรณีอาจจะแบ่งกันคนละครึ่งๆ ดังนั้น ควรตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนเช่า อย่าให้เป็นปัญหาเมื่อมีจดหมายแจ้งเก็บภาษีถึงบ้านแล้วเกี่ยงกันจ่ายจนเกิดเป็นปัญหาใหญ่ตามมา

4. ค่าเช่าที่ไม่แน่นอน

เจ้าของบางคนตั้งค่าเช่าถูก ทั้งๆที่รวมค่าส่วนกลางแล้ว มีเฟอร์นิเจอร์ครบพร้อม ภาษีโรงเรือนก็จ่ายให้ แต่เดี๋ยวก่อน!! อย่าให้ตัวเลขที่ถูกมาบังตาคุณ ยังมีอีกกลวิธีที่ผู้เช่าทั้งหลายต้องพึงทราบเอาไว้คือ ในสัญญาจะต้องมีระบุค่าเช่าเป็นตัวเลขตรงตามที่ระบุไว้ และต้องมีระยะเวลานานตามที่ตกลงกัน เช่น ตกลงเช่าไว้เดือนละ 8,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี ในสัญญาต้องระบุตามนี้เท่านั้น หากในสัญญาขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ควรให้ทำการร่างขึ้นมาใหม่ เพราะหากไม่มีการระบุตัวเลขค่าเช่าและระยะเวลาที่แน่นอน เจ้าของบ้านมีสิทธิ์จะขึ้นค่าเช่าในระหว่างการเช่าได้ – เทอร์ร่า บีเคเค บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook