เสนอร่างรธน.ก.พาณิชย์ แก้ก.ม.ลดการผูกขาด-กันผู้ประกอบการรายใหญ่ใข้อำนาจเหนือตลาด

เสนอร่างรธน.ก.พาณิชย์ แก้ก.ม.ลดการผูกขาด-กันผู้ประกอบการรายใหญ่ใข้อำนาจเหนือตลาด

เสนอร่างรธน.ก.พาณิชย์ แก้ก.ม.ลดการผูกขาด-กันผู้ประกอบการรายใหญ่ใข้อำนาจเหนือตลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ทยอยรับมอบข้อเสนอเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ จากหน่วยงานทางเศรษฐกิจหลายหน่วยงาน นำโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีข้อเสนอ 6 ข้อ ประกอบด้วย

1.ให้ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการประกอบกิจการ

2.ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ส่งเสริม สนับสนุนสินค้าและบริการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย

3.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกัน ลด จำกัดหรือขจัดการผูกขาด และการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมรวมทั้งป้องกันมิให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้อำนาจเหนือตลาด

4.สร้างและพัฒนาสังคมผู้ประกอบการโดยสนับสนุนให้เกิดวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอย่างเป็นระบ ส่งเสริมการลงทุน สร้างความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ใช้นวัตกรรมในการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

5.สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศอย่างเป็นระบบทั้งในด้านการสร้างโอกาสการให้ข้อมูลจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการคุ้มครองอื่นๆ

6.คุ้มครองเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมจากการผูกขาดทางการเกษตรระบบเกษตรพันธสัญญาและการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยการปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการผลิตหรือการตลาด


ด้านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เสนอว่า ในรัฐธรรมนูญควรกำหนดหลักการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจมหภาค เพื่อป้องกัน ลด จำกัด หรือขจัดการผูกขาด และการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งป้องกันมิให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้อำนาจเหนือตลาด

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เสนอว่า ให้มีการกำหนดเรื่องการออมภาคบังคับที่มีความยั่งยืนเพียงพอและทั่วถึง สำหรับแรงงานในระบบไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เนื่องจากมีข้อมูลจากการศึกษาของสำนักงานฯว่าประเทศจะเป็นประเทศแรกๆในกลุ่มอาเซียนที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์กล่าวคือมีประชากรอายุ 60 ขึ้นไปมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ด้วยอัตราเพิ่มที่เร็วกว่าของเอเชียและของโลก แต่ระบบการออมเพื่อการชราภาพของประเทศไทยยังคงประสบปัญหาอยู่ เช่น กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพตามพ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2553 มีการกำหนดผลประโยชน์ไว้ล่วงหน้าซึ่งไม่สัมพันธ์กับจำนวนเงินสะสมและเงินสมทบ ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องความยั่งยืนของกองทุน

ดังนั้นการออมเงินเพื่อวัยเกษียณสำหรับคนทำงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยสมควรให้มีกองทุนบำนาญภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบ อันจะก่อให้เกิดการออมเพื่อการชราภาพโดยไม่เป็นภาระแก่ภาครัฐมากเกินไป และในขณะเดียวกันการทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณ จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook