โปรแกรมคำนวณภาษี ปี 2559 เพื่อคำนวณภาษีประจำปี 2558

โปรแกรมคำนวณภาษี ปี 2559 เพื่อคำนวณภาษีประจำปี 2558

โปรแกรมคำนวณภาษี ปี 2559 เพื่อคำนวณภาษีประจำปี 2558
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โค้งสุดท้ายเหลือเวลา อีกเพียง 1 เดือนเท่านั้น สำหรับผู้มีเงินได้ หรือ มนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำหน้าที่ ผู้เสียภาษีทีดี  ไปยืนแบบเพื่อคำนวณภาษีประจำปี 2558 ที่ผ่านมา โดยปรกติ ทางกรมสรรพากรจะเปิดให้ยื่นแบบ ทั้งที่ยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานเขตภาษี และ สามารถยื่นแบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่ายืนภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเอง  โดยตามกำหนด ระยะเวลาสิ้นสุดการยื่นภาษีคือ วันที่ 31 มี.ค. 59

ดังนั้น ใครที่ยังไม่ได้ยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษี  วันนี้ sanook! money นำเอาค่าลดหย่อนภาษีของปีล่าสุดมาฝากกัน รับรองหากใช้สิทธิครบรับรองมีโอกาสได้คืนภาษีแน่หากชำระไว้เกิน

 

นอกจากนี้ ยังนำ โปรแกรมคำนวณภาษี มาฝากเพื่อให้เราทดลองคำนวณภาษีก่อนยื่นแบบจริงอีกด้วย 

ผู้ที่ต้องการทดลองคำนวณภาษีประจำปี 2558 ได้ทีนี้

 

สำหรับค่าลดหย่อนภาษีของปีนี้มีรายละเอียดดังนี้    

1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 30,000 บาท

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมารวมคำนวณภาษี 30,000 บาท

3. ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตร และการศึกษาบุตรค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตร ( ซึ่งเป็นได้ทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรตามกฎหมาย )โดยหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน โดยบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือถ้าเกิน 20 ปี แต่ไม่เกิน25 ปี จะต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไปเท่านั้น

 และหากบุตรศึกษาในประเทศ (ตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาเอก) ลดหย่อนค่าการศึกษาเพิ่มได้อีกคนละ 2,000 บาททั้งนี้บุตรที่จะนำมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนั้น จะต้องไม่มีรายได้ในภาษีเกิน 15,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้ที่มีนั้นได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมาย เช่น บุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปีและได้รับเงินจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล 20,000 บาท แต่เงินได้จากการถูกสลากกินแบ่งนั้นได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมาย จึงยังคงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับบุตรนั้นได้ เป็นต้น

4. ค่าลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับที่อยู่อาศัย  ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยเป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้การเช่าซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย โดยมีเงื่อนไขคือต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐต่าง ๆ

หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนรวมกันได้ทุกแห่ง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาทกรณีกู้ร่วมกันหลายคน ก็ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนเช่นกัน

5. ค่าลดหย่อนจากค่าเลี้ยงดูบิดามารดาลดหย่อนจากบิดามารดา (ตัวเอง) และบิดามารดาของคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องให้บิดามารดาออกหนังสือรับรองการเลี้ยงดู ให้กับบุตรที่จะขอลดหย่อนภาษีด้วย และลูกสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

6. ลดหย่อนจากประกันชีวิต

6.1 ประกันชีวิตแบบทั่วไป

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม ส่วนที่เหลือนำไปยกเว้นจากรายได้ ได้อีกไม่เกิน 90,000 บาท

ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสซึ่งไม่มีรายได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ส่วนเบี้ยประกันเพิ่มเติม เช่น ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

6.2 ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปีต่อเนื่องไปจนถึง 85 ปี และ เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท(เพราะเป็นเงินลดหย่อนที่สนับสนุนการออมในลักษณะเดียวกัน)

7. ลดหย่อนจาก กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long term equity fund หรือ LTF  ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

ทั้งนี้ จะต้องถือกองทุน LTF ที่ซื้อไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี (นับตามปี พ.ศ. เช่น ซื้อ LTF เมื่อ 31 ธันวาคม 2558 จะต้องถือไว้จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นอย่างต่ำ) และไม่สามารถโอนหรือจำนำไปเพื่อเป็นหลักประกันได้

8. ลดหย่อนจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ Retirement Mutual Fund หรือ RMF โดยผู้ลงทุนจะได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

9. ลดหย่อนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สมาชิกที่จ่ายเงินสบทบเข้า กบข. นี้จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

10. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาชิกที่จ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้เมื่อรวมกับ RMF, กบข., กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

11. ลดหย่อนจากกองทุนการออมแห่งชาติ ถือเป็นปีแรกที่ผู้ที่เป็นสมาชิกและจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีจากเงินสะสมเข้า กอช. ตามเกณฑ์เดียวกับเงินที่จ่ายสบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

12. ลดหย่อนจากการจ่ายประกันสังคม เงินสมทบกองทุนประกันสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่บุคคลที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 9,000 บาท

13. ลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป โดยผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ปีละ 20% เป็นเวลา 5 ปี

14. ลดหย่อนจากค่าเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ  ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท  โดยถ้าเป็นญาติใกล้ชิด(บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร บุตรบุญธรรม)สามารถหักได้หมด และหากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการอื่นตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถหักได้อีกหนึ่งคน โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

15. ลดหย่อนจากเงินบริจาค  การบริจาคให้กับการกุศลต่าง ๆ สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังหักลดหย่อนและยกเว้นกรณีอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น

16. ลดหย่อนจากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท จาก

16.1 ค่าบริการนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็กเกจทัวร์) อันเกิดจากการใช้บริการบริษัททัวร์ หรือบริษัทนำเที่ยว ที่จดทะเบียนกับสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

16.2 ค่าบริการที่พัก จะต้องเป็นค่าที่พักที่จ่ายให้กับโรงแรมที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติโรงแรมแล้วเท่านั้น ดังนั้น ค่าที่พักบางแห่ง เช่น โฮมสเตย์ หรือ บ้านพักของอุทยานแห่งชาติต่างๆ ฯลฯ จะไม่สามารถนำมาหัก เป็นค่าลดหย่อนได้ เพราะไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรมตามกฎหมายทั้งนี้ ค่าลดหย่อนจากการท่องเที่ยวนี้ สามารถใช้ได้ใน 2 ปีภาษีคือ ปี 2557 และปี 2558

17.ค่าลดหย่อนสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25 -31 ธ.ค.58 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ

 

ทั้งหมดคือ ค่าลดหย่อนภาษี ที่ผู้มีสิทธิไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook