ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์]ตอน ฟรีแลนซ์ กับ การลดหย่อนภาษี

ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์]ตอน ฟรีแลนซ์ กับ การลดหย่อนภาษี

ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์]ตอน ฟรีแลนซ์ กับ การลดหย่อนภาษี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์กำลังเป็นเทรนด์ เป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพราะปัจจุบันสามารถทำรายได้เลี้ยงตัวได้ และ โดยไม่ต้องผูกมัดกับระเบียบขององค์กร ทำให้มีความอิสระ ขอเพียงมีความสามารถมีความรับผิดชอบทำงานตามเงื่อนไขตามกำหนดระยะเวลา ตรงกับรสนิยมของคนรุ่นใหม่ที่ชอบดำเนินชีวิตอิสระจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำงานอิสระ หรือ เป็นฟรีแลนซ์ ถือเป็นผู้มีรายได้ ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายด้วย แล้ว ต้องเสียภาษีอย่างไร และจะมีวิธีลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง...วันนี้มาดูกันครับ

ก่อนอื่นต้องเขาใจก่อนว่า ฟรีแลนซ์ ถือเป็นผู้มีเงินได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในประเภท ค่าจ้างทำของ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ตามกฎหมายของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40 (2)คือเงินได้จากการรับจ้างทำงานให้ หรือค่านายหน้า มาตรา40(7) คือเงินได้จากการรับเหมา และ 40(8) คือ เงินได้อื่นๆ

ทั้งนี้ ในการลดหย่อนภาษี กฎหมายกำหนด การหักลดหย่อนไว้แตกต่างกันคือ


-เงินได้จากการรับจ้างทำงานให้ หรือค่านายหน้า : หักค่าใช้ได้ตามจริงหรือหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายได้ 40%แต่ ไม่เกิน 60,000 บาท
-เงินได้จากการรับเหมา : หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 70% หรือหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง
-เงินได้อื่นๆ : เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือแบบเหมาตามอัตราที่สรรพากรกำหนด เช่น
       เงินได้จากการให้เช่าบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง (40(5)) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 30%
       เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (วิศวกร สถาปนิก นักกฎหมาย บัญชี ปราณีตศิลป์)หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 30% แต่ถ้าเป็นวิชาชีพแพทย์ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 60%
       เงินได้จากการรับเหมา หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 70%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการคำนวณภาษี ของอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์นี้ กฎหมายกำหนดไว้ 2 แบบ นั่นคือ วิธีเงินได้สุทธิ และวิธีเงินได้พึงประเมิน แล้วเลือกเอาว่าแบบใดเสียภาษีมากกว่า ท่านว่าให้เอาแบบนั้น จำไว้ให้ดีนะครับ แบบไหนเราเสียภาษีมากกว่า ท่านให้ใช้แบบนั้นในการเสียภาษี

มาดูตัวอย่างของการคำนวณภาษีเพื่อความเข้าใจกันนะครับ
1วิธีหาเงินได้สุทธิ โดย นำรายได้หรือเงินได้ ไปหักด้วยค่าใช้จ่าย และตามด้วยหักค่าลดหย่อน ซึ่งกระบวนการนี้ก็เหมือนกับผู้มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว หรือมนุษย์เงินเดือนนั้นเอง แต่ ที่แตกต่างกัน คือ การหักค่าลดหย่อน เพราะ ฟรีแลนซ์ มีหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนตามเงื่อนไขตามที่เรายกมาข้างต้นครับ เช่น

นาย ก. มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีใบเสร็จเพื่อหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับงานรับเหมาตลอดทั้งปีได้รวม 500,000 บาท เพื่อให้ง่ายในการคิด สมมุติให้นาย ก.เป็นคนโสด และไม่มีค่าลดหย่อนใดเพิ่มนะครับ

การคำนวณภาษีของ นาย ก. คือ
เงินได้ 1,000,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 70% เท่ากับ 700,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท
เงินได้สุทธิ 270,000 บาท

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า แม้จะมีใบเสร็จเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 500,000 บาท แต่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ถึง 700,000 บาท ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่ให้หักได้ 70 %


ดังนั้น จากเงินได้สุทธิของนาย ก. คือ 270,000 บาท เป็นรายได้ที่นำไปคำนวณภาษีตามอัตรา 0- 35 %
150,000 บาทแรก ภาษี 0% ไม่ต้องเสียภาษี
150,001 – 270,000 ภาษี 5 % คิดเป็นเงินภาษี (270,000 – 150,000) x 5 % = 6,000 บาท
สรุปนาย ก.ต้องเสียภาษี 6,000 บาท

แต่ทั้งนี้ กฎหมายบอกว่า ยังมีวิธีคำนวณภาษีสำหรับ อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ คือ วิธีเงินได้พึงประเมิน ซึ่งมีวิธีคำนวณ ดังนี้

ภาษีวิธีเงินได้พึงประเมิน = เงินได้พึงประเมิน (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% (หรือคูณด้วย 0.005)

เท่ากับ 1,000,000 x 0.005 = 5,000 บาท
จากวิธีคำนวณภาษีทั้งสองแบบ จะเห็นได้ว่า วิธีแรก มีภาษีต้องจ่ายสูงกว่า คือ 6,000 บาท ซึ่งทางกรมสรรพากรบอกว่าต้องใช้วิธีแรกในการเสียภาษี เพราะท่านให้เลือกวิธีที่มีภาษีสูงกว่าครับ

จากตัวอย่างที่ยกมา กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสียภาษีเป็นคนโสด ที่ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆเพิ่มเติม แต่ ในความเป็นจริงแล้วหาก คนทำงานอาชีพอิสระต้องการลดหย่อนภาษีก็เลือกที่จะลงทุน หรือ สมัครในกองทุนสวัสดิการสังคมที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เช่น

กองทุนประกันสังคม ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเองได้ตามมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ได้ และได้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขคือหักได้ตามจ่ายจริง

ลงทุนในกองทุนระยะยาว อย่างเช่น LTF และ RMF

ซื้อประกันแบบออมระยะยาว

หรือการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยก็สามารถนำดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนภาษีได้

โดยรวมแล้ว สิทธิการลดหย่อนภาษีของ ฟรีแลนซ์ ไม่ต่างกับมนุษย์เงินเดือน แต่ที่ต่างกันชัดเจนและต้องทำความเข้าใจก็คือ ลักษณะงานที่ทำว่าเข้าข่ายรายได้ประเภทใด ซึ่งจะมีค่าหักลดหย่อนแตกต่างกันตามที่ยกมา และหากสนใจว่าค่าลดหย่อนภาษีต่างๆของผู้มีเงินได้มีอย่างไรบ้างก็กลับไปอ่านบทความใน ซีรีย์ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

-http://www.rd.go.th/

-http://tax.bugnoms.com/5-tax-planning-freelance/

-http://www.moneycoach4thai.com/

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่นี้

-ภาษีและการบริหารกาเงิน[ซีรีส์] ตอน รู้ยัง! ทำงานมีรายได้ ต้องจ่ายภาษีหรือไม่อย่างไร...?

-ภาษีและการบริหารกาเงิน[ซีรีส์] ตอน มนุษย์เงินเดือน ลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง..?

-ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน เงินเดือน 30,000 บาทลงทุนอะไรดี ที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี.?

-ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน ใครควรลงทุนใน LTF และลงทุนอย่างไร ?

-ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน RMF ลงทุนอย่างไร จึงคุ้มค่า....ใครเหมาะจะลงทุน?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook