ลีสซิ่งกสิกรไทย9เดือนกำไรโต23.8%แม้ตลาดรถชะลอตัวต่อเนื่อง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ลีสซิ่งกสิกรไทย9เดือนกำไรโต23.8%แม้ตลาดรถชะลอตัวต่อเนื่อง

    2015-11-03T10:57:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    สถานการณ์ตลาดรถยนต์ชะลอตัวต่อเนื่องจากสัญญาณลบภายในประเทศหลายปัจจัย ลีสซิ่งกสิกรไทยสวนกระแส 3 ไตรมาส ปี 58 ปล่อยสินเชื่อใหม่โต 2.8% ยอดสินเชื่อคงค้างลดลง 1.8% กำไร 496 ล้านบาท เพิ่ม 23.8% คาดปลายปีอาจมีปัจจัยบวกของการปล่อยสินเชื่อจากการปรับภาษีสรรพสามิตในปีหน้าที่จะทำให้ตัวเลขยอดขายรถยนต์ใหม่กระเตื้องขึ้น   นายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศ ปี 2558 ยังมีทิศทางที่ชะลอตัว เนื่องจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน ปัญหาภัยแล้ง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อโดยรวมของตลาด และแม้จะมีการทยอยเปิดตัวรถยนต์ใหม่และมีการพูดถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคารถยนต์ในปีหน้าแต่สภาพตลาดในช่วงที่ผ่านมาก็ยังไม่ดีขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้อาจจะหดตัวได้ถึง 15% หรือประมาณ 750,000 คัน ลดลงจากปีก่อนที่ทำได้ 881,883 คัน ทั้งนี้อาจมีปัจจัยบวกที่จะกระตุ้นตลาดในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ ได้แก่ งานมอเตอร์ เอ็กซ์โปช่วงปลายปี และแรงหนุนจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตในปีหน้าที่จะช่วยเร่งให้มีการตัดสินใจซื้อรถยนต์เร็วขึ้น   สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด รวม 9 เดือน ปี 2558 บริษัทยังคงปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวังให้สอดคล้องกับสภาพตลาดและเศรษฐกิจ โดยสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 44,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 2.82% หรือราว 1,233 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเช่าซื้อและลีสซิ่งรถยนต์ใหม่ 22,031 ล้านบาท ลดลง 9.14% และเป็นสินเชื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (Floor Plan) 22,937 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17.71%   ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบ (Loan Outstanding) ของบริษัท อยู่ที่ 86,460 ล้านบาท ลดลง 1,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 หรือลดลง 1.76% โดยมีสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ 1.54% อย่างไรก็ตามผลประกอบการ 3 ไตรมาส ปี 2558 ของบริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย ยังคงมีกำไรอยู่ที่ 496 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 23.79%   ทั้งนี้ แนวโน้มภาพรวมธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2559 คาดว่าจะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2557-2558 ซึ่งหดตัว 3% ในปี 2557 และคาดว่าหดตัว 2% ในปี 2558 จากผลกระทบของโครงการรถยนต์คันแรกซึ่งทำให้แรงซื้อรถใหม่ยังต้องรอการถือครองครบ 5 ปี ประกอบกับราคารถยนต์มือสองยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะที่คุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ถดถอยลง ทำให้ยอดสินเชื่อทั้งระบบมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในปี 2557 ขยับขึ้นเป็น 2.6% ณ เดือน มิ.ย. 2558 แม้คาดว่าต่อจากนี้จะมีทิศทางที่ทรงตัวถึงลดลงหลังจากที่ผู้ประกอบการได้ตัดหนี้สูญออกไปจำนวนมาก แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออำนวยในปี 2559 ทำให้การถดถอยลงของคุณภาพสินทรัพย์ยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อไป นอกจากนี้ การก่อหนี้ครัวเรือนในระดับสูงยังไม่ถูกปลดล็อกจนกว่าภาระหนี้เดิมหมด ทำให้สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการให้สินเชื่อ ซึ่งคงมีผลให้การชะลอตัวของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในรอบนี้เป็นการหดตัวที่ยาวนาน และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในระยะสั้น ส่งผลให้ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2559 จะมีทิศทางที่ทรงตัวหรือหดตัวลงเล็กน้อยจากในปีนี้ ภายในกรอบ 0 ถึง -2%   นายสุรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงนี้ คาดว่าจะยังต้องเผชิญภาวะเสี่ยงจากตลาดรถยนต์ในประเทศที่แม้ว่าจะพอมีโอกาสขยายตัว หลังรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และสนับสนุนการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ เช่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ ไอที และอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่ากลุ่มอื่น รวมถึงในจังหวัดหรือพื้นที่ที่รัฐบาลมีการสนับสนุนการลงทุน เช่น ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ซึ่งก็อาจจะทำให้ความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์เพิ่มมากขึ้นได้ โดยกลุ่มรถยนต์เพื่อการพาณิชย์จะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ก่อนรถยนต์ส่วนบุคคล ทว่าการฟื้นตัวน่าจะดำเนินไปอย่างช้าๆ เมื่อปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อตลาดรถยนต์ในประเทศยังคงดำเนินอยู่ ทั้งการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่น่าจะยังเข้มงวด และปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรโดยตรง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคารถยนต์ในปีหน้ามีการปรับเพิ่มขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ในช่วงต้นปี   จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ในปี 2559 ลีสซิ่งกสิกรไทยได้วางแนวทางการดำเนินงานเชิงรุกด้วยกลยุทธ์เปิดตลาดหรือเพิ่มช่องทางการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ด้วยการสร้างพันธมิตรหลักกับค่ายรถยนต์หน้าใหม่หลากหลายแบรนด์ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการเป็น Captive Finance กับแบรนด์รถยนต์ต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัท นอกจากนี้ยังคงนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษที่ตรงใจกลุ่มลูกค้าและร่วมจัดกิจกรรมกับคู่ค้าพันธมิตรตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มช่องทางการติดต่อพร้อมเสนอสิทธิพิเศษต่างๆ จากลีสซิ่งกสิกรไทย ผ่านช่องทางดิจิตอล คือ KLeasing on Mobile Application ที่จะช่วยให้การใช้สินเชื่อรถยนต์ของลูกค้าเป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกสบาย พร้อมรับสิทธิประโยชน์จากพันธมิตรร้านค้าต่างๆ อีกด้วย +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   KLeasing 9M15 earnings grew 23.8% amid consistently sluggish automotive market   The automotive industry has slowed, given varied unfavorable domestic factors. However, KASIKORN LEASING bucked the trend, reporting a 2.8-percent increase in 9M15 new lending and a 1.8-percent decrease in outstanding loans, while posting a net profit of 496 million Baht, up 23.8 percent YoY. Next year’s automobile excise tax hike is expected to help boost new car sales and loans within this year-end.   According to Mr. Surat Leelataviwat, KLeasing Managing Director, the weak 2015 auto market is attributable to prudent car loan extension by financial institutions, drought, low farm prices, and high household debt, all of which has curbed overall market spending power. There has been no sign of recovery, although new car models were launched, and prices are to be raised next year. KASIKORN RESEARCH CENTER projects that domestic car sales are likely to contract substantially, by 15 percent to approximately 750,000 units, against last year’s 881,883 units. Factors expected to spur the market during the remainder of this year include the year-end motor expo and demand pushed forward by next year’s excise tax rate increase for vehicles.   Over the first nine months of this year, KLeasing’s cautious move has been in line with market and economic conditions; new loans amounted to 44.97 billion Baht, up 2.82 percent YoY or 1.23 billion Baht. Of the total, hire purchase and financial lease registered 22.03 billion Baht, a decrease of 9.14 percent YoY, while the remaining 22.94 billion Baht was granted under the Auto Dealer Floorplan product, which, in contrast, was up by 17.71 percent.   The company’s outstanding balance totaled 86.46 billion Baht, down 1.55 billion Baht or 1.76 percent over-year, while its non-performing loans (NPLs) stood at 1.54 percent. Despite the decrease in outstanding balance, KLeasing’s net profit for the first nine months of 2015 equaled 496 million Baht, a growth of 23.79 percent over-year.   Looking ahead, the 2016 auto finance industry will be slow, as weakness persists from 2014 and 2015, which slumped 3 percent and is expected to fall by 2 percent, respectively. The gloomy outlook stems from impacts from the first-car buyer program, which has hindered new car demand due to its five-year holding condition, plus a fragile recovery in the used vehicle market. Deteriorating hire purchase quality has caused a rise in the industry’s NPLs from 2.5 percent in 2014 to 2.6 percent as of June 2015, which is considered to be the peak and will either stabilize or decline, given hire purchase providers’ recent substantial haircuts. However, poor economic conditions in 2016 may make asset quality a continuing market concern. Moreover, financial institutions remain wary in credit extension amid persistently high levels of household debt. Obviously, the auto finance industry is currently experiencing a long market slump, with no sign of recovery in sight. The market will, therefore, likely stand still or slightly contract within the range of zero to minus 2 percent growth.   Mr. Surat added that market risks will continue to rock the Thai auto industry, despite some positive factors. The government has carried on sustaining domestic spending to tackle the current economic slowdown, and encourage new private and public investment, particularly in target industries of tourism, automobiles, petrochemicals, electronics, IT and foods, which have brighter prospects than others. Other government stimuli are made in target areas, such as special economic zones. This may prop up confidence among financial institutions in their new car lending somewhat, particularly in commercial vehicles which will obtain greater benefit than personal cars. However, the recovery will remain slow due to ongoing risk factors including hire purchase providers’ prudence in credit provision, drought which directly affects farmers’ income, and rising vehicle prices due to a new excise rate to be implemented next year.   In light of this, KLeasing plans to pursue a proactive strategy of opening new markets or channels for auto financing in 2016, through partnerships with new auto brands recently entering the Thai market. The company also aims to be a captive finance entity for diverse carmakers to strengthen its market status. Special promotional campaigns will be presented to match customer demand, while marketing activities will be jointly organized with KLeasing partners throughout the year. A new digital communication channel, KLeasing on Mobile Application, will be promoted for presentation of the company’s new privileges, while simplifying customers’ use of auto financial services with easy-to-access information and diverse benefits from business partners.