เรียนรู้วิธีการปฏิบัติเมื่อได้รับ หมายศาลบัตรเครดิต

เรียนรู้วิธีการปฏิบัติเมื่อได้รับ หมายศาลบัตรเครดิต

เรียนรู้วิธีการปฏิบัติเมื่อได้รับ หมายศาลบัตรเครดิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บัตรเครดิตนั้นหากมีการใช้อย่างมีวินัยย่อมจะไม่เกิดปัญหาต่อตนเองอย่างแน่นอน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็นำมาซึ่งความกังวลและนำไปสู่การเป็นหนี้บัตรเครดิตอย่างไม่ตั้งใจจนถึงขั้นอาจจะได้รับหมายศาลบัตรเครดิตได้กันเลยทีเดียวหากมีการผิดนัดการชำระ หรือไม่ชำระ

ปัญหาของหนี้บัตรเครดิตที่เกิดจากการผิดนัดชำระหรือการชำระแบบขั้นต่ำจนทำให้เกิดดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และไม่สามารถนำเงินกลับมาคืนให้กับสถาบันการเงินได้ เมื่อสถาบันการเงินเริ่มติดต่อทวงถามค่าบัตรเครดิต ก็กลับถูกปฏิเสธหรือพยายามหาเงินเพื่อชำระแต่ก็ไม่สามารถทำได้ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล หน้าที่ของศาลจึงทำการออกหมายเรียกลูกหนี้ผ่านทางจดหมายไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ เมื่อได้รับหมายศาลหลายคนจะเตกใจและเกิดความวิตกกังวลว่าควรจะทำอย่างไรดี

สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิต


หมายศาลบัตรเครดิตจะถูกส่งไปตามเลขหมายของทะเบียนบ้าน ก็ไม่ต้องตกใจ หรือนำไปทิ้งแล้วอ้างว่าไม่ได้รับหมายศาลเด็ดขาด แต่สิ่งที่ควรจะทำก็คือ
1. ให้ตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลว่าจะฟ้องที่ศาลไหน กำหนดวันขึ้นศาลเมื่อไร?
2. ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ทางเจ้าหนี้ยื่นฟ้องว่าเป็นมูลหนี้เท่าไหร่ เงินต้นเท่าไหร่ ยอดฟ้อง+ดอกเบี้ยรวมเป็นเงินกี่บาท?
3. ตรวจสอบดูว่าทางเจ้าหนี้ฟ้องเกินอายุความหรือไม่ นั่นคือบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับจากวันชำระครั้งสุดท้าย
4. พิจารณาว่าจะสู้คดีหรือจะต่อรองกับเจ้าหนี้อย่างไรได้บ้าง

หลังจากตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลบัตรเครดิตแล้ว เจ้าของบัตรต้องกำหนดจุดยืนในการชำระหนี้ว่าต้องการเลือกวิธีแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร เช่น
1. อาจจะนำหมายศาลไปให้ทนายช่วยดูก่อนก็ได้ว่าเราจะมีข้อต่อสู้อะไรได้บ้าง ในกรณีที่ต้องการระยะเวลาในการเก็บเงิน ก็คือให้ทนายยื่นคำให้การ

2. ไปไกล่เกลี่ยในวันที่ศาลนัดเลย โดยขอผ่อนชำระ เป็นงวด และขอให้หยุดดอกเบี้ยระหว่างการชำระหนี้ และขอให้ทำบันทึกโจทก์ - จำเลยที่ศาล ระบุจำนวนงวดที่จะชำระ และการชำระเงินก็ต้องจ่ายเข้าบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น


*หมายเหตุ การผ่อนชำระงวดนั้นมีตั้งแต่ 6 งวดไปจนถึง 60 งวด ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ว่ามากหรือน้อย และการผ่อนนั้นมีการผ่อนแบบขั้นบันได คือ ค่างวดอาจจะเพิ่มขึ้นในปี 2 จนครบจำนวนงวดก็ได้

3. หากต้องการให้อายัดเงินเดือน เจ้าของบัตรต้องมีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถอายัดได้หรือไม่ เช่น รถยนต์ บ้าน เงินในบัญชีต่าง ๆ ที่ฝากสะสมไว้ก็ต้องพึ่งระวัง ไม่ใช่ว่าฟ้องแล้วไม่จ่ายเจ้าหนี้เขาจะอายัดเงินเดือนอย่างเดียว

หากเจ้าของบัตรได้รับหมายศาลบัตรเครดิตแต่ไม่มีทรัพย์สินเจ้าหนี้ก็จะมองที่เงินเดือน การอายัดเงินเดือนนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าหนี้รายแรกที่ฟ้องเสมอไป หากเจ้าหนี้รายแรกนั้นเจ้าของบัตรขอไกล่เกลี่ยที่ศาลตาม ข้อ 2 แล้ว มีเจ้าหนี้รายที่ 2 มาฟ้อง หากเจ้าของบัตรไม่มีเงินชำระหนี้ เจ้าของบัตรก็สามารถปล่อยให้เจ้าหนี้รายที่ 2 จนถึงรายสุดท้าย อายัดเงินเดือนได้เช่นกัน


อีกส่วนที่น่าสนใจก็คือหากยอดหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นจำนวน 100,000 บาทขึ้นไป ถ้าหากเป็นหนี้บัตรเครดิตถึงแม้ว่าจะได้ลดไม่มาก แต่เจ้าของบัตรก็ยังสามารถเจรจาต่อรองจ่ายชำระในอัตราที่ต่ำกว่า เช่น สมมุติหากจะต้องโดนอายัดเงินเดือน 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วประมาณ 3,000 บาท ต่อเดือน เจ้าของบัตรสามารถเจรจาขอชำระ 2,000 บาทต่องวดได้

4. เตรียมคำให้การกับศาล นั่นก็คือการทำข้อมูลแก้ต่างตามที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องเจ้าของบัตรนั่นเอง โดยให้ทนายยื่นคำให้การต่อสู้ในศาล เพราะจะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน - 1 ปี จะได้มีระยะเวลาเก็บเงิน และกลับมาเจรจาไกล่เกลี่ยได้อีกครั้งในนัดที่ 2 ยอดหนี้ก็จะลดลงด้วย

สิ่งสำคัญที่สุดที่ลูกหนี้ควรจะทำเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิตก็คือควรจะไปศาลในวันนัด เพราะไม่เช่นนั้น ศาลจะตัดสินคดีในวันนั้นเลย และเจ้าของบัตรจะไม่มีโอกาสได้ต่อรองเพื่อลดหย่อนหนี้ได้เลย การขึ้นศาลเป็นโอกาสที่ดีที่สุด

ข้อมูลจาก : ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

Advertorial

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook