5 check list ก่อนควักเงินช้อป

5 check list ก่อนควักเงินช้อป

5 check list ก่อนควักเงินช้อป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยรู้สึกไหมว่าเรานั้น ใช้เงิน ง่ายเกินไป อยากจ่ายก็จ่ายเลย ไม่ได้คิดอีกรอบว่าเรานั้นจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นไปกับสิ่งนั้นมากนั้นแค่ไหน ซึ่งพอเรารู้ตัวอีกทีเราก็มีเงินเหลือน้อยมากๆ แทบไม่พอใช้ แถมยังรู้สึกเป็นทุกข์อีกต่างหาก ถ้าคุณมีนิสัยการ ใช้เงิน แบบนั้นอยู่ล่ะก็ เรามาลองปรับวิธีการใช้เงินของเรากันดีกว่า ว่าเราจะ ใช้เงิน อย่างไร เพื่อให้เรามีความสุขในชีวิตและสามารถ ใช้เงิน ได้อย่างฉลาด กับ 5 check list ก่อนจ่ายเงิน มีอะไรบ้างมาดูกัน


1.เราใช้เงินไปกับอะไร
นี่เป็นข้อที่เราต้องตอบให้ได้เลยนะ ถ้าเราตอบไม่ได้นี่เริ่มเป็นปัญหาแล้วล่ะ มันไม่มีทางที่เราจะใช้เงินไปโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่แล้ว เวลาที่เราจ่ายเงินออกไปแล้วต้องได้อะไรกลับมาอยู่แล้ว อาจจะเป็นสิ่งของ การบริการหรือความสุข เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ได้เช่นกัน แต่ก็ไม่สำคัญเท่าเราต้องรู้ว่าเราจ่ายไปกับอะไรนั่นเอง ซึ่งหลายคนมักจะละเลยจุดนี้ไป โดยมักจะจ่ายอย่างเดียวจนลืมที่จะจำว่าตัวเองได้จ่ายอะไรไปบ้างแล้ว กี่บาทและที่จ่ายไปนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ สุดท้ายจึงเกิดปัญหาการเงินขึ้นมานั่นเอง


2.จ่ายไปทำไม
แน่นอนว่าทุกครั้งที่เราหยิบเงินออกจากกระเป๋า หรือเอาบัตรออกมารูดนั้น มันต้องผ่านกระบวนการคิดมาบ้างแล้ว ซึ่งแรงจูงใจที่ทำให้เราหยิบการ์ดหรือเงินออกมานั่นแหล่ะ คือเหตุผลของการใช้จ่ายเงิน และคือคำตอบของคำถามที่ว่าเราจ่ายเงินไปทำไม ซึ่งมันก็อาจจะออกมารูปแบบที่ว่า เงินนั้นจำเป็นต้องจ่ายจริงๆ เงินนั้นจ่ายไปเพื่อสร้างความสุขซึ่งอาจจะเป็นความสุขระยะยาวหรือระยะสั้นก็ได้


แต่แน่นอนว่าเหตุผลนั้นมันต้องดึงดูดเราได้มากพอที่จะยอมจ่ายเงินไปนั่นเอง ดังนั้นก่อนจ่ายเงินลองคิดให้ดีก่อนว่าคุณจะจ่ายเงินไปทำไม และหากคำตอบคือความสุข ลองคิดต่อว่ามันจำเป็นมากหรือเปล่าและนั่นจะก่อให้เกิดปัญหาการเงินตามมาหรือเปล่า


3.จ่ายไปเพื่อใคร
แน่นอนว่ามนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคมนั้นอาจจะไม่ได้จ่ายเงินไปเพื่อตัวเองคนเดียวแน่นอน แต่อาจจะต้องจ่ายเงินไปเพื่อคนรอบๆตัวเราด้วย เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พี่น้อง เพื่อนหรือแฟน เป็นต้น ซึ่งเราก็ต้องเรียงความสำคัญให้ดีว่าเราควรใช้จ่ายเงินไปเพื่อใครมากที่สุดและในปริมาณเท่าใดที่จะทำให้เราไม่เป็นทุกข์จากการไม่มีเงินใช้หรือการเป็นหนี้นั่นเอง ถ้าหากใครดึงดันให้เราจ่ายเงินให้โดยที่ไม่จำเป็นเราก็อาจจะถอยห่างออกมานิดเพื่อความสุขสงบในชีวิตที่มากขึ้นนั่นเอง


โดยเฉพาะคนที่มีแฟนและมักจะซื้อขงให้แฟนอยู่บ่อยๆ ยังไงก็อย่าลืมคำนึงถึงการเงินของตัวเองด้วยล่ะ ว่าถ้าหากซื้อของให้แฟนแล้วจะลำบากตัวเองหรือเปล่า ใช่ว่าจะไม่ให้ซื้อของขวัญให้คนรักเลยนะคะ เพียงแต่คววรซื้อให้น้อยลงและซื้อเมื่อคุณมีเงินพอใช้เท่านั้น คนรักของคุณเขาก็คงจะเข้าใจแหละค่ะ



4.จ่ายมากน้อยแค่ไหน
การรู้ว่าเราจ่ายเงินไปมากน้อยแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน อย่างแรกเลยคือเราจะได้รู้ว่าเราใช้จ่ายในแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน และเงินที่เราเหลือยู่ในกระเป๋าหรือบัญชีนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งในข้อหลังนี้สำคัญมาก หากเงินในกระเป๋าเราเหลือน้อยแต่เราไม่รู้ และยังใช้เงินในอัตราการใช้เดิมๆแล้วสิ่งที่ตามมาแน่ๆเลยคือการไม่มีเงินจะใช้จ่าย และสุดท้ายก็ต้องเป็นหนี้จากการกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนั่นเอง คงไม่มีใครที่อยากจะเป็นหนี้หรอกจริงไหมคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมคำนึงถึงค่าใช้จ่ายให้เพียงแพอในแต่ละเดือนด้วยนะ จะได้ไม่มีปัญหาหนี้สินตามมานั่นเอง


5.จ่ายด้วยอะไร
นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันนั้นเราสามารรถใช้จ่ายเงินได้ในหลากหลายช่องทาง เช่น เงินสด บัตรเดบิต บัตรเครดิต เงินเชื่อ เงินกู้ เงินผ่อน เป็นต้น ซึ่งลักษณะของการใช้จ่ายนี้ก็จะแตกต่างกันออกไปในเวลาที่เราต้องชำระเงินอีกด้วย เช่น เงินสดนั้นจ่ายทีเดียวจบไปเลย เงินหายจากกระเป๋าแต่เราไม่มีหนี้ ในขณะที่บัตรเครดิตนั้นเราเหมือนมีเงินจากคนอื่นๆที่เขาให้เราใช้ได้ก่อนอยู่ในมือ และให้เราผ่อนจ่าย 3 เดือนพร้อมบวกดอกเบี้ยไว้ตอนที่จ่ายเงิน


ดังนั้นยิ่งเราซื้อของด้วยบัตรเครดิตมาก เราก็จะมีหนี้รายเดือนมากขึ้น ถ้าเราไม่มีวินัยการใช้เงินที่ดีพอ หนี้ก็จะมากกว่ารายรับ พอจ่ายไม่ต้องเวลาเราก็จะโดนดิสเครดิตทางการเงินได้อีกด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย ดังนั้นอย่าปล่อยให้ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ และทางที่ดีคิดให้ดีว่าจะใช้เงินสดหรือจะผ่อนจ่ายกันแน่ เพราะบางอย่างใช้เงินสดจ่ายไปเลยก็ไม่คุ้มค่า เช่นของที่แพงมากๆ จ่ายเงินสดไปก็ไม่มีเงินใช้ แบบนี้แบ่งจ่ายง่ายกว่าเยอะ


และนี่ก็คือ 5 check list ก่อนจ่ายเงินที่จะทำให้การเงินของคุณ ok มากขึ้น ดังนั้นใครที่กำลังมีปัญหาการเงินอยู่ล่ะก็ลองนำ 5 check list นี้ไปปรับใช้กับการเงินในแต่ละวันของคุณดูนะคะ แล้วปัญหาการเงินจะหมดไปแน่นอน


Advertorial

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook